ปฏิบัติการกู้พอร์ตเพื่อการเกษียณด้วยตราสารหนี้

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1689648333506

วิกฤตเงินเฟ้อที่ผ่านมาผู้วางแผนเกษียณพบอุปสรรคกับการบริหารเงินเพื่อวางแผนเกษียณ ทำให้ผู้ที่ต้องการวางแผนการลงทุนเพื่อการเกษียณที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้น้อย จำเป็นต้องปรับสัดส่วนลงทุนให้มีสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างผลตอบแทนให้ชนะเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตามการขึ้นดอกเบี้ยสู่จุดสูงสุดในรอบ 15 ของสหรัฐฯ ในปัจจุบันทำให้ปัญหาอัตราเงินเฟ้อเริ่มคลี่คลายและอาจทำให้อัตราดอกเบี้ยจะทำจุดสูงสุดในไม่ช้า ทำให้การลงทุนตราสารหนี้ที่มีคุณภาพในสหรัฐฯ สามารถสร้างอัตราผลตอบแทนที่น่าสนใจขึ้น และกลับมาเป็นทางเลือกสำหรับผู้วางแผนเกษียณที่รับความเสี่ยงการลงทุนได้น้อยเพื่อบรรลุแผนเกษียณในอนาคตด้วย

โดยวิกฤตเงินเฟ้อที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาและของไทยเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ +9.1% YoY และ +7.9% YoY ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศที่เป็นตัวแทนของตราสารหนี้คุณภาพดี ณ ขณะนั้นอยู่ที่เพียง 3% และ 2.8% ตามลำดับเท่านั้น ดังนั้นหากลงทุนพันธบัตรรัฐบาลด้วยอัตราดอกเบี้ยต่อปีดังกล่าวหักด้วยเงินเฟ้อจึงเท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะติดลบ หรือเปรียบเสมือนผู้ลงทุนสูญเสียอำนาจซื้อถึงปีละ -6% และ -5.1%  สิ่งนี้ทำให้นักลงทุนที่ต้องการเอาชนะเงินเฟ้อจึงจำเป็นต้องเพิ่มความเสี่ยงของตราสารหนี้ที่จะเลือกลงทุน ไม่ว่าจะเป็นเพิ่มระยะเวลาของตราสารหนี้ที่ยาวขึ้น หรือแม้กระทั่งการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า (Investment grade: IG) เพื่อให้ได้ดอกเบี้ยที่มากขึ้น

อย่างไรก็ดี ปัญหาเงินเฟ้อที่ผ่านมากำลังได้รับการแก้ไขจากธนาคารกลางด้วยการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อจูงใจให้คนฝากเงินเพิ่มขึ้นขณะเดียวกันก็สามารถลดปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบได้ โดยเฉพาะฝั่งสหรัฐฯ ที่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นไปกว่า 5% และเริ่มทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับลดลงต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยแล้ว และการที่ Fed มีมติคงดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. ถือเป็นครั้งแรกที่คงอัตราดอกเบี้ยนับตั้งแต่เริ่มขึ้นดอกเบี้ยเมื่อเดือน มี.ค. 2022 จึงมีโอกาสที่ดอกเบี้ยจะทำจุดสูงสุดในไม่ช้า อีกทั้งยังมากกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ 2% และคาดว่าจะคงไว้ตลอดปีนี้ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสกับการลงทุนตราสารหนี้สหรัฐฯ เพราะอัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ย่อมอยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกับดอกเบี้ยนโยบาย และหากดอกเบี้ยนโยบายเริ่มลดลงยังมีโอกาสได้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มจากส่วนต่างราคาที่มากขึ้นด้วย

โดยจากสถิติของ Blackrock ระบุว่าดัชนี Bloomberg US Aggregate Bond Index ที่เป็นดัชนีอ้างอิงราคาของตราสารหนี้ในประเทศสหรัฐฯ พบว่าในช่วง 3 เดือนแรกที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ถึงจุดสูงสุดเมื่อปีค.ศ. 1995, 1997, 2000, 2006 และ 2018 ดัชนีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3% และเมื่อครบ 12 เดือนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย +10% ซึ่งให้ผลตอบแทนมากกว่าตลาดหุ้นโลก (MSCI World ACWI) ที่มีผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีที่ปีละ 8% หากลงทุนตราสารหนี้ในจังหวะที่อัตราดอกเบี้ยสูงสุดอีกด้วย

แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม คือ การเลือกคุณภาพของตราสารหนี้ เนื่องจากการขึ้นดอกเบี้ยอาจส่งผลลบต่อเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นทำให้ภาคธุรกิจชะลอการลงทุน ขณะเดียวกันภาคครัวเรือนก็ต้องชะลอการจับจ่ายใช้สอยเพราะต้องลดการกู้หนี้ด้วย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลต่อ GDP และอาจเกิดเศรษฐกิจถดถอย (Recession)  ซึ่งการเลือกลงทุนตราสารหนี้ภายใต้ความเสี่ยง Recession คือ เลือกตราสารหนี้ที่อันดับความน่าเชื่อถือสูงกว่า IG เพราะ มีความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ต่ำ (Default risk) ซึ่งลดโอกาสที่จะสูญเงินทั้งจำนวนได้ หรือเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ความน่าเชื่อถือสูงที่สุดหรือ AAA จะตอบโจทย์มากกว่าสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้น้อย

 

จะเห็นได้ว่า ช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นถึงจุดสูงสุดและมีความเสี่ยงการเกิด Recession ในระยะข้างหน้า  เป็นโอกาสสำหรับผู้วางแผนเกษียณที่รับความเสี่ยงได้น้อยในการเพิ่มน้ำหนักลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือกลุ่ม IG เนื่องจากทิศทางของนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ที่เริ่มผ่อนคลายจะเป็นกุญแจสำคัญที่ตราสารหนี้ต่างประเทศสามารถสร้างผลตอบแทนได้มากกว่าผลตอบแทนระยะยาวของตลาดหุ้น ขณะเดียวกันสามารถลดความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารทุนโดยไม่จำเป็นเหมือนในอดีตที่อัตราดอกเบี้ยต่ำอีกด้วย

แผนภาพที่1: อัตราผลตอบแทนของดัชนี Bloomberg US Aggregate bond Index เมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงจุดสูงสุด 

1689648570313

ที่มา: Source: Blackrock, Bloomberg

 

Wealth Manager TISCO Wealth

เผยแพร่ครั้งแรกที่ เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ

บทความล่าสุด

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า