ชี้ทางลงทุน Ep.2 “ฝ่าวงล้อมเงินเฟ้อสูง ด้วยหุ้นจีน A-Shares”

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1648177403874 1
ภาพการลงทุนในปี 2022 ถือว่ามีความท้าทายเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยอัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศที่เร่งตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน จึงเป็นการกดดันให้ธนาคารกลางของประเทศหลักหลายประเทศต้องหันมาดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดมากขึ้น เพื่อชะลอปัญหาดังกล่าว อาทิ การเริ่มยุติการอัดฉีดสภาพคล่องผ่านมาตรการ QE การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตลอดจนการดึงสภาพคล่องออกจากระบบผ่านการปรับลดขนาดงบดุล ซึ่งมาตรการต่างๆ เหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่กดดันให้ตลาดการลงทุนมีความผันผวนมากยิ่งขึ้นในระยะข้างหน้า ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงดังกล่าว เราควรปรับกลยุทธ์การลงทุนให้สอดคล้องกับภาวะตลาดในปัจจุบัน โดยเลือกลงทุนในตลาดหุ้นที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะดังกล่าวและมีแนวโน้มที่ราคาหุ้นจะสามารถปรับตัวขึ้นได้โดดเด่นอย่าง ตลาดหุ้นจีน A-Shares
ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนชะลอตัวจากการใช้มาตรการ Zero-COVID ที่มีการ Lockdown เป็นระยะๆ ทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อของจีนยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ โดยทาง Bloomberg Consensus ประเมินไว้ว่า ดัชนีเงินเฟ้อ CPI ของจีนจะเร่งตัวขึ้นไปทำจุดสูงสุดของปีนี้ในช่วงไตรมาส 3Q2022 ที่ระดับ 2.4% YoY ซึ่งยังคงต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ทางธนาคารกลางจีน (PBoC) ตั้งไว้ที่ระดับ 3% ซึ่งหากต้องการทำให้เงินเฟ้อถึงเป้าหมาย ทางการจีนจะต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมผ่านเครื่องมือทางนโยบายการเงินและการคลัง โดยคาดว่า ทาง PBoC มีแนวโน้มที่จะปรับลด RRR ลงอีก 50bps และปรับลดดอกเบี้ยลงอีก 10bps ในช่วงครึ่งแรกของปี หลังจากที่ได้มีการปรับลดไปแล้วตั้งแต่ช่วงเดือน ธ.ค. 2021 ทางด้านนโยบายการคลัง จากที่รัฐบาลจีนเน้นย้ำถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ คาดว่าจะมุ่งเน้นไปที่มาตรการกระตุ้นการบริโภค การลงทุนในพลังงานหมุนเวียน โครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงการสนับสนุนด้านสินเชื่อในภาคอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ อีกหนึ่งสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างราคาหุ้นกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในอดีต จะพบว่า หลายครั้งที่ทางการจีนมีการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ราคาหุ้นจีนในตลาด A-Shares มักจะปรับตัวขึ้นสอดรับกับมาตรการที่ออกมาได้ดีกว่า ตลาดหุ้น H-Shares ถึง 2 เท่า อีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญในปี 2022 ที่ต้องติดตาม คือ ช่วงเดือน ต.ค. จะมีการประชุม National Congress of the Chinese Communist Party ที่จัดขึ้นทุก 5 ปี ซึ่งจะมีการเลือกผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยคาดว่า ประธานาธิบดี Xi Jinping จะชนะการเลือกตั้งและขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำเป็นวาระที่ 3 หลังจากก่อนหน้านี้ได้มีการยกเลิกกฎหมายที่กำหนดให้ประธานาธิบดีสามารถดำรงตำแหน่งได้เพียง 2 วาระไปแล้ว นับเป็นใบเบิกทางสำคัญในการขยายระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี Xi Jinping ไปอย่างน้อยอีก 5 ปี ซึ่งจากสถิติ 5 ครั้งในอดีตพบว่า ปีที่มีการเลือกตั้งผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ ตลาดหุ้นจีนจะปรับตัวขึ้นได้ราวๆ 20% ในช่วง 60 วันก่อนที่จะถึงวันเลือกตั้งและตลอดทั้งปีนั้นจะสามารถปรับตัวขึ้นได้เฉลี่ยสูงถึง 30% คำถามต่อมาก็คือ หากพิจารณาในมุมความถูกแพงของราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน ตลาดหุ้นจีนมีความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด ปัจจุบัน  Valuation ของดัชนี CSI300 ซึ่งเป็นตัวแทนของตลาดหุ้นจีน A-Shares ซื้อขายอยู่ที่ระดับ Forward P/E 12.3x (ข้อมูล ณ วันที่ 8 มี.ค. 2022) ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในระยะยาวของดัชนี (10-yr avg. Forward P/E 11.8x)  และยิ่งไปกว่านั้น Valuation ของตลาดหุ้นจีน (CSI300) มักจะสามารถปรับเพิ่มขึ้นได้ ในช่วงที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เพิ่มความเข้มงวดของนโยบายการเงิน สะท้อนผ่านค่า Forward P/E ของตลาดหุ้นจีนที่มักจะเคลื่อนไหวสวนทางกับ Bond Yield ระยะสั้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ตลาดหุ้นจีนมักถูกขับเคลื่อนจากนโยบายการเงินภายในประเทศเป็นสำคัญ จากปัจจัยสนับสนุนทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ไม่ว่าจะเป็น นโยบายการเงินที่ยังผ่อนคลาย มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังจะออกมาเพิ่มเติม การเลือกตั้งผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ รวมถึงระดับ Valuation ที่เหมาะสม น่าจะเพียงพอที่จะช่วยหนุนให้ตลาดหุ้นจีน A-Shares สามารถปรับตัวขึ้นได้อย่างโดดเด่นและมีโอกาสสูงที่จะปรับตัว Outperform ตลาดหุ้นประเทศอื่นๆ ได้ในปีนี้ ท่ามกลางความเสี่ยงเงินเฟ้อในหลายประเทศที่เร่งตัวขึ้นต่อเนื่องและยังมีแนวโน้มที่จะทรงตัวอยู่ในระดับสูงยาวนานกว่าที่คาด

โดย เขมชาติ ทรัพย์ทวีธนกิจ  AFPT™

Assistant Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

—————————————————

บทความล่าสุด

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า