5 ปัจจัยหนุน ตลาดหุ้นแดนมังกร

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1663061931481 1

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หุ้นจีนถูกกดดันจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจจีน หลังจากที่ทางการจีนได้มีการใช้มาตรการ Lockdown เมืองสำคัญ ทำให้โรงงานหลายแห่งต้องหยุดชะงัก ปัญหาความเสี่ยงเรื่องภาคอสังหาฯ และความเสี่ยงที่หุ้นจีนจะถูกถอดถอนออกจากการซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันความเสี่ยงต่างๆ เริ่มคลี่คลาย และเราได้เห็นสัญญาณบวกที่จะมาหนุนตลาดหุ้นจีน ได้แก่

1.จีนยังคงผ่อนคลายนโยบายการเงิน

ถึงแม้ว่าปัจจุบันธนาคารกลางหลายประเทศทั่วโลกได้หันมาเข้มงวดนโยบายการเงิน อย่างการเร่งขึ้นดอกเบี้ย เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่เร่งสูงขึ้น แต่ทางด้านฝั่งธนาคารจีนยังคงผ่อนคลายนโยบายการเงิน สวนทางกับประเทศอื่นๆ อยู่ โดยในช่วงไม่กี่สัปดาห์ทีผ่านมา ทางธนาคารจีนได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยโครงการเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ระยะ 1 ปีลง 0.10% อยู่ที่ระดับ 2.75% และอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (Reverse Repo) ระยะ 7 วันลง  0.10% อยู่ที่ระดับ 2.0% ซึ่งเป็นการสร้างความประหลาดใจให้แก่ตลาด นอกจากนี้จีนยังปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารพาณิชย์ให้ลูกค้าชั้นดีระยะ 1 ปี (1-Year LPR) ลง 0.05% อยู่ที่ 3.65% ในสัปดาห์ถัดมาอีกด้วย ซึ่งจีนถือเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่ยังคงผ่อนคลายนโยบายการเงิน

แผนภาพที่ 1: จีนผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2021

1663062250435 1

ที่มา: Bloomberg, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)

2.รัฐบาลอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านหยวน

ทางด้านนโยบายการคลัง ทางการจีนได้มีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านหยวน หรือราว 146 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในวงเงิน 1 ล้านล้านหยวนนี้ ทางการจีนจะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน 19 มาตรการ อาทิ มาตรการสนับสนุนสินเชื่อ การออกพันธบัตรและพันธบัตรพิเศษ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการอุดหนุนภาคการเกษตร

การที่จีนยังคงผ่อนคลายทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลังนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากผลกระทบของการ Lockdown เนื่องจากจีนยังคงใช้มาตรการ Zero-COVID และเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในภาค อสังหาฯในจีนอีกด้วย

3.จีนและสหรัฐฯ ร่วมมือกันหารือเรื่องการตรวจสอบบัญชีบริษัทจีนในสหรัฐฯ ลดความเสี่ยงหุ้นจีนถูกถอดถอนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ

หลังจากที่ในช่วงที่ผ่านมาหุ้นจีนในสหรัฐฯ มีความเสี่ยงที่จะถูกถอดถอนจากการซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เนื่องจากทางก.ล.ต.สหรัฐฯ ต้องการให้ทางการจีนเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ รวมถึงการเปิดเผยรายงานตรวจสอบบัญชี ตามกฏหมายการถือครองบริษัทต่างประเทศ (HFCAA) ขณะที่บริษัทจีนหลายแห่งไม่สามารถทำตามข้อเรียกร้องในการเปิดเผยข้อมูลแก่สหรัฐฯได้ ทำให้บริษัทจีนมีความเสี่ยงที่จะถูกถอดถอนออกจากการซื้อขายในตลาดสหรัฐฯภายในปี 2024 สร้างความกังวลให้แก่นักลงทุน เนื่องจากมีบริษัทจีนที่จดทะเบียนในตลาดสหรัฐฯ กว่า 200 แห่ง

อย่างไรก็ดี ล่าสุดคณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์จีน (CSRC) และคณะกรรมการกำกับดูแลการบัญชีบริษัทมหาชนของสหรัฐฯ (PCAOB) ก็ได้มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือในการตรวสอบเอกสารของบริษัทจีนที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยทาง PCAOB มีแผนที่จะเข้าตรวจสอบข้อมูลทางการเงินของบริษัทจีนในช่วงเดือนก.ย.นี้ ก่อนที่จะทำการประเมินความร่วมมือของจีนในเดือนธ.ค.

จากที่ทางหน่วยงานจีนและสหรัฐฯ หันมาเจรจาหาข้อตกลงกันประเด็นการเปิดเผยข้อมูล ทำให้ความเสี่ยงเรื่องการที่บริษัทจีนที่จะถูกถอดถอนจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ลดลง โดยจากทาง Goldman Sachs ได้มีการประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่บริษัทจีนจะถูกถอดออกจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ เหลือเพียง 50% จากเดิมที่ประเมินไว้ที่ 95% ในช่วงเดือนมี.ค. และจะส่งบวกต่อหุ้นจีน

4.ทางการจีนเตรียมปล่อยกู้พิเศษ 2 แสนล้านหยวน หรือ 29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่บริษัทอสังหาฯ

ทางการจีนเตรียมปล่อยกู้พิเศษ 2 แสนล้านหยวน หรือ 29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่บริษัทอสังหาฯ โดยเงินปล่อยกู้ยืมพิเศษนี้ มุ่งเน้นเพื่อช่วยผู้ประกอบการภาคอสังหาฯ ให้สามารถนำเงินไปสร้างโครงการให้เสร็จ และสามารถส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อได้ หลังจากที่ภาคอสังหาฯ ในจีนประสบปัญหาวิกฤตสภาพคล่อง เนื่องจากประชาชนจีนมีการปฏิเสธที่จะจ่ายค่าผ่อนบ้าน เนื่องจากขาดความเชื่อมั่นในผู้ประกอบการ

ทางการจีนจะปล่อยกู้ยืมผ่านธนาคารอาทิ China Development Bank, Agricultural Development Bank of China และ Export-Import Bank of China โดยทางการจีนจะทำการช่วยเหลือดอกเบี้ยแก่ธนาคารที่ 1% ระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ขณะที่จะเงินกู้นี้จะมีอายุไม่เกิน 3 ปี โดยในช่วง 2 ปีแรกจะคิดดอกเบี้ย 2.8% และในปีที่ 3 ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 3.2% และหากผู้ประกอบการไม่ชำระหนี้ภายใน 3 ปี ดอกเบี้ยปีต่อไปจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากดอกเบี้ยในปีที่ 3

การที่ทางการจีนปล่อยกู้เงินพิเศษให้แก่ผู้ประกอบการนี้จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถก่อสร้างโครงการได้สำเร็จ และส่งมอบให้แก่ประชาชนต่อไปได้

5.ความคืบหน้าวัคซีน mRNA ของจีน

ในปัจจุบันประชาชนชาวจีนยังไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนป้องกันไวรัส COVID-19 แบบ mRNA ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ทางรัฐบาลจีนยังคงใช้มาตรการควบคุมไวรัสอย่างเข้มงวด หรือ นโยบาย Zero-COVID และยังคงจำกัดการเดินทางเข้าออกประเทศ

อย่างไรก็ดี ล่าสุดบริษัทยาสัญชาติจีน CSPC Pharmaceutical Group ได้ออกมาประกาศถึงความคืบหน้าในการคิดค้นวัคซีนป้องกัน COVID-19 แบบ mRNA ซึ่งสามารถป้องกันไวรัสสายพันธุ์ Omicron ได้ โดยเรามองว่าหากในอนาคตข้างหน้าจีนสามารถคิดค้นวัคซีน mRNA ได้สำเร็จจะเป็นปัจจัยบวกสำหรับทั้งจีนเองและทั่วโลก หากจีนสามารถกลับมาเปิดประเทศได้อีกครั้ง

เรามองว่า ปัจจัยกดดันตลาดหุ้นจีนอย่างประเด็นการถอดถอนหุ้นจีนจากตลาดสหรัฐฯ เริ่มคลี่คลายขึ้น อีกทั้งทางด้านทางการจีนและธนาคารจีนยังคงออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง บวกกับในวันที่ 16 ต.ค. นี้ จะมีการจัดประชุมเลือกผู้นำ (National Congress) ซึ่งจะจัดขึ้นทุกๆ 5 ปี โดยจากข้อมูลในอดีต ตลาดหุ้นจีนมักจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงก่อนการประชุม ดังนั้นเราจึงมองว่าแม้ระยะสั้นๆตลาดหุ้นจีนจะดูเหมือนผันผวนสูง แต่โอกาสที่ตลาดหุ้นจะผ่านจุดต่ำสุด และ สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้ย่อมมีโอกาสมากขึ้น 

ที่มา: Bloomberg, Caixin Global, Goldman Sachs, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.ทิสโก้ หรือ TISCO Contact Center โทร. 0 2633 6000 กด 4, 0 2080 6000 กด 4 และ www.tiscoasset.com หรือ แอปพลิเคชัน TISCO My Funds

ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่า น่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์ แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมายทั้งหลายที่ปรากฏ อยู่ในรายงานฉบับนี้เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว

=================================

บทความโดย : บลจ.ทิสโก้

บทความล่าสุด

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า