จีนออกมาตรการกระตุ้นชุดใหญ่ แต่ทำไมหุ้นไปไม่ถึงฝั่งฝัน

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1730186977305

รัฐบาลจีนประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน สร้างความหวังกลับเข้ามาในตลาดหุ้นจีนอีกครั้ง ก่อนจะเผชิญแรงขายภายในเวลาอันรวดเร็ว เกิดเป็นคำถามว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจได้จริงหรือไม่ และตลาดหุ้นจีนยังน่าลงทุนอยู่หรือ

ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่ที่เรียกว่า Pan’s Package ผ่านนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง และมาตรการผ่อนคลายต่าง ๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ GDP ของจีนขยายตัวได้ตามเป้าหมาย 5% มาตรการที่ประกาศออกมา ได้แก่ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน เหลือ 1.5% จาก 1.7% ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ลง 0.3% และปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ลง 0.20-0.25% ในขณะเดียวกันยังประกาศลดอัตราการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 0.5% พร้อมส่งสัญญาณลด RRR เพิ่มเติมในช่วงที่เหลือของปี นอกจากนี้ ยังมีการแจกเงินให้แก่กลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มเปราะบางเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย

ในภาคอสังหาริมทรัพย์ มีการปรับลดเงินดาวน์สำหรับบ้านหลังที่ 2 เหลือ 15% จาก 25% และสนับสนุนให้รัฐบาลท้องถิ่นเข้าซื้อบ้านที่ขายไม่ออก โดยเพิ่มสัดส่วนการกู้ยืมเป็น 100% จากเดิม 60% เพื่อช่วยเหลือบริษัทอสังหาริมทรัพย์ สำหรับในส่วนของตลาดทุน มีการจัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพตลาดหุ้นมูลค่า 8 แสนล้านหยวน โดยแบ่งเป็น swap program มูลค่า 5 แสนล้านหยวน สำหรับสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (บริษัทหลักทรัพย์ กองทุน และบริษัทประกัน) และ Re-lending Program มูลค่า 3 แสนล้านหยวน สำหรับบริษัทจดทะเบียนและผู้ถือหุ้นรายใหญ่เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กลุ่มเหล่านี้สามารถซื้อหุ้นเพิ่มในตลาดได้

หลังการประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่นี้ ดัชนีหุ้นจีนอย่าง CSI300 ปรับตัวขึ้นกว่า +25% ภายในเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนจะถูกเทขายทำกำไรในช่วงต่อมา ทั้งนี้ เกิดจากความไม่มั่นใจของตลาดที่มองว่ามาตรการเหล่านี้ยังขาดความชัดเจนและอาจยังไม่เพียงพอในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างในระยะยาว อีกทั้งที่ผ่านมาหน่วยงานท้องถิ่นยังขาดประสิทธิภาพในการดำเนินการตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในแง่ของความล่าช้าและการดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 

ยิ่งไปกว่านั้น การแถลงของคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (NDRC) ในช่วงเวลาไม่กี่วันหลังการแถลงของ PBoC แม้จะเน้นย้ำความเป็นไปได้ของเป้าหมาย GDP ที่ 5% แต่ระบุว่าไม่มีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในช่วงที่เหลือของปียิ่งสร้างความผิดหวังให้แก่ตลาด ในขณะเดียวกัน กระทรวงการคลังจีนที่ออกมาแถลงแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงสัปดาห์ที่แล้วแม้จะมีการกล่าวถึงการขยายเพดานการขาดดุลงบประมาณและเพิ่มการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ยังไม่มีการระบุวงเงินที่ชัดเจนยิ่งเป็นการตอกย้ำความผิดหวังและส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลง

อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่าทางการจีนจะมีการประกาศรายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆนี้หลังการประชุมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนต.ค.เสร็จสิ้น และด้วยมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาจะช่วยเพิ่มโอกาสให้เศรษฐกิจจีนสามารถเติบโตได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่วางไว้ และหากพิจารณาที่อัตราการเติบโตทางกำไร (EPS Growth) ของบริษัทจดทะเบียนจีนในปีนี้ และปีหน้า 2025 พบว่ามีแนวโน้มเติบโตได้ราว 10.19% และ 13.02% ตามลำดับ หลังจากหดตัวในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา 

ดังนั้น ตลาดหุ้นจีนยังเป็นตลาดหุ้นที่ลงทุนได้ การประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากหน่วยงานต่าง ๆ ของจีนเป็นการเน้นย้ำว่าทางการจีนยังคงให้ความสำคัญจะแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจให้กลับมามีเสถียรภาพในระยะยาว

 

อัตราการเติบโตทางกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) ของบริษัทจดทะเบียนจีน 

1730187195374
ที่มา: Bloomberg, TISCO Wealth Advisory

 

บทความโดย ณัฐพร ธรวงศ์ธวัช AFPT™

Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

บทความล่าสุด

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า