ปีทองตลาดหุ้นเวียดนาม Country winner ปี 2024

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1709884075319

ปีทองตลาดหุ้นเวียดนาม Country winner ปี 2024

 

เข้าสู่โค้งสุดท้ายของไตรมาส 1 ปี 2024 ตลาดหุ้นหลายแห่งทั้งสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น อินเดีย ยังเดินหน้าทำ New high อย่างต่อเนื่อง ทำให้การเข้าลงทุนในระดับราคาปัจจุบันเริ่มมีความเสี่ยง (Downside risk) ที่สูงขึ้นจาก Valuation ที่เริ่มตึงตัว อย่างไรก็ตาม ยังมีตลาดหุ้นที่มีแนวโน้มการเติบโตของผลประกอบการในปีนี้สูงเป็นลำดับต้นๆของโลกและยังซื้อขายบน Valuation ที่ต่ำใกล้เคียงกับช่วง COVID-19 นั่นก็คือ “ตลาดหุ้นเวียดนาม” ซึ่งเป็นตลาดที่มีโอกาสจะสร้างผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยมเป็น “Country winner” ในปี 2024 จากเหตุผลดังต่อไปนี้

1. อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ สวนทางอัตราดอกเบี้ยทั่วโลก

ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยหลายประเทศทั่วโลกยังทรงตัวในระดับที่สูงสุดในรอบทศวรรษ แตกต่างจากเวียดนามที่อัตราดอกเบี้ยปรับลดลงตั้งแต่ปีที่แล้ว มาอยู่ในระดับที่ต่ำสุดในรอบ 20 ปีที่ระดับ 4.5% โดยธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) ยังได้ส่งสัญญาณเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาว่าจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลอดทั้งปี 2024 ปัจจัยดังกล่าวส่งผลบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นอย่างชัดเจน เนื่องจากผลตอบแทนจากการลงทุนในเงินฝาก และพันธบัตรรัฐบาลในเวียดนามมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนรายย่อยในเวียดนามมีแนวโน้มเคลื่อนย้ายเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดหุ้นที่ให้ ผลตอบแทนสูงกว่า นอกจากนี้ ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำยังส่งผลบวกต่อการลงทุนภาคเอกชน ตลอดจนภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เคยประสบปัญหา สภาพคล่องในปี 2022 ให้กลับมาฟื้นตัวได้ ทั้งในแง่ของต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการที่ลดลงและกำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภค ที่เพิ่มขึ้น

2. ภาครัฐยังมีขีดความสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ต่างจากประเทศอื่น

การใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐฯจำนวนมหาศาลในหลายประเทศ เพื่อพยุงเศรษฐกิจในช่วงเกิดวิกฤต COVID-19 ส่งผลให้หนี้สาธารณะต่อ GDP เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นข้อจำกัดในปัจจุบันของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เห็นได้ชัดจากกรณีของสหรัฐฯ ยุโรป หรือไทยเองก็ตาม

ในทางตรงกันข้าม เวียดนามมีหนี้สาธารณะอยู่ในระดับที่ต่ำเพียงแค่ 37% ต่อ GDP ทำให้รัฐบาลยังมีขีดความสามารถในการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกมาก ผ่านทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลเวียดนามได้ตั้งเป้าหมายการลงทุนภาครัฐในปี 2024 นี้ไว้ที่ 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นการเติบโต +37% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีมาตรการลดภาษีการบริโภค (VAT) ลงจาก 10% เป็น 8% เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศให้กลับมาฟื้นตัวขึ้น

3. ได้ประโยชน์จากความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์

ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังคงถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สร้างความกังวลเป็นอย่างมากให้กับนักลงทุนในปี 2024 ทั้งความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่อาจทวีความรุนแรงขึ้นก่อนการเลือกตั้งสหรัฐฯในช่วงปลายปีนี้ กรณีพิพาทระหว่างจีนกับไต้หวัน รวมถึงนโยบายรัฐบาลจีนที่มีความเข้มงวดจน ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีน ปัจจัยเหล่านี้ได้ส่งผลให้มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในปี 2023 ลดลงแตะระดับ ต่ำสุดในรอบ 30 ปีและเป็นแรงหนุนให้กระแส “China Plus One” หรือการกระจายฐานการผลิตออกจากประเทศจีนมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น

เวียดนามถือเป็นประเทศที่ได้อานิสงส์จากประเด็นดังกล่าว สะท้อนจากตัวเลข FDI ที่เติบโตถึง 32% แตะระดับ 3.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2023 ที่ผ่านมา เนื่องจากพรมแดนที่ติดกับจีน ค่าแรงที่ถูก ตลอดจนการมีข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) 16 ฉบับ มากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศ ในกลุ่มอาเซียน ส่งผลให้เวียดนามกลายเป็นเป้าหมายของต่างชาติในการเข้ามาลงทุนแบบ FDI โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออก เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าและรองเท้า รวมถึงอุตสาหกรรมแห่งอนาคตอย่าง Semiconductors ที่ได้เริ่มมีบริษัทระดับโลกอย่าง Nvidia วางแผนเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตในเวียดนาม เพื่อยกระดับเวียดนามเป็น “The New Tech Hub of Asia”

4. พร้อมอัพเกรดสถานะรับ Fund flows ต่างชาติ

การเลื่อนสถานะขึ้นเป็นตลาดหุ้น Emerging markets ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นภายในช่วงปลายปี 2024 หรือต้นปี 2025 โดยปัจจุบันตลาดหุ้นเวียดนามถือเป็น “พี่ใหญ่” ในกลุ่มตลาดหุ้น Frontier markets ด้วยสัดส่วนที่มากถึง 35% ในดัชนี FTSE Frontier Index ทั้งนี้ รัฐบาลเวียดนามกำลังเดินหน้าอย่างเต็มที่ในการพัฒนาระบบชำระราคาหลักทรัพย์ให้มีความเป็นสากล ตลอดจนปลดล๊อคข้อจำกัดการซื้อขายหุ้นแบบ Pre-funding ซึ่งเป็นข้อจำกัดสุดท้ายที่ทำให้เวียดนามยังไม่สามารถก้าวขึ้นมาเป็นตลาดหุ้น EM ได้ หากกระบวนการดังกล่าวเสร็จสิ้น คาดว่าทาง FTSE จะเป็นสถาบันแรกที่พร้อมจะประกาศเปลี่ยนสถานะให้เวียดนามเป็นตลาดหุ้น Emerging markets ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดหุ้นเวียดนามมีแรงหนุนจากกระแสเงินทุนต่างชาติกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ การเข้ามามีส่วนร่วมของนักลงทุนต่างชาติจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดหุ้นเวียดนาม ทำให้ตลาดมีเสถียรภาพมากขึ้นและนำไปสู่ Valuation ที่สูงขึ้นในระยะยาว

5. Valuation ยังต่ำใกล้เคียง COVID-19

แม้ตลาดหุ้นเวียดนามมีการปรับตัวขึ้นมา +12% ในปีที่แล้วและอีก +8% ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ แต่ Valuation ยังอยู่ระดับที่ “ถูกใกล้เคียงกับ ช่วง COVID-19” สะท้อนจากค่า Forward P/E ปี 2024 ที่ระดับ 10 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ระดับ 12 เท่าถึงราว 20% ทั้งนี้ Bloomberg consensus ประเมินอัตราการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนในเวียดนามไว้ที่ +28% YoY ซึ่งถือเป็นการเติบโตที่โดดเด่นที่สุดเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆทั่วโลก โดยการเติบโตของผลประกอบการได้รับแรงหนุนทั้งจากกลุ่มธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ เทคโนโลยี รวมถึงกลุ่ม Consumer ที่มีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัว

ดังนั้น ปี 2024 ตลาดหุ้นเวียดนามจึงถือเป็นหนึ่งในตลาดหุ้นที่มีโอกาส Outperform ตลาดหุ้นโลกได้ ทั้งจากปัจจัยด้าน “Fundamental” ที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจและกำไรบริษัทจดทะเบียน รวมถึงแรงหนุนจากปัจจัยด้าน “Fund flows” จากนักลงทุนรายย่อยในประเทศจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ รวมถึงแรงหนุนจากเม็ดเงินของนักลงทุนต่างชาติในอนาคต เมื่อมีการประกาศอัพเกรดสถานะเวียดนามขึ้นเป็น Emerging markets

โดย ภาคภูมิ พีรยวัฒนา AFPT

Senior Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

บทความล่าสุด

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า