เมื่อติดเชื้อ Covid-19 แล้ว จะยังสามารถทำประกันสุขภาพได้หรือไม่ ?

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1643262106583 1

ในระยะหลังมานี้ เรามักจะได้ยินคำว่า “ภาวะ Long Covid” อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งภาวะ Long Covid  หรือชื่อเต็มๆ ว่า Long-Term Effect of Coronavirus เป็นอาการของผู้ที่หายป่วยจากการติดเชื้อ Covid-19 แล้ว แต่ร่างกายยังมีภาวะผิดปกติบางอย่าง เช่น หายใจขัด แน่นหน้าอก ไอเรื้อรัง อ่อนเพลีย ใจสั่น ปวดกล้ามเนื้อ มีปัญหาในการจดจำ ไปจนถึงภาวะสมองล้า ซึ่งภาวะ Long Covid มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อ COVID-19 ทุกคน ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรง หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการเลยในช่วงที่ีร่างกายได้รับเชื้อ COVID-19 โดยปัญหาสุขภาพดังกล่าวนำมาซึ่งความกังวลจนเกิดเป็นคำถามที่หลายคนสงสัยว่า หากเราเคยติดเชื้อไวรัส COVID-19 แล้ว จะยังสามารถทำประกันสุขภาพได้หรือไม่ ?

ในเบื้องต้น เนื่องจาก COVID-19 เป็นโรคที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ ทำให้ในปัจจุบันมีข้อมูลเกี่ยวกับผลการวิจัยของโรคนี้ไม่มากพอ ประกอบกับเชื้อไวรัสดังกล่าวยังเกิดการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้น แนวทางในการพิจารณารับประกันของบริษัทประกันที่มีต่อผู้ป่วยที่หายจาก COVID-19 จึงมีโอกาสปรับเปลี่ยนไปตามข้อมูลหรือผลการวิจัยที่มีมากขึ้น

หากอ้างอิงจากข้อมูลในปัจจุบัน แนวทางปฏิบัติในการรับประกันของบริษัทประกันแต่ละแห่งนั้นมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการเจ็บป่วยในขณะที่ร่างกายได้รับเชื้อ COVID-19 โดยส่วนใหญ่ทางบริษัทประกันมักจะแบ่งระดับการเจ็บป่วยเป็น 3 ระดับ ได้แก่

1. ไม่มีอาการเจ็บป่วยหรือเชื้อไม่ลงปอด ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะสามารถเข้าสู่กระบวนการพิจารณารับประกันได้ หลังจากรักษาหายจากการเจ็บป่วย COVID-19 เป็นเวลา 30 วัน (บางแห่ง 90 วัน) นับจากวันที่ออกจากโรงพยาบาล Hospitel หรือโรงพยาบาลสนาม ทั้งในการพิจารณาด้านประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรง

2. เชื้อลงปอด และ/หรือกินยาต้านไวรัส Favipiravir ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะสามารถเข้าสู่กระบวนการพิจารณารับประกันได้ หลังจากรักษาหายจากการเจ็บป่วย COVID-19 เป็นเวลา 90 วัน (บางแห่ง 120 วัน) นับจากวันที่ออกจากโรงพยาบาล Hospitel หรือโรงพยาบาลสนาม ทั้งในการพิจารณาด้านประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรง

3. เชื้อลงปอด และ/หรือกินยาต้านไวรัส Favipiravir และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือเข้าพักรักษาตัวในห้องผู้ป่วยหนัก (ICU) ในกรณีนี้ส่วนมากบริษัทประกันมักจะปฏิเสธการรับประกันภัยทันที หรือในกรณีที่บริษัทรับทำประกัน ผู้ป่วยอาจจะต้องรอให้หายจากการเจ็บป่วย COVID-19 เป็นเวลากว่า 180 วัน จึงจะสามารถเข้าสู่กระบวนการพิจารณารับประกันได้ โดยจะต้องแนบเอกสารทางการแพทย์เพื่อประกอบการพิจารณาทั้งในช่วงที่ป่วยรุนแรง และเอกสารทางการแพทย์ที่นัดติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทั้งหมด เช่น ผลเอกซเรย์ปอด ผลเลือดต่างๆ ด้วย

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะสังเกตุได้ว่า หากเรามีประวัติเจ็บป่วยจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 จะทำให้โอกาสในการทำประกันสุขภาพนั้นยากกว่าเดิม ทั้งขั้นตอนที่มากขึ้นหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณา โดยบริษัทประกันอาจระบุอาการที่สืบเนื่องจากการเป็น COVID-19 เป็นข้อยกเว้นในการรับประกัน เช่น โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของปอด

และในอนาคต หากมีผลการวิจัยเพิ่มเติมที่สามารถระบุได้ว่า เชื้อไวรัส COVID-19 มีผลทำให้อวัยวะส่วนอื่นๆ ทำงานผิดปกติไปจากเดิมก็มีความเป็นไปได้ว่า บริษัทประกันจะเพิ่มเงื่อนไขเหล่านั้นเป็นข้อยกเว้นในการรับทำประกัน ดังนั้นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่เราควรจะทำประกันสุขภาพก็คือ ในตอนที่เรายังมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์และไม่มีประวัติสุขภาพ เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่า หากวันใดเราเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา บริษัทประกันจะสามารถคุ้มครองภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมดอย่างไม่มีเงื่อนไข

                

====================================================

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Invest in Health ใน Wealthy Thai

 

บทความล่าสุด

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า