สร้างเกราะป้องกันความมั่งคั่ง ด้วยประกันโรคร้ายแรง

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1629269068212 1

เป็นที่น่าตกใจว่า สถิติการเสียชีวิตของคนไทย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเจ็บป่วยด้วย 5 กลุ่มโรคร้ายแรง ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มโรคมะเร็ง หัวใจ ปอด หลอดเลือดในสมอง และเบาหวาน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์ รวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน ก็ทำให้เรามีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยด้วยกลุ่มโรคดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นค่ารักษาพยาบาลสำหรับโรคร้ายแรงเหล่านี้ก็เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วยเช่นกัน ฉะนั้นการเตรียมความพร้อมด้วยผลิตภัณฑ์ “ประกันโรคร้ายแรง” จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและช่วยให้เราได้รับบริการทางการแพทย์ที่ดีและทันสมัย

จากสถิติการเสียชีวิต ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) พบว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2541 – 2562 อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งและเนื้องอกทุกชนิดของคนไทยเป็นสาเหตุอันดับ 1 โดยในปี พ.ศ. 2541 โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 48.7 คน ต่อประชากร 100,000 คน และเพิ่มขึ้นเป็น 128.2 คน หรือเกือบ 3 เท่าตัว ในปี พ.ศ. 2562 เช่นเดียวกับกลุ่มโรคร้ายแรงอื่นๆ ที่อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยอัตราการเสียชีวิตของคนไทยจากกลุ่มโรคปอดเพิ่มขึ้นจาก 9.0 คน เป็น 53.3 คน นอกจากนี้จำนวนคนที่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดในสมองและเบาหวานก็เพิ่มขึ้นเช่นกันจาก 7.0 คน และ 7.9 คน ในปี พ.ศ. 2541 เป็น 53.0 คน และ 25.3 คน ในปีพ.ศ.2562 ตามลำดับ ต่อประชากร 100,000 คน ดังแสดงในแผนภาพที่ 1

แผนภาพที่ 1: แผนภาพแสดงอัตราการเสียชีวิตของคนไทย (พ.ศ. 2541 – 2562) จากการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงต่อประชากร 100,000 คน
1629273445968 1

ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB)

จากแผนภาพที่ 1 จะเห็นได้ว่ามีเพียงโรคหัวใจเท่านั้นที่อัตราการเสียชีวิตของคนไทยลดลงในช่วง พ.ศ. 2537 – 2560 ฉะนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า แนวโน้มการเสียชีวิตของคนไทย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายร้ายมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว นอกจากนั้นเมื่อเรามาดูค่ารักษาพยาบาลในกลุ่มโรคต่างๆ ข้างต้น พบว่าค่ารักษาพยาบาลอยู่ในระดับที่สูงมากในทุกกลุ่มโรค ซึ่งค่าบริการรักษาพยาบาลมักขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลที่เราเข้ารับการรักษา ตลอดจนเทคโนโลยีหรือวิธีการรักษาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงระยะของการอาการป่วยที่เราเป็น อาทิ การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนจะมีค่ารักษาที่สูงกว่าโรงพยาบาลรัฐบาล ดังแสดงในแผนภาพที่ 2

แผนภาพที่ 2: ตารางแสดงการเปรียบเทียบตัวอย่างค่ารักษาพยาบาลสำหรับโรคร้ายแรงระหว่างโรงพยาบาลรัฐฯ และโรงพยาบาลเอกชน
1629269323485 1

ที่มา: Posttoday, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), Gettogo, AIA Manage Care รพ.บำรุงราษฎร์, Ccit.go.th, Bangkok Hospital

 

จากแผนภาพที่ 2 จะเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจากโรคร้ายแรงอยู่ในระดับที่สูงมาก ยิ่งไปกว่านั้นค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำสูงกว่าค่ารักษาของโรงพยาบาลของรัฐฯ อย่างมากเช่นกัน อาทิ ค่าผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจในโรงพยาบาลรัฐฯ มีค่าใช้จ่ายราว 126,000 – 293,000 บาท แต่หากเราต้องการรับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ เราต้องจ่ายค่ารักษาราว 750,000 – 950,000 บาท ซึ่งสูงกว่าค่ารักษาจากโรงพยาบาลของรัฐฯ ถึง 3 – 6 เท่าเลยทีเดียว

จากแนวโน้มอัตราการเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงจะเพิ่มสูงขึ้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บวกกับค่ารักษาพยาบาลสำหรับโรคร้ายแรงเหล่านี้ยังอยู่ในระดับที่สูงมากอีกด้วย สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลไม่ว่าจะเป็นที่โรงพยาบาลรัฐฯ หรือเอกชน ก็จำเป็นที่จะต้องเตรียม “เงินก้อน” ไว้เป็นค่ารักษาพยาบาล หรือไว้รองรับค่าใช้จ่ายในครอบครัว กรณีที่ไม่สามารถหารายได้ได้

ยิ่งไปกว่านั้นหากเราต้องการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากมักได้รับบริการที่ดี และมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าโรงพยาบาลรัฐฯ เป็นเท่าตัว ทำให้การทำ “ประกันโรคร้ายแรง” สามารถตอบโจทย์ทุกท่านได้ เนื่องจากประกันโรคร้ายแรงมักจะมีระดับค่าเบี้ยประกันที่ไม่สูงนัก แต่กลับได้วงเงินความคุ้มครองในระดับที่สูงและอาจเพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝันอีกด้วย

====================================================

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ I wish you wealth ใน โพสต์ทูเดย์

บทความล่าสุด

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า