เจอ จ่าย จบ (ที่ไม่จบง่ายๆ) กับประกันโรคร้ายแรง

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1645521319907 1

”ประกันเจอ จ่าย จบ” ไม่ได้มีแค่ประกันสำหรับโรค COVID-19 เท่านั้น แต่ประกันประเภทนี้ยังมีความคุ้มครองกลุ่ม “โรคร้ายแรง” อีกด้วย แม้จะยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่ประกันเจอ จ่าย จบ สำหรับโรคร้ายแรงนั้น มีความคุ้มครองที่คุ้มค่า ทำให้ผู้เอาประกันเข้าถึงนวัตกรรมการรักษาที่ดี เพิ่มโอกาสให้หายขาดจากโรคได้มากขึ้น 

โรคร้ายแรงคืออะไร?

ก่อนอื่นผมขอทำความเข้าใจก่อนว่า “โรคร้ายแรง” คือกลุ่มโรคที่มีอาการเจ็บป่วยรุนแรงและรักษาได้ยาก เนื่องจากต้องใช้วิธีการรักษาเฉพาะทางและใช้ระยะเวลายาวนาน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าโรคปกติทั่วไปและมีอัตราการเสียชีวิตที่สูง โดยจากข้อมูลของกรมควบคุมโรคพบว่า อัตราการเสียชีวิตจากโรคร้ายแรง 5 กลุ่มโรคหลัก ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง มีอัตราการเสียชีวิตรวมกันปีละกว่า 239.2 รายต่อประชากรหนึ่งแสนคน (ตามแผนภาพที่ 1) ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตจากโรค COVID-19 นั้น มีเพียง 31.8 รายต่อจำนวนประชากรหนึ่งแสนคนเท่านั้น

แผนภาพที่ 1: อัตราการเสียชีวิตอย่างหยาบจากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญต่อประชากรแสนคน ปี พ.ศ. 2557 – 2561
1645521604594 1

ที่มา: ข้อมูลมรณบัตร กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูล ณ วันที่ 28 พ..ย. 61

 

ประกันโรคร้ายแรงแบบ “เจอ จ่าย จบ” คุ้มครองอย่างไร?

หากผู้เอาประกันเป็นโรคใดโรคหนึ่งในกลุ่มโรคที่ได้รับความคุ้มครอง จะได้รับเงินก้อนเพื่อนำไปรักษาตัว  โดยแต่ละกรมธรรม์จะมีความแตกต่างในเรื่องจำนวนโรคที่ให้ความคุ้มครอง ซึ่งบางกรมธรรม์คุ้มครองมากถึง 8 กลุ่มโรคร้ายแรง และครอบคลุมสูงสุดมากถึง 108 โรคร้าย ซึ่งในกรณีที่เราป่วยเป็น 1 กลุ่มโรคและได้รับเงินก้อนไปเรียบร้อยแล้ว กรมธรรม์ยังคงคุ้มครองอีก 7 กลุ่มโรคร้ายที่เหลือต่อไปด้วย เช่น ตรวจพบว่าเป็นโรคหัวใจระยะรุนแรงได้เงินตามทุนคุ้มครองไปแล้ว 100% แต่หาก 1 ปีผ่านไปตรวจพบว่า เป็นโรคปอดระยะสุดท้ายก็จะได้รับผลประโยชน์อีก 100% ซึ่งเป็นความคุ้มครองที่ไม่มีระยะเวลารอคอยระหว่างโรคอีกด้วย

นอกจากนี้ การเลือกซื้อประกันโรคร้ายแรงแบบ “เจอ จ่าย จบ” นั้น ควรพิจารณาด้วยว่า ประกันนั้นครอบคลุมการเจ็บป่วยระยะใดบ้าง เช่น ระยะเริ่มต้น ระยะปานกลาง และระยะรุนแรง ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องศึกษาเงื่อนไขก่อนการตัดสินใจทำประกัน ซึ่งหากตรวจพบโรคร้ายในระยะเริ่มต้นและมีวงเงินในการรักษาที่เพียงพอจะช่วยให้สามารถควบคุมความรุนแรงของโรคได้

ด้านการจ่ายเงินให้กับผู้เอาประกันนั้น บางกรมธรรม์ใช้วิธีแบ่งจ่ายตั้งแต่ระยะเริ่มต้นไปจนถึงระยะรุนแรง โดยให้ความคุ้มครองสูงสุดถึง 7 เท่าของทุนประกัน เช่น 1, 3 และสูงสุดถึง 5 ล้านบาท เป็นต้น

มีประกันสุขภาพอยู่แล้ว ควรซื้อประกันโรคร้ายแรงไหม?

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ประกันสุขภาพนั้นจะรักษาในภาพรวมของปัญหาสุขภาพ ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากและอาจมีข้อจำกัดในด้านการรักษา แต่เนื่องจากการรักษาโรคร้ายแรงนั้นต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก รวมถึงนวัตกรรมการรักษาในปัจจุบันและในอนาคตมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกันสุขภาพที่ซื้อเมื่อ10 ปีที่แล้ว อาจมีวงเงินหรือข้อจำกัดในการรักษาที่ทันสมัย

ดังนั้น ประกันสุขภาพโรคร้ายแรงแบบเจอ จ่าย จบ ซึ่งได้เงินก้อนนั้นจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการรักษา ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเข้าถึงนวัตกรรมการแพทย์ที่พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด พร้อมเพิ่มโอกาสในการกลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัวได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง

ทั้งนี้ หากต้องการคำปรึกษาด้านการทำประกันที่เหมาะสมกับตัวเอง รวมถึงเลือกซื้อประกันตัวท็อปแบบไม่จำกัดค่าย สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา หรือ โทร 02-633-6060 หรือหากท่านใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตนเอง สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ [email protected]  ครับ

 

====================================================

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Invest in Health ใน Wealthy Thai

บทความล่าสุด

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า