เลือกกองทุนลดหย่อนภาษีอย่างไรให้เหมาะกับคุณ ?

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

เลือกกองทุนลดหย่อนภาษีอย่างไร 800X420
ตารางเปรียบเทียบ

ทั้งนี้ จากตารางที่ 1 นักลงทุนสามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการเปรียบเทียบและคัดเลือกลงกองทุนลดหย่อนภาษีได้ แต่ยังไม่สามารถเจาะจงถึงประเภทสินทรัพย์ที่ควรเลือกตามอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงที่รับได้ เนื่องจากขาดข้อมูลผลตอบแทนในอดีตช่วยเป็นตัวชี้วัด ดังนั้นหากนำรูปแสดงอัตราผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีดังภาพข้างล่างนี้มาปรับใช้ร่วมกับตารางที่ 1 จะสามารถช่วยให้นักลงทุนคัดเลือกกองทุนลดหย่อนได้ง่ายและเหมาะกับตนเองมากขึ้น โดยแบ่งนักลงทุนตามความเสี่ยงได้ 2 แบบ ดังนี้

รูปแสดงผลตอบแทนย้อนหลังของแต่ละสินทรัพย์ในช่วงปี 2014 – 2023 หมายเหตุ : Avg. หมายถึงค่าเฉลี่ยผลตอบแทนของสินทรัพย์ , Max หมายถึงผลตอบแทนมากที่สุดในรอบ 10 ปี, Min หมายถึงผลตอบแทนน้อยสุดในรอบ 10 ปี Source: TISCO Wealth Advisory, Bloomberg
รูปแสดงผลตอบแทนย้อนหลังของแต่ละสินทรัพย์ในช่วงปี 2014 – 2023

หมายเหตุ : Avg. หมายถึงค่าเฉลี่ยผลตอบแทนของสินทรัพย์ , Max หมายถึงผลตอบแทนมากที่สุดในรอบ 10 ปี, Min หมายถึงผลตอบแทนน้อยสุดในรอบ 10 ปี

Source: TISCO Wealth Advisory, Bloomberg

1.นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง

SSF และ RMF : แนะนำลงทุนในสินทรัพย์ประเภทหุ้นและทองคำเป็นหลัก โดยเฉพาะหุ้นโลกเพราะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีอยู่ที่ระดับ +9.62% ต่อปี แต่ในขณะเดียวกันก็มีความผันผวนที่มากสังเกตได้จากปี 2018 และ 2022 ที่ตลาดหุ้นปรับตัวลง -8.92% และ -17.95%

ThaiESG : มีข้อจำกัดการลงทุนโดยสามารถเลือกลงทุนได้เฉพาะตราสารหนี้และหุ้นในประเทศไทย ดังนั้นหากรับความเสี่ยงได้สูง หุ้นไทยจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมจากอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีก็อยู่ในระดับ +4.85% ต่อปี ใกล้เคียงกับทองคำ

2.นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ

SSF และ RMF : แนะนำลงทุนในสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้เป็นหลัก โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลไทยเพราะอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี อยู่ในระดับ +2.87% ต่อปี และในตลอดระยะเวลา 10 ปีให้ผลตอบแทนเป็นบวกทุกปี สะท้อนให้เห็นถึงความผันผวนที่ต่ำ เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำและกังวลความผันผวนของตลาด

ThaiESG : แนะนำลงทุนในตราสารหนี้ไทยทั้งหุ้นกู้ในไทยและพันธบัตรรัฐบายไทยตามเงื่อนไขของกองทุน โดยหากนักลงทุนเสี่ยงต่ำต้องการลงทุนในไทยเป็นหลักอยู่แล้วควรเลือกซื้อ ThaiESG เป็นอันดับแรกเพราะระยะเวลาการถือครองที่สั้นสุดเพียง 5 ปี

บทความโดย โดย กิตติธัช เหล่าขจรบุญ AFPT™

Assistant Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

บทความล่าสุด

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า