เปิด Check List ประกัน ที่คนวัยทำงานต้องห้ามพลาด

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1631524574378 1

การลงทุนช่วยเพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ชีวิต แต่การมีความมั่งคั่งเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอสำหรับการดูแลคุณภาพชีวิตทุกด้านได้ ซึ่งสิ่งที่จะเข้ามาเติมเต็มการดูแลคุณภาพชีวิตของคุณให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น คือ การวางแผนการเงิน ในส่วนของการปกป้องความมั่งคั่งอย่างการวางแผน “ประกัน” เพราะนอกจากจะเป็นตัวช่วยในเรื่องของการปกป้องความมั่งคั่งจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพแล้ว ยังเป็นตัวช่วยในการวางแผนภาษี การวางแผนเกษียณ และการส่งต่อมรดกอีกด้วย 

อย่างไรก็ตาม ประกันแต่ละประเภท แต่ละแบบ ก็มีความสำคัญและความเหมาะสมแตกต่างกันไปตามช่วงวัยและความต้องการของแต่ละบุคคลในที่นี้จะขอเจาะลึกลงมาที่วิธีการเลือกประกันของวัยทำงานกันก่อน เพราะวัยทำงานเป็นวัยที่ถือเป็นช่วงสำคัญที่จะพิจารณาแบบประกันที่เหมาะสมเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการและช่วยรักษาความมั่งคั่งให้ยังคงอยู่ วัยนี้จะเป็นกลุ่มอายุระหว่าง 15 – 59 ปี ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น วัยทำงานตอนต้น (อายุ 15 – 29 ปี) วัยทำงานตอนกลาง (อายุ 30 – 44 ปี) และวัยทำงานตอนปลาย (อายุ 45 – 59 ปี) โดยครั้งนี้จะขอเน้นที่กลุ่มวัยทำงานตอนกลาง เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่เริ่มมีความมั่งคั่ง  ในขณะที่ความต้องการทำประกันในวัยนี้ก็เพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงวัยทำงานตอนต้น

ช่วงอายุ 30 – 44 ปี แม้จะเป็นช่วงอายุที่มีรายได้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีภาระมากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มสร้างครอบครัว ทำให้มีค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็น ค่าบ้าน ค่ารถ ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว รวมถึงพ่อแม่ และยังต้องเก็บออมหรือลงทุนให้ได้ตามเป้าหมาย ในช่วงวัยนี้การป้องกันความเสี่ยงด้วยการทำประกันจึงสำคัญมาก โดยประกันที่ควรจะต้องมี คือ ประกันชีวิต  เพื่อจัดการกับความเสี่ยงกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น สมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ ก็ยังสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ด้วยทุนประกันตามแต่ที่ทำประกันไว้

ประกันชีวิตมีทั้งแบบชั่วระยะเวลา แบบสะสมทรัพย์ แบบบำนาญ และแบบตลอดชีพ ซึ่งแต่ละแบบมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันออกไป สำหรับคนวัยทำงานโดยเฉพาะคนที่เป็นหัวหน้าครอบครัว หรือมีบุตร มีบุคคลในอุปการะที่ต้องเลี้ยงดู ควรจะต้องมีประกันชีวิตแบบตลอดชีพเป็นอย่างแรก เนื่องจากประกันชีวิตประเภทนี้จะคุ้มครองไปตลอดช่วงชีวิต และยิ่งทำเร็วยิ่งมีความคุ้มค่าทั้งในแง่เบี้ยประกันที่ยิ่งทำเร็ว เบี้ยยิ่งถูก ในขณะที่ความคุ้มครองชีวิตจะได้รับเป็นเงินก้อนใหญ่ เพื่อให้ผู้รับประโยชน์อย่างสมาชิกในครอบครัวสามารถดำรงชีวิตภายใต้มาตรฐานชีวิตที่ดีเพียงพอและสามารถดูแลค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งในชีวิตประจำวัน และค่าผ่อนชำระภาระต่างๆ ตามที่จำเป็นได้ด้วย

นอกจากนั้น ในช่วงวัยนี้ ประกันสุขภาพก็นับเป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน ทั้งประกันสุขภาพแบบทั่วไป และประกันสุขภาพที่คุ้มครองโรคร้ายแรง เผื่อในกรณีเจ็บป่วยจะได้สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ ยิ่ง ณ ปัจจุบัน เทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้ามาก ทำให้มีวิธีการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่แน่นอนย่อมตามมาด้วยค่าใช้จ่ายก้อนโต ซึ่งหากไม่มีการทำประกันสุขภาพไว้ ก็อาจต้องใช้เงินทั้งหมดไปกับการรักษาพยาบาล และอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดูแลค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ รวมถึงเป้าหมายทางการเงินที่อาจสะดุดไปด้วย และยิ่งไปกว่านั้น หากไม่มีความสามารถในการชำระค่ารักษาพยาบาลตลอดการรักษา ก็อาจทำให้ไม่สามารถรักษาตัวได้ตามที่ควรจะเป็น

ดังนั้น จะเห็นว่าการทำประกันสุขภาพทั้งแบบทั่วไปและประกันสำหรับโรคร้ายแรง มีความสำคัญกับคนทำงานในช่วงวัยประมาณ 30 – 44 ปี ไม่น้อยไปกว่าประกันชีวิตเลย และแม้ว่าบริษัทส่วนใหญ่จะมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลให้กับพนักงานอยู่แล้ว แต่อาจไม่เพียงพอหากเกิดการเจ็บป่วยจริง โดยเฉพาะหากต้องเป็นผู้ป่วยในหรือต้องเข้ารับการผ่าตัด หรือเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรง

ดังนั้น จึงควรมองหาประกันสุขภาพเพิ่มเติมไว้เผื่อกรณีเกิดการเจ็บป่วยขึ้น นอกจากนี้ยังควรมองหาประกันสุขภาพที่คุ้มครองต่อเนื่อง ไม่ปฏิเสธการต่ออายุ เพื่อให้มีความคุ้มครองต่อเนื่องได้ เพราะหากอายุมากขึ้นเริ่มตรวจพบโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อถึงเวลานั้น หากเรายังไม่มีประกันสุขภาพเลยตั้งแต่ช่วงที่เริ่มตั้งตัวได้และยังมีสุขภาพแข็งแรงอย่างช่วงวัยทำงานตอนกลาง เราก็อาจไม่สามารถทำประกันสุขภาพได้อีกเลย เนื่องจากบริษัทประกันมักไม่รับทำประกันหรือหากรับก็จะตามมาด้วยเงื่อนไขมากมายกับบุคคลที่มีประวัติการเจ็บป่วยรุนแรงหรือมีโรคประจำตัว

วัยทำงานตอนกลาง ช่วงอายุ 30 – 44 ปี จึงเป็นช่วงวัยที่สำคัญอย่างมากทั้งในด้านการสร้างครอบครัว สร้างความมั่งคั่ง และปกป้องความมั่งคั่งด้วยการทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพ เพื่อให้ทั้งแผนการเงินและแผนการดูแลสุขภาพสามารถดำเนินไปอย่างราบรื่นได้ตามที่ต้องการ

===============================

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Health is Wealth ใน กรุงเทพธุรกิจ

บทความล่าสุด

จับจังหวะความผันผวนระยะสั้น ช่วยเสริมพอร์ตเติบโตระยะยาว

สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางกลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง หลังอิสราเอลและอิหร่านตอบโต้กันด้วยปฏิบัติการทางทหารอย่างรุนแรงที่สุดในรอบหลายปี ส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนหนัก ทั้งราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ราคาทองคำที่แตะระดับสูงสุดใหม่ ภาพลงทุนเข้าสู่โหมดตั้งรับความเสี่ยง (Risk off) หุ้นส่วนใหญ่ถูกเทขายจากความกังวล

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตลงทุน สู้ศึกครึ่งปีหลัง 2025

เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังปี 2025 สถานการณ์การลงทุนทั่วโลกยังคงเผชิญความท้าทายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากความไม่แน่นอนในการเจรจาภาษีนำเข้าของสหรัฐฯกับคู่ค้า รวมถึงสงครามในตะวันออกกลางที่กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง ทำให้การคาดเดาทิศทางเศรษฐกิจและจับจังหวะตลาดเป็นเรื่องที่ยาก

อ่านต่อ >>

เลือกประกันโรคร้ายแรงให้รอดจากค่าใช้จ่ายอัลไซเมอร์ 

เมื่อพูดถึงเหตุผลของการมีประกันโรคร้ายแรงเพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสุขภาพ เรามักจะคิดถึงโรคที่มีผลร้ายแรงแบบเฉียบพลันจนถึงแก่ชีวิต หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, ทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มโรคข้างต้นทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เมื่อปี 2021 พบสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs กว่า 80%

อ่านต่อ >>

จับจังหวะความผันผวนระยะสั้น ช่วยเสริมพอร์ตเติบโตระยะยาว

สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางกลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง หลังอิสราเอลและอิหร่านตอบโต้กันด้วยปฏิบัติการทางทหารอย่างรุนแรงที่สุดในรอบหลายปี ส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนหนัก ทั้งราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ราคาทองคำที่แตะระดับสูงสุดใหม่ ภาพลงทุนเข้าสู่โหมดตั้งรับความเสี่ยง (Risk off) หุ้นส่วนใหญ่ถูกเทขายจากความกังวล

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตลงทุน สู้ศึกครึ่งปีหลัง 2025

เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังปี 2025 สถานการณ์การลงทุนทั่วโลกยังคงเผชิญความท้าทายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากความไม่แน่นอนในการเจรจาภาษีนำเข้าของสหรัฐฯกับคู่ค้า รวมถึงสงครามในตะวันออกกลางที่กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง ทำให้การคาดเดาทิศทางเศรษฐกิจและจับจังหวะตลาดเป็นเรื่องที่ยาก

อ่านต่อ >>

เลือกประกันโรคร้ายแรงให้รอดจากค่าใช้จ่ายอัลไซเมอร์ 

เมื่อพูดถึงเหตุผลของการมีประกันโรคร้ายแรงเพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสุขภาพ เรามักจะคิดถึงโรคที่มีผลร้ายแรงแบบเฉียบพลันจนถึงแก่ชีวิต หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, ทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มโรคข้างต้นทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เมื่อปี 2021 พบสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs กว่า 80%

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า