ปิดความเสี่ยงของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพด้วยประกันอุบัติเหตุ

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1721113154873

การเริ่มทำประกันภัยต่าง ๆ สำหรับผู้สูงอายุที่อายุเกิน 60 ปี อาจเป็นเรื่องที่ไกลตัว เพราะประกันสุขภาพโดยทั่วไปจะไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนรับประกัน หรือประกันชีวิตที่วงเงินถึงระดับที่บริษัทรับประกันกำหนดอาจต้องการผลตรวจสุขภาพเพิ่มเติม ซึ่งจากแบบสำรวจอนามัยและสวัสดิการโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ.2566 ระบุว่าผู้สูงอายุร้อยละ 56.3 มักมีประวัติสุขภาพเป็นโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัวและมีสัดส่วนสูงกว่าช่วงอายุ 25-59 ปี ถึงราว 4 เท่า ทำให้มีโอกาสสูงที่จะถูกปฏิเสธการรับประกันจากบริษัทประกันภัย อย่างไรก็ดีค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุไม่ได้มีเพียงโรคประจำตัว แต่อาจเกิดจากอุบัติเหตุได้ด้วยสมรรถภาพร่างกายที่ถดถอยลง ซึ่งผู้สูงอายุสามารถทำประกันอุบัติเหตุเพื่อรับความคุ้มครองเหตุที่ไม่คาดฝันโดยไม่ต้องคำนึงถึงประวัติสุขภาพที่ติดตัวมาได้ และช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้มากกว่าวัยหนุ่มสาวอีกด้วย

จากสถิติการลื่นหกล้มของผู้สูงอายุจากกรมควบคุมโรค พ.ศ.2565 สูงกว่า 3 ล้านรายต่อปี โดยมีจำนวนกว่า 90,000 รายที่ต้องเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน (IPD) และมีอัตราเสียชีวิตราว 1,600 รายต่อปี เป็นอันดับ 2 รองจากอุบัติเหตุทางถนน เนื่องจากสมรรถภาพทางร่างกายของผู้สูงอายุจะตอบสนองได้ช้าลงกว่าวัยหนุ่มสาว และด้วยร่างกายที่เสื่อมถอยลงทำให้ความรุนแรงต่อร่างกายสูงมากกว่าคนวัยทั่วไปด้วย เช่น กระดูกหักเมื่อลื่นล้มจากภาวะกระดูกพรุน เป็นต้น ซึ่งเหตุที่รุนแรงมากขึ้นนำมาสู่ค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลที่สูงขึ้นมากกว่าวัยอื่นๆ และส่งผลต่อทรัพย์สินของตนเองหรือของครอบครัวด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนหลังเกษียณที่ลดลงเร็วกว่าแผนที่วางไว้ หรือกระทบกับทรัพย์สินของลูกหลานเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของผู้ประสบเหตุภายในครอบครัวอีกด้วย ซึ่งประกันอุบัติเหตุจะเข้ามาเป็นตัวช่วยปกป้องทรัพย์สินบางส่วนที่อาจกระทบจากอุบัติเหตุที่มีโอกาสเกิดสูงขึ้นสำหรับผู้สูงอายุ ทดแทนประกันสุขภาพหรือประกันชีวิตที่ผู้สูงอายุไม่สามารถทำประกันเหล่านั้นได้

โดยประกันอุบัติเหตุทั่วไปจะแบ่งความคุ้มครองออกเป็น 3 ด้าน คือ 1.ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล 2.เงินชดเชยรายได้ และ 3.ความคุ้มครองชีวิต โดยในส่วนของความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากอุบัติเหตุเป็นประโยชน์แก่ผู้สูงอายุที่ต้องการให้ประกันช่วยคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแต่ไม่สามารถได้รับความคุ้มครองจากประกันสุขภาพได้ ความคุ้มครองอีกส่วนหนึ่ง คือการได้รับเงินชดเชยกรณีที่จำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์ ซึ่งตามสถิติแล้วผู้ป่วย IPD ที่เกิดจากอุบัติเหตุจะต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลโดยเฉลี่ย 2 วัน หรือกรณีที่สูญเสียอวัยวะไปจนกระทั่งเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ผู้สูงอายุหรือคนในครอบครัวยังสามารถได้รับเงินสินไหมทดแทนแก่ผู้สูงอายุบางรายที่ไม่สามารถทำประกันชีวิตเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพแต่ยังคงต้องการสร้างหลักประกันสำหรับทรัพย์สินของครอบครัว

นอกจากนี้ แบบประกันอุบัติเหตุสมัยใหม่อาจมีบริการเพิ่มเติมสำหรับการพักฟื้นหลังออกจากโรงพยาบาลเพื่อดูแลผู้ป่วยช่วงพักฟื้นที่บ้าน หรือ Nursing at home ซึ่งประกันอุบัติเหตุโดยทั่วไปอาจไม่มีความคุ้มครองเนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนอกโรงพยาบาล เช่น บริการพยาบาลวิชาชีพเพื่อดูแลผู้ป่วย หรือ บริการทำกายภาพบำบัด เป็นต้น รวมไปถึงค่ารถเข็นผู้ป่วย (Wheelchair) กรณีที่ไม่สามารถลุกเดินได้ ซึ่งอาจช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ราวหลักหมื่นบาท ต่อการเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ 1 ครั้งต่อปีเปรียบเทียบกับค่าเบี้ยประกันเริ่มต้นราว 3,000 บาทเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ประกันอุบัติเหตุอาจมีเงื่อนไขที่ต้องพิจารณาก่อนทำประกัน โดยอาจไม่คุ้มครองหากเป็นอุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ เช่น หกล้มจากการหมดสติเพราะเป็นความดันโลหิตสูง เป็นต้น หรือ การขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ที่ประกันอุบัติเหตุบางแบบจะไม่คุ้มครอง หรือ อาจคุ้มครองเพียงครึ่งหนึ่งของวงเงินกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขเพิ่มเติมที่ระบุไว้ในกรมธรรม์นั้น ๆ

สำหรับผู้สูงอายุที่อาจไม่มีโอกาสทำประกันสุขภาพหรือประกันชีวิตบางแบบเนื่องจากอายุเกินอายุรับประกันของบริษัทประกัน หรือมีปัญหาสุขภาพติดตัวมาก่อน อาจใช้ประกันอุบัติเหตุสำหรับผู้สูงอายุเป็นตัวทดแทนไว้เป็นความคุ้มครองทรัพย์สินของสมาชิกในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุที่มีโอกาสเกิดขึ้นจากสมรรถภาพร่างกายที่เสื่อมถอยเมื่ออายุมากขึ้น และยังเป็นตัวช่วยส่งมอบเงินก้อนให้แก่ทายาทอีกด้วย

บทความโดย ศิวกร ทองหล่อ

CFP® Wealth Manager 

บทความล่าสุด

จับจังหวะความผันผวนระยะสั้น ช่วยเสริมพอร์ตเติบโตระยะยาว

สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางกลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง หลังอิสราเอลและอิหร่านตอบโต้กันด้วยปฏิบัติการทางทหารอย่างรุนแรงที่สุดในรอบหลายปี ส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนหนัก ทั้งราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ราคาทองคำที่แตะระดับสูงสุดใหม่ ภาพลงทุนเข้าสู่โหมดตั้งรับความเสี่ยง (Risk off) หุ้นส่วนใหญ่ถูกเทขายจากความกังวล

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตลงทุน สู้ศึกครึ่งปีหลัง 2025

เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังปี 2025 สถานการณ์การลงทุนทั่วโลกยังคงเผชิญความท้าทายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากความไม่แน่นอนในการเจรจาภาษีนำเข้าของสหรัฐฯกับคู่ค้า รวมถึงสงครามในตะวันออกกลางที่กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง ทำให้การคาดเดาทิศทางเศรษฐกิจและจับจังหวะตลาดเป็นเรื่องที่ยาก

อ่านต่อ >>

เลือกประกันโรคร้ายแรงให้รอดจากค่าใช้จ่ายอัลไซเมอร์ 

เมื่อพูดถึงเหตุผลของการมีประกันโรคร้ายแรงเพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสุขภาพ เรามักจะคิดถึงโรคที่มีผลร้ายแรงแบบเฉียบพลันจนถึงแก่ชีวิต หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, ทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มโรคข้างต้นทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เมื่อปี 2021 พบสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs กว่า 80%

อ่านต่อ >>

จับจังหวะความผันผวนระยะสั้น ช่วยเสริมพอร์ตเติบโตระยะยาว

สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางกลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง หลังอิสราเอลและอิหร่านตอบโต้กันด้วยปฏิบัติการทางทหารอย่างรุนแรงที่สุดในรอบหลายปี ส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนหนัก ทั้งราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ราคาทองคำที่แตะระดับสูงสุดใหม่ ภาพลงทุนเข้าสู่โหมดตั้งรับความเสี่ยง (Risk off) หุ้นส่วนใหญ่ถูกเทขายจากความกังวล

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตลงทุน สู้ศึกครึ่งปีหลัง 2025

เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังปี 2025 สถานการณ์การลงทุนทั่วโลกยังคงเผชิญความท้าทายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากความไม่แน่นอนในการเจรจาภาษีนำเข้าของสหรัฐฯกับคู่ค้า รวมถึงสงครามในตะวันออกกลางที่กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง ทำให้การคาดเดาทิศทางเศรษฐกิจและจับจังหวะตลาดเป็นเรื่องที่ยาก

อ่านต่อ >>

เลือกประกันโรคร้ายแรงให้รอดจากค่าใช้จ่ายอัลไซเมอร์ 

เมื่อพูดถึงเหตุผลของการมีประกันโรคร้ายแรงเพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสุขภาพ เรามักจะคิดถึงโรคที่มีผลร้ายแรงแบบเฉียบพลันจนถึงแก่ชีวิต หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, ทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มโรคข้างต้นทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เมื่อปี 2021 พบสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs กว่า 80%

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า