เทคโนโลยีทางการแพทย์ กับการต่อสู้ “โรคมะเร็ง”

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1646105267446 1

โรคมะเร็งยังคงครองตำแหน่งสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก รองจากโรคหัวใจ โดยในปี 2020 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งถึง 10 ล้านราย เช่นเดียวกับประเทศไทยที่โรคมะเร็งนับเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยในอันดับต้นๆ และพบผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจึงพยายามคิดค้นวิจัยเพื่อหาวิธีต่อสู้กับโรคมะเร็งแต่ละชนิด โดยให้ส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายผู้ป่วยให้น้อยที่สุด ซึ่งนับเป็นงานที่ท้าทายเป็นอย่างมาก

การพยายามเอาชนะโรคมะเร็งของแพทย์และนักวิทยาศาสตร์นั้น ไม่ใช่เพียงการคิดค้นและวิจัยเพื่อหาวิธีรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ แต่ยังรวมถึงการป้องกันหรือลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็ง และการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งด้วย เพราะยิ่งตรวจเจอมะเร็งได้ในระยะเริ่มต้น จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายได้ โดยล่าสุดมีรายงานจากวารสาร Science Translational Medicine ว่า คณะนักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง กำลังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาเครื่องตรวจหามะเร็งปอดด้วย AI (Lung Cancer Artificial Intelligence Detector) โดยเป็นการตรวจหามะเร็งปอดระยะเริ่มต้น โดยคณะนักวิทยาศาสตร์ได้จัดลำดับยีนของเนื้องอกที่เก็บจากผู้ป่วยมะเร็งปอดแล้วได้พบการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของการเผาผลาญไขมันในเซลล์ประเภทต่างๆ จากนั้นทีมนักวิทยาศาสตร์จาก ม.ปักกิ่งกลุ่มนี้จึงได้เลือกไขมัน 9 ประเภท ที่สร้างโดยเซลล์มะเร็งเหล่านี้ ก่อนจะแพร่กระจายในพลาสมาของเลือด แล้วใช้อัลกอริธึมของ Machine Learning สร้างแบบจำลองการตรวจจับเชื้อมะเร็งด้วย AI ซึ่งจากการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างกว่า 1,000 คน พบว่าเครื่องตรวจหามะเร็งปอดด้วย AI นี้ มีความแม่นยำสูงถึง 92% ด้วยเทคโนโลยีนี้ จะทำให้สามารถตรวจคัดกรองประชากรที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดได้ในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การรักษาโรคมะเร็งปอดทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในฝั่งของไทยเอง ล่าสุด มีรายงานความคืบหน้าจาก ”โครงการแพทย์จุฬาฯ พัฒนางานวิจัยภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง”   ถึงผลวิจัยวัคซีนรักษามะเร็งเฉพาะบุคคล ซึ่งเป็นการรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) โดยปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนทดสอบทางคลินิกระยะที่ 1 เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 สำหรับขั้นตอนของการวิจัยวัคซีนนี้เริ่มจากการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อมะเร็งของผู้ป่วยแต่ละรายมาถอดรหัสพันธุกรรม แล้วตรวจหาการกลายพันธุ์ที่พบในชิ้นเนื้อมะเร็ง (Neoantigen) ซึ่งในผู้ป่วยแต่ละรายจะมีการกลายพันธุ์ที่แตกต่างกันกว่า 1,000 แบบ แล้วนำข้อมูลการกลายพันธุ์นั้นมาผลิตเป็นชิ้นส่วนโปรตีนของมะเร็งที่กลายพันธุ์ขนาดเล็ก ซึ่งจะมีเพียงข้อมูลการกลายพันธุ์เท่านั้นไม่สามารถก่อโรคได้ แล้วจึงฉีดวัคซีนที่ได้นี้เข้าไปในร่างกายผู้ป่วยเพื่อไปกระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิด T-Cell ให้รู้จักการกลายพันธุ์ของมะเร็งเฉพาะบุคคลนั้นๆ มากขึ้น ซึ่งการผลิตวัคซีนเฉพาะนี้จะทำให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันที่เหมาะสมกับการกลายพันธุ์นั้นๆ และจะทำให้การรักษาโรคมะเร็งมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจากผลการทดลองในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการทดลองมีผลข้างเคียงเพียงเล็กน้อยคืออาการปวดบริเวณที่ได้รับวัคซีนเท่านั้น ในขณะที่การสร้างภูมิหลังได้รับวัคซีนเป็นที่น่าพอใจ โดยพบว่า หลังได้รับวัคซีน เซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่เป็นเซลล์หลักในการฆ่าเชื้อมะเร็งกระจายตัวเข้าไปในชิ้นเนื้อมะเร็งมากขึ้น ซึ่งหมายความว่าร่างกายตอบสนองต่อวัคซีนและสามารถจัดการกับเชื้อมะเร็งได้ดีขึ้น

หากการวิจัยวัคซีนมะเร็งเฉพาะจุดของทีมนักวิจัยไทยนี้ประสบความสำเร็จ จะช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งได้

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของการพยายามคิดค้นวิจัยของทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์เพื่อเอาชนะโรคมะเร็ง ศัตรูตัวฉกาจของประชากรโลก และคาดว่าด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้นในอนาคต เราจะสามารถเอาชนะโรคมะเร็งได้อย่างแน่นอน

 

 

==========================================================

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Health is wealth ของ กรุงเทพธุรกิจ

บทความล่าสุด

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า