จังหวะเก็บหุ้นเข้าพอร์ตเดือนก.ย. ในภาวะ Healthy correction

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1725870443862

นอกจากนี้ตลาดยังมีความไม่แน่นอนในด้านการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกาที่ต้องติดตาม อย่างไรก็ดีความผันผวนในตลาดหุ้นเดือน ก.ย. มักจะกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้งไปจนถึงสิ้นปี ดังนั้นเดือน ก.ย. ปีนี้อาจเป็นช่วงเวลาการปรับฐานเพื่อไปต่อ หรือ Healthy correction ได้เช่นกันเพราะจะมีปัจจัยสนับสนุนตลาดหุ้นช่วงปลายปี คือ การประชุมธนาคารกลางของ 2 ประเทศหลักได้แก่ สหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งเป็นไปได้ว่าทิศทางของนโยบายน่าจะผ่อนคลายและเป็นผลบวกต่อทั้งเศรษฐกิจและตลาดหุ้นด้วย

 

ภาพที่ 1: ผลตอบแทนเฉลี่ยรายเดือน 25 ปีย้อนหลังตั้งแต่ปีค.ศ. 1988 – 2023

พบว่าตลาดหุ้นส่วนใหญ่เดือน มิ.ย., ส.ค. และ ก.ย. มักจะมีผลตอบแทนต่ำที่สุด 

1725872370732
Source: Bloomberg, TISCO Wealth Advisory

เริ่มจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) กำหนดวันประชุมลงมตินโยบายการเงินวันที่ 12 ก.ย. นี้ จากแบบสำรวจเหล่านักวิเคราะห์ที่จัดทำโดย ECB คาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ยนโยบาย (Main Refinancing Operations) ครั้งที่สองอีก 0.25% เป็น 4% และจะมีการลดอีกครั้งในช่วงเดือน ธ.ค. เพราะข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุดบ่งชี้ว่า ECB ยังสามารถลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้โดยไม่มีความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะกลับมาเร่งตัวขึ้น โดยเงินเฟ้อ CPI เบื้องต้นเดือน ส.ค. ชะลอลงแรงจาก 2.6% YoY เป็น 2.2% YoY แม้จะมีการลดดอกเบี้ยมาแล้ว 1 ครั้งเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา 

ตามมาด้วยการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่จะเป็นไฮไลท์ของการลงทุนเดือนนี้ เพราะตลาดคาดว่าจะเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปีที่จะกลับมาลดอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 0.25% หลังจากคุณ Jerome Powell ประธาน Fed กล่าวในงานสัมมนา Jackson Hole ว่าถึงเวลาในการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินแล้วเนื่องจากตลาดแรงงานที่เริ่มอ่อนตัวจากอัตราว่างงานที่เริ่มเพิ่มขึ้นซึ่งทำให้ไม่มีแรงกดดันต่อเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นหลังจากนี้ อย่างไรก็ดีแม้ว่าก่อนหน้านี้นักลงทุนในตลาดหุ้นจะกังวลถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยเนื่องจากอัตราว่างงานสูงขึ้นจนเข้ากฎ Sahm rule แต่หากพิจารณาข้อมูลอื่นๆ ที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับตลาดแรงงาน เช่น การจ้างงานนอกภาคเกษตร หรือ จำนวนการขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ยังแข็งแกร่งกว่าค่าเฉลี่ยก่อนที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยในอดีต ขณะเดียวกัน Claudia Sahm ผู้คิดค้นกฎ Sahm ยังมีความเห็นว่าอัตราว่างงานในปัจจุบันคนละบริบทกับในอดีตเนื่องจากมีแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบมากขึ้นและอาจทำให้ Sahm Rule คลาดเคลื่อนได้ ส่วนในด้านเงินเฟ้อเป้าหมายของ Fed หรือ Core PCE เดือน ก.ค. ทรงตัวจากเดือนก่อนที่ +2.6% YoY ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้เป็นครั้งแรกในปีนี้และชะลอลงมาตลอดตั้งแต่ต้นปีเข้าใกล้กับเป้าหมายของ Fed มากขึ้น ดังนั้นตลาดหุ้นในภาพรวมยังมีความเสี่ยงการลงทุนจากเศรษฐกิจถดถอยไม่มากนัก 

โดยช่วงเวลาที่ดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มลดลงจะช่วยให้ผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้นโดดเด่น เพราะส่วนต่างของผลตอบแทนระหว่างหุ้นและตราสารหนี้จะสูงขึ้นและจูงใจนักลงทุนที่กำลังแสวงผลตอบแทนที่สูงสุดภายใต้ความเสี่ยงที่ตนเองรับได้เพิ่มการลงทุนหุ้นมากขึ้น โดย 6 เดือนหลังจากที่ Fed ลดดอกเบี้ยและไม่เกิดเศรษฐกิจถดถอยหรือปี 1989, 1995, 1998 และ 2019 ผลตอบแทนของตลาดหุ้นโลก MSCI ACWI World เฉลี่ยผลตอบแทน 10.4% นอกจากนี้การลดดอกเบี้ยของ Fed อาจทำให้ค่าเงินดอลล่าร์อ่อนลงและจูงใจให้นักลงทุนต้องแสวงหาโอกาสการลงทุนนอกประเทศที่อาจมีผลตอบแทนสูงกว่าทั้งการเติบโตของบริษัทจดทะเบียน และกำไรจากค่าเงินต่างประเทศที่จะแข็งค่ากว่าดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยเปรียบเทียบ ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันหลังจากที่ Fed ลดดอกเบี้ย 6 เดือน ผลตอบแทนของตลาดหุ้นฝั่งเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นสามารถสร้างผลตอบแทนได้เฉลี่ยถึง 14.4% 

ดังนั้นนักลงทุนอาจใช้ช่วงเวลาจากความเคลื่อนไหวของตลาดตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย. ที่อ่อนตัวลงจากความระมัดระวังการลงทุนในเดือนนี้ การลดดอกเบี้ยจาก Fed และ ECB อาจเป็นจุดเปลี่ยนให้สภาวะการลงทุนหุ้นกลับมาดีขึ้น ทยอยสะสมหุ้นเมื่อตลาดปรับฐานเพราะได้ประโยชน์จากการลดดอกเบี้ย และเพิ่มน้ำหนักลงทุนในหุ้นเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นเพราะมี Valuation ที่เหมาะสมและได้ประโยชน์จากแนวโน้มอ่อนค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ภายหลังจากการลดดอกเบี้ยด้วย 

 

บทความโดย ศิวกร ทองหล่อ

CFP® Wealth Manager

บทความล่าสุด

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า