How to ซื้อประกันให้เหมาะกับวัย ได้ทั้งความคุ้มครอง แถมประหยัดภาษี

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1701682778159 1

ผู้คนในแต่ละช่วงวัย มีไลฟ์สไตล์และกิจกรรมที่อาจจะแตกต่างกัน ดังนั้นความเสี่ยงที่ต้องเจอก็มักแตกต่างกันด้วย การเตรียมรับมือกับสิ่งที่ไม่คาดคิดในอนาคตด้วยการทำประกัน จึงถือเป็นการลดความเสี่ยงทางการเงิน ทั้งยังได้ประโยชน์จากการประหยัดภาษีอีกด้วย ซึ่งประกันที่เหมาะกับแต่ละช่วงวัยจะมีดังนี้

1. วัยเริ่มทำงาน (โสด 22-30 ปี) 

เป็นวัยที่อยากรู้ อยากลอง มีกิจกรรมให้ทำมากมาย ประกันที่วัยนี้ควรมีคือ

  • ประกันอุบัติเหตุ
    เนื่องจากเป็นวัยที่ชอบทำกิจกรรม ทั้งเล่นกีฬา เดินทาง ท่องเที่ยว ปีนเขา เป็นต้น จึงค่อนข้างเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุสูง

  • ประกันสุขภาพ
    เป็นประกันที่ควรซื้อไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เนื่องจากหากมีประวัติเจ็บป่วยมาก่อนการตัดสินใจซื้อประกัน อาจไม่สามารถซื้อประกันได้ หรือหากซื้อได้ ก็อาจไม่คุ้มครองโรคที่ตรวจพบมาก่อนการทำประกัน โดยอาจซื้อแบบมีความรับผิดชอบส่วนแรก (Deductible) เพราะหากเราทำงานออฟฟิศ เราอาจจะมีประกันสังคม หรือมีสวัสดิการที่บริษัทให้ความคุ้มครองอยู่แล้ว

  • ประกันโรคร้ายแรง
    ปัจจุบันโรคร้ายแรงเริ่มพบบ่อยมากขึ้นในคนที่อายุน้อย และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ซึ่งในวัยนี้อาจมีเงินเก็บไม่มากพอ จึงต้องมีเงินที่จะเป็นเงินก้อนมาช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าว โดยเบี้ยประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรงที่จ่าย ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตแล้วไม่เกิน 100,000 บาทอีกด้วย

  • ประกันชดเชยรายได้ 
    จะช่วยชดเชยรายได้ที่เสียไปในขณะที่ทำการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเสาหลักของครอบครัว

2. วัยกลางคน/สมรส (30-45 ปี)

อาจเป็นวัยที่เริ่มแต่งงาน สร้างครอบครัว อาจมีบุตรหรือไม่มีบุตร และมีภาระหนี้สิน ทำให้วัยนี้เป็นช่วงวัยที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำประกัน โดยนอกเหนือจากการปิดความเสี่ยงในช่วงวัยเริ่มทำงานแล้ว ประกันที่ควรมีสำหรับวัยนี้คือ

  • ประกันสะสมทรัพย์
    เพื่อสร้างวินัยในการออมที่ดี และสามารถนำเบี้ยที่จ่ายไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

  • ประกันมรดก
    เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่อาจมีหนี้สินทางการเงินมากที่สุด และมีคนข้างหลังที่ต้องดูแล เพื่อวางแผนส่งมอบมรดกให้ลูกหลาน สำหรับเป็นค่าการศึกษาบุตร เป็นต้น อีกทั้ง เบี้ยประกันที่จ่ายยังได้รับการลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทด้วย

3. วัยใกล้เกษียณ (45-60 ปี)

เป็นวัยที่ต้องวางแผนเพื่อให้มีเงินเพียงพอสำหรับใช้จ่ายยามเกษียณอายุ นอกเหนือจากการปิดความเสี่ยงในช่วงวัยกลางคนแล้ว ประกันที่ควรมีสำหรับวัยนี้คือ

  • ประกันบำนาญ
    เปรียบเสมือนเป็นแหล่งเงินได้ยามเกษียณ โดยยิ่งเริ่มต้นวางแผนเพื่อการเกษียณเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพื่อให้มีเงินไว้ใช้จ่ายในวันที่เราไม่ได้ทำงานแล้ว ซึ่งควรเลือกแบบประกันที่มีผลประโยชน์ในขณะดำรงชีวิต (Living Benefits) หรือประกันที่คุ้มครองในขณะที่คุณยังมีชีวิตอยู่ในจำนวนที่สูง เช่น แบบเงินรับบำนาญทุกปี ปีละ 24%/ 36% ของจำนวนเงินเอาประกัน เพื่อให้มีเงินเพียงพอในการใช้จ่ายหลังเกษียณ อีกทั้งยังสามารถนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาทด้วย


4. วัยเกษียณ (60 ปีขึ้นไป)

เป็นช่วงชีวิตที่เราได้หยุดพักจากการทำงาน ได้ใช้ชีวิตอยู่กับลูกหลานหรือคนที่รักอย่างเต็มที่ แม้จะไม่ได้ทำงานแล้ว แต่อาจมีเงินก้อนใหญ่ที่เก็บออมมาตลอดการทำงานไว้ใช้ยามเกษียณ

สำหรับวัยนี้ ควรเป็นวัยที่ทำประกันสุขภาพมาก่อนหน้านี้แล้ว เนื่องจากอายุที่มากขึ้น อาจมีโรคประจำตัวที่ทำให้ไม่สามารถทำประกันสุขภาพได้ แต่หากทำได้ก็อาจไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนการทำประกัน แต่ถ้าทำประกันสุขภาพไม่ทัน ก็อาจจะมีทางเลือกเช่น การทำประกันอุบัติเหตุสำหรับผู้สูงอายุที่คุ้มครองทั้งชีวิต ค่ารักษาพยาบาล และชดเชยรายได้ เพราะโอกาสที่ผู้สูงอายุจะประสบอุบัติเหตุ เช่น ลื่น หกล้มมีสูง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ในกลุ่มของการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ จากข้อมูลของกรมควบคุมโรคในปี 2021 พบว่า มีผู้สูงอายุที่เสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มมากกว่า 1,000 รายต่อปี รวมถึงสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอลงไม่สมบูรณ์เหมือนตอนหนุ่มสาว การทำประกันอุบัติเหตุสำหรับผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญ

จะเห็นได้ว่า การซื้อประกันมีความจำเป็นมาก เพราะแม้ว่าเราจะเจ็บป่วยหนักหรือเบา ก็ยังมีประกันช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังช่วยบรรเทาภาระทางภาษีที่จะต้องเสียด้วย แต่ทั้งนี้ก็ควรพิจารณาเลือกซื้อแบบแผนและความคุ้มครองให้เหมาะสมกับงบประมาณที่เรามี รวมถึงตรงกับไลฟ์สไตล์และความต้องการในแต่ละช่วงวัยด้วย

หากท่านใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตนเอง สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ [email protected]  I

บทความโดย วิภาดา ศุภกุลวณิชย์ AFPT™

Assistant Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

เผยแพร่ครั้งแรกที่เว็บไซต์ SET Investnow

บทความล่าสุด

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า