รู้หรือไม่? ติดโควิด อาจมีผลต่อการทำประกันสุขภาพ !!!

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1619604068604 1

ในช่วงที่ผ่านมา “ประกันภัยโควิด-19” ถูกพูดถึงอย่างมาก …ประชาชนต่างให้ความสนใจทั้งในรูปแบบที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล แบบตรวจเจอโรคครั้งแรกรับเงิน (เจอจ่ายจบ) แถมพอบริษัทประกันหลายแห่ง เพิ่ม Option เสริมในกรมธรรม์ด้วย เช่น ชดเชยค่ารักษารายวัน ชดเชยกรณีโคม่า หรือกระทั่งคุ้มครองไปถึงการแพ้วัคซีน ฯลฯ ก็ยิ่งกระตุ้นให้ประกันภัยโควิดเกิดความน่าสนใจยิ่งขึ้น

ดังนั้น เมื่อโควิดกลับมาระบาดอีกระลอก คนไทยจึงไม่ต้องใช้เวลาตัดสินใจนานเลย สำหรับการซื้อประกันภัยชนิดนี้ เห็นได้จาก ข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ที่ระบุว่าประชาชน สนใจทำประกันภัยโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง จนมีจำนวนกรมธรรม์ประกันภัยชนิดนี้ รวมประมาณ 10.66 ล้านฉบับ หรือคิดเป็นจำนวนเบี้ยรวมประมาณ 4.95 พันล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564)

นับเป็นกระแสที่ดีมาก ที่ประชาชนให้ความสนใจ… แต่! ในความเป็นจริงแล้ว การทำแค่ประกันภัยโควิด อาจจะยังไม่พอ! สาเหตุเป็นเพราะอะไร ?

ระวังติดโควิด อาจหมดสิทธิ์ทำประกันสุขภาพ

“คุณณัฐกฤติ เหล่าทวีทรัพย์” ผู้อำนวยการอาวุโสที่ปรึกษาการลงทุนทิสโก้เวลธ์ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) อธิบายว่า ถ้าร่างกายของคุณแข็งแรงดี ยังไม่ติดเชื้อโควิดก็สามารถทำประกันสุขภาพได้ตามปกติ แต่เมื่อไหร่ก็ตาม ถ้าติดเชื้อโควิดและผ่านขั้นตอนการรักษาจนหายแล้ว ก็อาจจะมีผลต่อการทำประกันสุขภาพได้

โดยการพิจารณา จะขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัทประกัน ซึ่งก็อาจจะมีบริษัทที่ไม่รับประกัน หรือรับประกันแต่มีข้อยกเว้นความคุ้มครอง

เพราะการแถลงเกี่ยวกับประวัติสุขภาพที่เคยเป็นมาก่อนการทำประกัน หากทางบริษัทประกันพบว่า ผู้ทำประกันเคยเป็นป่วยด้วยโควิด-19 ก็อาจมีเงื่อนไขที่ไม่คุ้มครองเรื่องเกี่ยวกับ “โรคระบบทางเดินหายใจ” ทั้งหมดที่อาจจะมีผลต่อเนื่องจากการติดเชื้อในอนาคตได้

“อธิบายง่ายๆ ก็คือ โรคอะไรก็ตาม ที่เราเป็นมาก่อนที่จะทำประกันสุขภาพ บริษัทประกันบางแห่งก็จะมีเงื่อนไขข้อยกเว้นคุ้มครองโรคนั้นๆ ซึ่งในส่วนของโควิด-19 นับว่าเป็นโรคปอด หรือ ก็คือ โรคระบบทางเดินหายใจนั่นเอง ดังนั้น ถ้าบริษัทฯ ไหนรับประกัน ก็อาจจะมีข้อยกเว้นความคุ้มครองเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจเข้ามา หรือ บางบริษัท อาจจะไม่รับประกันเลยก็ได้”

ควรทำประกันสุขภาพ หรือ ประกันโควิดก่อน?

ประเด็นนี้ตอบได้เลยว่า “ควรทำประกันสุขภาพก่อน” เพราะในชีวิตจริง เราไม่ได้เจอแค่เชื้อโควิดเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะเจอโรคร้ายแรงอื่นๆ ในอนาคตด้วย เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น

และที่สำคัญประกันสุขภาพเอง นอกจากจะคุ้มครองในด้านค่าใช่จ่ายโรคร้ายแรงต่างๆ แล้ว ยังครอบคลุมไปถึงค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลจากการติดเชื้อโควิด-19 ด้วย

“ความจริงแล้ว ในเรื่องของการรักษาโรคโควิด-19 ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ก็ให้สิทธิ์ในการรักษาผู้ติดเชื้อโควิดโดยไม่มีค่าใช้จ่ายทั้งการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนอยู่แล้ว ซึ่งถ้าเราอยากได้ความอุ่นใจเผื่อในกรณีที่อาจเป็นโรคอื่นด้วย การซื้อประกันสุขภาพก็ตอบโจทย์ที่ครอบคลุมการรักษาโรคโควิด-19และโรคอื่นเช่นเดียวกัน”

จำเป็นต้องซื้อประกันภัยโควิด-19 หรือเปล่า ?

แน่นอนว่า ประกันสุขภาพ เป็นสิ่งที่ควรมี แต่ก็ต้องยอมรับว่า ประกันภัยโควิด-19 ยังคงมีความจำเป็น โดยเฉพาะประกันภัยโควิดแบบเจอจ่ายจบ เพราะการติดเชื้อชนิดนี้ หากต้องกักตัวรักษาเป็นเวลานาน อาจจะทำให้ไม่สามารถออกไปทำงานหารายได้มาจุนเจือครอบครัวได้

ดังนั้น ประกันภัยโควิด ที่ให้ความคุ้มครองแบบ เจอจ่ายจบ ก็จะช่วยให้มีเงินก้อน มาจุนเจือครอบครัว หรือ ใช้ดูแลตัวเอง ได้ดีขึ้น เพียงแต่!!! ต้องอย่าลืมว่าประกันชนิดนี้ส่วนใหญ่จะคุ้มครอง “ผู้ที่ป่วยด้วยโรคโควิดครั้งแรก” เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า คุณจะไม่สามารถทำเป็นครั้งที่สองได้อีกนั่นเอง

สรุปก็คือ ถ้าทำประกันสุขภาพ คุณมีโอกาสจะได้ความคุ้มครองในระยะยาวกว่า เมื่อเทียบกับการทำประกันภัยโควิดแบบเจอจ่ายจบ ที่อาจจะได้รับเงินก้อนเพียงครั้งแรกครั้งเดียว … และที่สำคัญต้องรู้ไว้เลยว่า ถ้ายังไม่ได้ทำประกันสุขภาพเอาไว้ก่อน ที่จะป่วยเป็นโควิด … ก็อาจหมดสิทธิ์จะทำประกันสุขภาพไปเลยก็เป็นได้

  • สนใจรับบริการ “ให้คำแนะนำด้านประกันสุขภาพ” ปรึกษาได้ที่ ธนาคารทิสโก้ ทุกสาขา
  • เปรียบเทียบประกันสุขภาพ และประกันโรคร้ายแรงของบริษัทประกันต่างๆ ได้อย่างหลากหลายยิ่งขึ้น
  • ให้คำแนะนำในการเลือกประกันสุขภาพ ที่ตอบโจทย์คุณโดยเฉพาะ หรือ ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ คลิก >> https://bit.ly/35KeZ9n
บทความล่าสุด

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า