Genomic Revolution: Opportunities of Futures

file

รู้หรือไม่? ร่างกายของมนุษย์แต่ละรายนั้นมีรหัสทางพันธุกรรมกว่า 99.9% ที่เหมือนกัน ซึ่งความแตกต่างกันเพียงไม่ถึง 0.1% นี้ ทำให้แต่ละคนมีรูปร่าง สีผิว สีผม และลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน ยิ่งไปกว่านั้นความแตกต่างทางพันธุกรรมนี้เอง ทำให้คนบางคนมีความเสี่ยงด้านสุขภาพหรือการเกิดโรคได้มากกว่าคนอื่นที่เรียกกันว่า “โรคทางพันธุกรรม” อาทิ โรคเบาหวาน โรคมะเร็งบางประเภท โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น

อีกทั้งยังเป็นบ่อเกิดของโรคอื่นๆ อีกมากมายในปัจจุบัน ส่งผลให้ในหลายปีที่ผ่านมามีการศึกษาและวิจัยนวัตกรรมด้านพันธุกรรมมนุษย์อย่างแพร่หลายหรือที่เรียกว่า “Genomic” ซึ่งทำให้การรักษาพยาบาลถูกออกแบบให้เหมาะสมในแต่ละบุคคลได้ (Precision Medicine) และไม่ใช่เฉพาะในต่างประเทศเท่านั้น ในประเทศไทยก็ได้บรรจุการแพทย์ Genomic เข้าในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 หรือที่เรารู้จักในชื่อ “Thailand 4.0”

DNA Sequencing ก้าวสำคัญของการศึกษาพันธุกรรมมนุษย์

ก้าวสำคัญของการศึกษาด้านพันธุกรรมมนุษย์เกิดขึ้นจาก Human Genome Project ในปี ค.ศ. 2003 ซึ่งสามารถทำการเรียงลำดับพันธุกรรมของมนุษย์ หรือ DNA Sequencing ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก แต่ต้องใช้เวลามากถึง 13 ปี และเงินลงทุนกว่า 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งการทำ DNA Sequencing จะช่วยในการวินิจฉัยว่ายีนของผู้ตรวจเกิดความผิดปกติหรือกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งใด รวมถึงใช้ในการทำนายโรคก่อนเกิดอาการ (Pre-symptomatic Testing) แต่ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์  

ทำให้ในปัจจุบันการจัดลำดับทางพันธุกรรมถูกล่นระยะเวลาเหลือเพียงไม่กี่สัปดาห์ และค่าใช้จ่ายถูกลงอย่างมากเพียงไม่กี่พันบาทเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ประชาชนจำนวนมากสามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างของการทำ DNA Sequencing ที่โด่งดังไปทั่วโลกเกิดขึ้นในปี 2013 คือ กรณีของ Angelina Jolie นักแสดง Hollywood ชาวอเมริกันที่คุณแม่ของเธอมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ ทำให้เธอเลือกที่จะไปตรวจพันธุกรรมเพื่อหาความเสี่ยงที่จะเป็นโรคโดยในขณะนั้นเธอยังมีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติ และจากการตรวจพบว่าเธอมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่สูงถึง 87% และ 50% ตามลำดับ  

ในขณะที่คนทั่วไปมีความเสี่ยงในโรคดังกล่าวเพียง 12% และ 1% เท่านั้น ทำให้เธอสามารถรับการรักษาหรือป้องกันได้ทันก่อนที่จะป่วย และด้วยเหตุการณ์นี้เป็นเสมือนกระบอกเสียงให้กับวงการการแพทย์ด้านพันธุกรรมอย่างแท้จริงที่บอกถึงความสำคัญของการตรวจระดับพันธุกรรม ซึ่งผู้บริหารการลงทุนอย่าง ARK Asset Management คาดว่าการตรวจวินิจฉัยด้วยนวัตกรรม DNA Sequencing ที่มีราคาถูกลงในปัจจุบันจะมีจำนวนผู้เข้ารับการตรวจเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเป็น 100 ล้าน Genomes ในปี 2024 จากเพียง 2.6 ล้าน Genomes ในปี 2019 

นวัตกรรม Genome Editing แก้ไขยีนเป้าหมายอย่างแม่นยำ

หลักจากเราตรวจพบความผิดปกติของพันธุกรรมจากวิธี DNA Sequencing แล้ว เทคโนโลยี Genome Editing จะเข้ามามีส่วนช่วยในการแก้ไขยีนเป้าหมายอย่างแม่นยำ ซึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมคือเทคนิค CRISPR/Cas9 (CRISPR คือ Clustered Regularly Interspersed Short Palindromic Repeats และ Cas9 คือ CRISPR-Associated Protein 9) ซึ่งวิธีดังกล่าวได้รับรางวัลโนเบลสาขา Chemistry ในปี 2020 โดยวิธี CRISPR/Cas9 มีราคาที่ถูกกว่า ตลอดจนมีความถูกต้องและประสิทธิภาพมากกว่าวิธีอื่นๆ นักวิทยาศาสตร์มีการนำวิธี CRISPR/Cas9 มาใช้กับยุงก้นปล่องซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมาเลเลีย โดยทำให้ยุงตัวเมียไม่สามารถวางไข่ได้ ตลอดจนความพยายามในการป้องกันโรคทางพันธุกรรม อาทิ โรคเบาหวานและโรคมะเร็งในมนุษย์

นอกจากเทคโนโลยี DNA Sequencing และการแก้ไขยีนด้วยวิธี CRISPR/CAS9 ยังมีนวัตกรรมการรักษาสมัยใหม่มากมาย เพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้น หรือที่เรียกว่า Living Therapies / Living Drugs ซึ่งสามารถเอาไปใช้รักษาโรคผิดปกติร้ายแรงต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immune Cell Therapy) การรักษามะเร็งแบบพุ่งเป้า (Targeted Therapeutics) และ การใช้เซลล์ตั้งต้นในการรักษา (Stem Cell) เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าความก้าวหน้าของนวัตกรรมการรักษาในระดับพันธุกรรม หรือที่เรียกว่า Genomic Revolution จะเข้ามามีบทบาทในการรักษาผู้ป่วย อีกทั้งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ รวมถึงผู้ป่วยยังสามารถได้รับการรักษาอย่างตรงจุดโดยเฉพาะในแต่ละบุคคล 

แต่การลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวมีความซับซ้อน และมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว การพึ่งพาผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์ด้านนี้และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์อย่าง ARK Asset Management ก็ช่วยทุ่นแรงให้กับนักลงทุนไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้จัดการกองทุนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากกว่านักลงทุนไทย ซึ่งทำให้คาดหวังได้ว่าการลงทุนในธีม Genomic เป็นการลงทุนแห่งอนาคตและจะสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้อย่างงดงาม 

 

====================================

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่ I Wish You Wealth  โพสต์ทูเดย์

บทความล่าสุด

ปรับพอร์ตสร้างกำไร ขายหุ้นสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น เบนเข็มลงทุน “หุ้น Asia ex Japan”

โพสต์เมื่อ 13 เมษายน 2567

ในปี 2024 เศรษฐกิจโลกภาพรวมเติบโตดีกว่าคาด โดยภูมิภาคที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดคือ ภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่จะเติบโตได้ดีในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว และยังเป็นปีแห่งโอกาส

อ่านต่อ >>

จับจังหวะทำกำไร กับขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้น Asia

โพสต์เมื่อ 13 เมษายน 2567

ตลาดหุ้นเอเชีย (Asia ex Japan) ถือเป็นตลาดหุ้นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงไม่แพ้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) โดยเฉพาะในฝั่งของภาคการผลิตที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรมการผลิตของโลก

อ่านต่อ >>

Asia ex Japan หุ้นไม่แพง โตแรงแซงเศรษฐกิจโลก

โพสต์เมื่อ 13 เมษายน 2567

ท่ามกลางตลาดหุ้นหลักของโลก เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้น New High ต่อเนื่องจนมูลค่าเริ่มตึงตัว แต่หุ้นกลุ่มประเทศเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น ยังมีมูลค่าการซื้อขายยังอยู่ในระดับต่ำ และสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

อ่านต่อ >>