วัคซีนโควิดสูตรคนไทย … อีกก้าวสำคัญด้าน Biotech

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1624609310495 1

เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวว่าประเทศไทย สามารถคิดค้นวัคซีน COVID-19 ซึ่งได้มีการทดสอบทางคลินิกระยะที่ 1 ให้กับอาสาสมัคร เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว …แน่นอนว่า นี่คืออีกก้าวสำคัญของประเทศไทยด้านนวัตกรรมการแพทย์ และยังถือเป็นจุดสำคัญที่เราอยากจะเน้นย้ำกับคุณว่า ถึงเวลาที่ต้องลงลึกกับธุรกิจ Biotechnology แล้ว

สำหรับคนที่ยังไม่รู้จัก “ไบโอเทคโนโลยี” (Biotechnology) หรือ เทคโนโลยีชีวภาพ มาก่อน ก็ขอสรุปให้ฟังกันสั้นๆ ก่อนว่า “ไบโอเทคโนโลยี”  ก็คือเทคโนโลยี ที่นำเอาความรู้ในด้านต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิต ชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต และผลผลิตของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ ทั้งในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านการแพทย์ ฯลฯ

และในยุคที่ไวรัส COVID-19 แพร่ระบาดนี้ “ไบโอเทคโนโลยี” ก็มีบทบาทอย่างมากในด้านการแพทย์ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ซึ่งกำลังพัฒนาวัคซีนขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับไวรัส

ChulaCov19 วัคซีนโควิดสูตรคนไทย

การพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 ที่ว่านี้ได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เช่น สถาบันวัคซีนแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทุนศตวรรษที่สอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเงินบริจาคจากสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ กองทุนบริจาควิจัยวัคซีน สภากาชาดไทย

 โดยวัคซีน ChulaCov19 เป็นการคิดค้นออกแบบและพัฒนาโดยคนไทยจากความร่วมมือสนับสนุนโดยแพทย์นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้นเทคโนโลยีนี้ของโลกคือ Prof. Drew Weissman มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย วัคซีน ChulaCov19 ผลิตโดยสร้างชิ้นส่วนขนาดจิ๋วจากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา (โดยไม่มีการใช้ตัวเชื้อแต่อย่างใด)

ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมขนาดจิ๋วนี้เข้าไป จะทำการสร้างเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนปุ่มหนามของไวรัสขึ้น (Spike Protein) และกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันไว้เตรียมต่อสู้กับไวรัสเมื่อไปสัมผัสเชื้อ เมื่อวัคซีนชนิด mRNA ทำหน้าที่ให้ร่างกายสร้างโปรตีนเรียบร้อยแล้ว ภายในไม่กี่วัน mRNA นี้จะถูกสลายไปโดยไม่มีการสะสมในร่างกายแต่อย่างใด

โดยที่ผ่านมาทางศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการทดลองในลิง และหนู ได้ประสบผลสำเร็จ พบว่า สามารถช่วยยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่กระแสเลือดและสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง จึงนำมาสู่การผลิต และทดสอบทางคลินิกระยะที่ 1 ให้กับอาสาสมัครในวันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน 2564 เป็นวันแรก

ในประเทศไทย พัฒนามาถึงจุดนี้แล้ว อยากรู้ไหมว่าแนวโน้มการเติบโตในระดับโลกเป็นอย่างไรบ้าง ???

ส่องธุรกิจ Biotechnology - ยากำเนิดใหม่ของโลก

Biotechnology เป็นธุรกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยจะเห็นได้จากมูลค่าตลาด (Market Size) ทั่วโลก ในปี 2015  ซึ่งอยู่ที่ 330.3 Billion จนมาถึงในปี 2020 Market Size ของ Biotechnology ทั่วโลก ขยับตัวมาอยู่ที่ 752.88 Billion โดยคาดว่าจะเติบโต 15.83% CAGR ตั้งแต่ปี 2021-2028

ทั้งนี้การเติบโตในอุตสาหกรรมดังกล่าว ส่วนหนึ่งมาจากการวิจัยพัฒนาและผลิตตัวยาใหม่ๆ ที่ได้สร้างความหวังให้กับการรักษาโรคต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น จนสะท้อนไปยังมูลค่าของบริษัทในที่สุด โดยยกตัวอย่างยา ที่น่าสนใจคือ

ยา Aducanumab : ใช้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ผลิตโดย บริษัท Biogen พึ่งได้รับการอนุมัติจาก FDA เมื่อวัน วันที่ 7 มิ.ย. 2021 ซึ่งถือเป็น ยารักษาโรคอัลไซเมอร์ ชนิดใหม่ล่าสุดของโลก หลังจากไม่มีการอนุมัติยาใหม่ๆ ในการรักษาโรคนี้มานานเกือบ 20 ปี

วัคซีนป้องกัน COVID-19 แบบเม็ด : ที่กำลังทำการวิจัยและทดลองอยู่ในปัจจุบัน โดย บริษัท Vaxart Biotechnology ซึ่งทาง บริษัท Vaxart ตั้งใจที่จะให้บริโภควัคซีนป้องกัน COVID-19 ปีละ 1 เม็ดเปรียบเสมือนการทานวิตามินขนาดทั่วไปแทนการฉีดวัคซีน แต่ยาดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองและจะเข้าสู่เฟส 2 ในฤดูร้อนปีนี้ นอกจากนี้ทางบริษัทยังหวังว่าจะได้รับการใช้วัคซีนชนิดเม็ดนี้แบบฉุกเฉินภายใน 1 ปี อีกด้วย

ไม่เพียงเท่านี้ เชื่อว่าธุรกิจ Biotechnology จะเติบโตอย่างเร็วจากเทคโนโลยี ที่พัฒนาล้ำสมัยมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการวิจัยและพัฒนา รวมถึงลดการผิดพลาดได้ด้วย อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนของการรักษาให้ถูกลง นำไปสู่การเข้าถึงของคนจำนวนมากได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผนวกกับการสนับสนุนจากทางภาครัฐ ในด้านการวิจัยและผลิตยาที่รักษาโรคหายากและโรคร้ายแรงที่อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของหลายประเทศ รวมถึงการควบรวมกิจการ (M&A) ที่จะมีมากขึ้นในอนาคต ก็จะยิ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมให้กับ Biotechnology ในอนาคตให้ยิ่งขยายตัวได้อย่างโดดเด่นขึ้น

หากคุณสนใจกองทุนรวม ที่มีนโยบายการลงทุนในแบบที่เราแนะนำ สามารถกรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับได้ที่ >> https://www.tisco.co.th/th/wealth/oa.html

============================

 

บทความโดย : นรุตม์ สีแสงสุวรรณชัย CFP® ธนาคารทิสโก้

 

============================

 
บทความล่าสุด

ล็อก Yield ดี หนีความผันผวน เข้า Global Bond

นับตั้งแต่ต้นปี 2025 จนถึงปัจจุบัน ตลาดการเงินต้องเผชิญกับความผันผวนที่อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง อันเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯที่รุนแรงกว่าที่ตลาดคาด รวมถึงมาตรการตอบโต้ทางภาษีจากบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นส่วนใหญ่เผชิญแรงเทขายอย่างรุนแรงและให้ผลตอบแทนติดลบ

อ่านต่อ >>

กางสถิติหุ้นสหรัฐฯ บ่งชี้เข้าใกล้จุดซื้อลงทุน

หลังโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศวันปลอดปล่อย (Liberation day) เมื่อวันที่ 2 เม.ย. เปรียบเสมือนประกาศทำสงครามการค้าอย่างเป็นทางการด้วยการคิดอัตราภาษีตอบโต้การค้า (Reciprocal tariff) กับทุกประเทศทั่วโลก 10% ถึง 145% ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับลดลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ 3 วันลดลงแรง -10.73% ซึ่งเป็นการปรับลดลงมากที่สุดอันดับ 11 นับตั้งแต่เก็บสถิติช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

อ่านต่อ >>

ยิ่งผันผวน ยิ่งต้องวางแผน : กองทุนตราสารหนี้แบบไหนควรมีติดพอร์ตในปี 2025

ผ่านช่วง 4 เดือนแรกของการลงทุน เห็นได้ว่าปี 2025 จะเป็นอีกปีที่ตลาดการเงินมีความผันผวนสูงขึ้นจากนโยบายการค้าที่ไม่แน่นอนของประเทศสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีการผ่อนคลายหรือเลื่อนนโยบายแต่ก็ยังคาดเดาได้ยาก ส่งผลให้หลายบริษัทเริ่มชะลอการลงทุน และเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าที่คาด

อ่านต่อ >>

ล็อก Yield ดี หนีความผันผวน เข้า Global Bond

นับตั้งแต่ต้นปี 2025 จนถึงปัจจุบัน ตลาดการเงินต้องเผชิญกับความผันผวนที่อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง อันเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯที่รุนแรงกว่าที่ตลาดคาด รวมถึงมาตรการตอบโต้ทางภาษีจากบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นส่วนใหญ่เผชิญแรงเทขายอย่างรุนแรงและให้ผลตอบแทนติดลบ

อ่านต่อ >>

กางสถิติหุ้นสหรัฐฯ บ่งชี้เข้าใกล้จุดซื้อลงทุน

หลังโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศวันปลอดปล่อย (Liberation day) เมื่อวันที่ 2 เม.ย. เปรียบเสมือนประกาศทำสงครามการค้าอย่างเป็นทางการด้วยการคิดอัตราภาษีตอบโต้การค้า (Reciprocal tariff) กับทุกประเทศทั่วโลก 10% ถึง 145% ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับลดลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ 3 วันลดลงแรง -10.73% ซึ่งเป็นการปรับลดลงมากที่สุดอันดับ 11 นับตั้งแต่เก็บสถิติช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

อ่านต่อ >>

ยิ่งผันผวน ยิ่งต้องวางแผน : กองทุนตราสารหนี้แบบไหนควรมีติดพอร์ตในปี 2025

ผ่านช่วง 4 เดือนแรกของการลงทุน เห็นได้ว่าปี 2025 จะเป็นอีกปีที่ตลาดการเงินมีความผันผวนสูงขึ้นจากนโยบายการค้าที่ไม่แน่นอนของประเทศสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีการผ่อนคลายหรือเลื่อนนโยบายแต่ก็ยังคาดเดาได้ยาก ส่งผลให้หลายบริษัทเริ่มชะลอการลงทุน และเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าที่คาด

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า