อินโดนีเซีย…ม้ามืดด้านการลงทุนที่ทั่วโลกจับตา

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1663063726344 1

รู้หรือไม่ 60% ของค่าใช้จ่ายในการบริโภคทั่วโลกในปี 2030 จะมาจากภูมิภาคเอเชีย ทั้งความเจริญทางเศรษฐกิจและพลังอำนาจในการบริโภคที่กำลังเคลื่อนย้ายจากชาติตะวันตกสู่ชาติตะวันออกอย่างต่อเนื่อง และจะเร่งตัวขึ้นอย่างมากในอนาคต ทำให้มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2050 ประเทศที่มีรายได้ต่อหัวของประชากรสูงสุด (GDP Per Capita) ในโลก จะมาจากภูมิภาคเอเชียถึง 4 จาก 5 ประเทศ แต่ประเทศที่กำลังถูกจับตามองจากทั่วโลก และเป็นทางเลือกใหม่ในการลงทุน นั่นคือ ประเทศอินโดนีเซีย

แต่เดิมอินโดนีเซียเป็นประเทศที่เน้นการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนการส่งออกน้ำมันปาล์มกว่า 50% ของมูลค่าการส่งออกทั่วโลก และสัดส่วนการส่งออกดีบุกที่สูงถึงราว 25% ของโลก ซึ่งการที่ประเทศอินโดนีเซียเป็นฐานการผลิตทรัพยากรธรรมชาติรายสำคัญของโลกบวกกับการให้ประโยชน์ด้านภาษีแก่บริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนหรือตั้งฐานการผลิต ทำให้เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ (FDI) ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2015 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 133 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2025 หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยทบต้น (CAGR) +32% YoY

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันด้วยจำนวนประชากรเกือบ 280 ล้านคน ซึ่งมากที่สุดและเป็นอันดับที่ 4 ของโลก โดยราว 60% อยู่ในช่วงวัยทำงาน (20 – 64 ปี) บวกกับมีค่าเฉลี่ยอายุของประชากรเพียง 29.7 ปี ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 31 ปี ทำให้อินโดนีเซียจะมีความได้เปรียบและโอกาสในการเติบโตด้านการบริโภคได้อีกมาก ด้วยในปัจจุบันสัดส่วนการบริโภคของอินโดนีเซียยังอยู่ในระดับต่ำ อาทิ จำนวนบัญชีธนาคารที่มีเพียง 49% ของจำนวนประชากรวัยผู้ใหญ่ เปรียบเทียบกับมาเลเซียที่ 83% และสัดส่วนการใช้โทรศัพท์ Smartphone ของประชากรอินโดนีเซียที่มีราว 67% เปรียบเทียบกับประเทศไทยที่มากเกือบ 80% ทำให้การเติบโตด้านการบริโภคของอินโดนีเซียจะเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการเติบโตของประเทศในอนาคต

ในด้านการลงทุน ตลาดหุ้นอินโดนีเซียยังมีราคาไม่สูงนัก โดยมีอัตราส่วน Forward P/E Ratio ที่ราว 16.3x เท่า อยู่ในระดับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี และมีอัตราส่วน Earning Yield ที่ 6.60% สูงที่สุดในรอบ 10 ปี นอกจากนี้ การเติบโตของยอดขายและกำไรต่อหุ้นถูกคาดการณ์โดย Bloomberg ว่าจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดอย่างมากในปี 2022 นี้ โดยคาดว่ายอดขายและกำไรต่อหุ้นจะเติบโต +67.54% YoY และ +57.86% ตามลำดับ และเติบโต +7.8% YoY และ +12.68% ตามลำดับในปีหน้า อีกทั้งยังมี Correlation กับตลาดหุ้นอื่นๆ ที่ต่ำ อาทิ มีระดับ Correlation กับตลาดหุ้นโลกและจีนที่ 0.34 และ 0.32 ตามลำดับ

จะเห็นได้ว่า แม้การลงทุนในประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบันจะยังไม่แพร่หลายในมุมมองของนักลงทุนไทยมากนัก แต่ด้วยปัจจัยการเติบโตและโอกาสในอนาคตของอินโดนีเซียถือได้ว่าน่าสนใจมาก นอกจากนี้ ราคาหุ้นในปัจจุบันที่ยังไม่สูง บวกกับยังสามารถกระจายความเสี่ยงโดยรวมให้กับพอร์ตการลงทุน ทำให้ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ถือได้ว่าเป็นตัวเลือกทางการลงทุนที่เหมาะสมกับพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนไทยเป็นอย่างมาก

==============================

บทความโดย : วิศรุต จารุอนันตพงษ์ AFPT Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

 

เผยแพร่ครั้งแรกในคอลัมน์ Make Money Make Healthy ของ TNN

บทความล่าสุด

ล็อก Yield ดี หนีความผันผวน เข้า Global Bond

นับตั้งแต่ต้นปี 2025 จนถึงปัจจุบัน ตลาดการเงินต้องเผชิญกับความผันผวนที่อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง อันเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯที่รุนแรงกว่าที่ตลาดคาด รวมถึงมาตรการตอบโต้ทางภาษีจากบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นส่วนใหญ่เผชิญแรงเทขายอย่างรุนแรงและให้ผลตอบแทนติดลบ

อ่านต่อ >>

กางสถิติหุ้นสหรัฐฯ บ่งชี้เข้าใกล้จุดซื้อลงทุน

หลังโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศวันปลอดปล่อย (Liberation day) เมื่อวันที่ 2 เม.ย. เปรียบเสมือนประกาศทำสงครามการค้าอย่างเป็นทางการด้วยการคิดอัตราภาษีตอบโต้การค้า (Reciprocal tariff) กับทุกประเทศทั่วโลก 10% ถึง 145% ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับลดลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ 3 วันลดลงแรง -10.73% ซึ่งเป็นการปรับลดลงมากที่สุดอันดับ 11 นับตั้งแต่เก็บสถิติช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

อ่านต่อ >>

ยิ่งผันผวน ยิ่งต้องวางแผน : กองทุนตราสารหนี้แบบไหนควรมีติดพอร์ตในปี 2025

ผ่านช่วง 4 เดือนแรกของการลงทุน เห็นได้ว่าปี 2025 จะเป็นอีกปีที่ตลาดการเงินมีความผันผวนสูงขึ้นจากนโยบายการค้าที่ไม่แน่นอนของประเทศสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีการผ่อนคลายหรือเลื่อนนโยบายแต่ก็ยังคาดเดาได้ยาก ส่งผลให้หลายบริษัทเริ่มชะลอการลงทุน และเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าที่คาด

อ่านต่อ >>

ล็อก Yield ดี หนีความผันผวน เข้า Global Bond

นับตั้งแต่ต้นปี 2025 จนถึงปัจจุบัน ตลาดการเงินต้องเผชิญกับความผันผวนที่อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง อันเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯที่รุนแรงกว่าที่ตลาดคาด รวมถึงมาตรการตอบโต้ทางภาษีจากบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นส่วนใหญ่เผชิญแรงเทขายอย่างรุนแรงและให้ผลตอบแทนติดลบ

อ่านต่อ >>

กางสถิติหุ้นสหรัฐฯ บ่งชี้เข้าใกล้จุดซื้อลงทุน

หลังโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศวันปลอดปล่อย (Liberation day) เมื่อวันที่ 2 เม.ย. เปรียบเสมือนประกาศทำสงครามการค้าอย่างเป็นทางการด้วยการคิดอัตราภาษีตอบโต้การค้า (Reciprocal tariff) กับทุกประเทศทั่วโลก 10% ถึง 145% ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับลดลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ 3 วันลดลงแรง -10.73% ซึ่งเป็นการปรับลดลงมากที่สุดอันดับ 11 นับตั้งแต่เก็บสถิติช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

อ่านต่อ >>

ยิ่งผันผวน ยิ่งต้องวางแผน : กองทุนตราสารหนี้แบบไหนควรมีติดพอร์ตในปี 2025

ผ่านช่วง 4 เดือนแรกของการลงทุน เห็นได้ว่าปี 2025 จะเป็นอีกปีที่ตลาดการเงินมีความผันผวนสูงขึ้นจากนโยบายการค้าที่ไม่แน่นอนของประเทศสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีการผ่อนคลายหรือเลื่อนนโยบายแต่ก็ยังคาดเดาได้ยาก ส่งผลให้หลายบริษัทเริ่มชะลอการลงทุน และเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าที่คาด

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า