ปรับกลยุทธ์รับปีเสือ ลงทุนอย่างไรให้ Outperform

file

เข้าสู่ปี 2022 ซึ่งนับได้ว่าเป็นปีที่ท้าทายของโลกการลงทุนอย่างมากจากหลากหลายประเด็นด้วยกัน ...เราจะสรุปให้ฟัง เพื่อให้คุณเตรียมพร้อมสำหรับปีเสือนี้  

ประเด็นที่น่าจับตาประเด็นแรกคือ การเข้มงวดของนโยบายการเงินทั่วโลกที่แต่ละประเทศอย่าง สหรัฐฯ ยุโรป อังกฤษ และญี่ปุ่น เริ่มมีการปรับลดวงเงินการผ่อนคลายด้านนโยบายการเงิน (QE และ QQE) และในบางประเทศมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วอย่างในอังกฤษ เช่นเดียวกับสหรัฐฯ ที่กำลังจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยด้วยเช่นกัน  

ถัดมาคือ ประเด็นเรื่องการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ที่รุนแรงมากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งทั้งการเข้มงวดด้านนโยบายการเงิน และความกังวลในประเด็นการแพร่ระบาด อาจกดดันให้การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ มีความผันผวนมากขึ้น   

และนอกจากประเด็นความกังวลเหล่านี้สินทรัพย์เสี่ยงประเภทต่างๆ ยังมีระดับ Valuation ในระดับที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย ทำให้ภาพของการลงทุนในปี 2022 นี้จะพบกับความท้าทาย และจำเป็นที่จะต้องมีการ Selective ในการลงทุนเป็นอย่างมาก เพื่อสร้างโอกาสในการรับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น 

โดยใน ตลาดตราสารหนี้ TISCO ESU พบว่า จากปัจจุบันที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น อีกทั้งเป้าหมายในระยะยาวของ Fed คาดหวังดอกเบี้ยนโยบายที่ราว 2.5% จะส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลหรือ Bond Yield ปรับเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยเราคาดหวังว่า Bond Yield พันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ 1.8% ในช่วงสิ้นปี 2022 จากราว 1.4% ในปัจจุบัน ซึ่งแปลว่า ระดับ Valuation ของตราสารหนี้ในปัจจุบันอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ผลตอบแทนที่คาดหวังอาจไม่เพียงพอต่อความเสี่ยงในการลงทุนในตราสารหนี้ 

สำหรับการลงทุน “หุ้น” นักลงทุนและนักวิเคราะห์ทั่วโลกต่างมีความกังวลต่อการเข้มงวดด้านนโยบายการเงินจะส่งผลกดดันต่อตลาดหุ้นทั่วโลก อย่างไรก็ตามเราพบว่า ในช่วงปี 2009 ถึงช่วงต้นปี 2021 มีการเข้มงวดด้านนโยบายการเงิน (Tightening) ถึง 7 ครั้งด้วยกัน โดยมีถึง 5 ครั้งที่ตลาดหุ้น Developed Markets อย่าง S&P 500, STOXX 600 และ TOPIX สามารถปรับตัวเป็นบวกได้ในช่วงเวลานั้น  

และทุกครั้งที่ผ่านมาตลาดหุ้นในกลุ่ม Developed Markets สามารถ Outperform ตลาดหุ้นในกลุ่ม Emerging Markets ได้ ทำให้การลงทุนในตลาด DM ในปีหน้า อาจมีความน่าสนใจมากกว่าการลงทุนในตลาด EM และเมื่อเราพิจารณาเพิ่มเติมในประเด็นของ Valuation เราพบว่า ตลาดหุ้น STOXX 600 ของยุโรป และ TOPIX ของญี่ปุ่นมีระดับราคาที่น่าสนใจ โดยมีระดับ Forward P/E Ratio ที่ราว 15 เท่า และ 14 เท่า ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี แต่อย่างไรก็ดี เราจำเป็นที่จะต้อง Selective กลุ่มหุ้นในการลงทุน โดยอาจเน้นไปที่บริษัทที่มีขนาดใหญ่ มีผลประกอบการและกระแสเงินสดที่มั่นคง ตลอดจนมีความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในปี 2022

จะเห็นได้ว่า ภาพการลงทุนในปี 2022 จะมีประเด็นต่างๆ ที่เข้ามากระทบภาพการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในหลากหลายประเด็นด้วยกัน ซึ่งจะส่งผลให้ผลตอบแทนของหุ้นในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมมีความแตกต่างกันอย่างมาก ทำให้นักลงทุนจำเป็นที่จะต้องคัดเลือกกลุ่มหุ้นที่ต้องการจะลงทุนให้ดี เพื่อที่จะได้รับผลตอบแทนอย่าง Outperform ในปี 2022 นี้ 

==========================================================

บทความโดย : วิศรุต จารุอนันตพงษ์ AFPT™

Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

บทความล่าสุด

จับจังหวะทำกำไร กับขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้น Asia

โพสต์เมื่อ 28 มีนาคม 2567

ตลาดหุ้นเอเชีย (Asia ex Japan) ถือเป็นตลาดหุ้นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงไม่แพ้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) โดยเฉพาะในฝั่งของภาคการผลิตที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรมการผลิตของโลก

อ่านต่อ >>

Asia ex Japan หุ้นไม่แพง โตแรงแซงเศรษฐกิจโลก

โพสต์เมื่อ 28 มีนาคม 2567

ท่ามกลางตลาดหุ้นหลักของโลก เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้น New High ต่อเนื่องจนมูลค่าเริ่มตึงตัว แต่หุ้นกลุ่มประเทศเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น ยังมีมูลค่าการซื้อขายยังอยู่ในระดับต่ำ และสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

อ่านต่อ >>

ปีทองตลาดหุ้นเวียดนาม Country winner ปี 2024

โพสต์เมื่อ 28 มีนาคม 2567

เข้าสู่โค้งสุดท้ายของไตรมาส 1 ปี 2024 ตลาดหุ้นหลายแห่งทั้งสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น อินเดีย ยังเดินหน้าทำ New high อย่างต่อเนื่อง ทำให้การเข้าลงทุนในระดับราคาปัจจุบันเริ่มมีความเสี่ยง (Downside risk) ที่สูงขึ้นจาก Valuation ที่เริ่มตึงตัว

อ่านต่อ >>