ปรับพอร์ตลงทุน รับดอกเบี้ยขาลงรอบใหม่ของไทย

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1730443870784 1

วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงของไทยได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีครึ่ง หลังจากที่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จากระดับ 2.5% สู่ระดับ 2.25% ซึ่งถือเป็นการดำเนินนโยบายการเงินที่สวนทางกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์กว่า 20 สำนักที่มองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงค์ชาติ จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม โดยการลดดอกเบี้ยในครั้งนี้ยังถือว่าสอดคล้องกับธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกที่ได้เริ่มมีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงไปก่อนหน้านี้ 

พร้อมกันนี้ กนง. ยังได้ปรับประมาณการณ์การเติบโตของ GDP ไทยในปี 2024 และปี 2025 เป็น 2.7% และ 2.9% ตามลำดับ จากอานิสงส์ของการบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ตลอดจนการท่องเที่ยวและการส่งออกที่ฟื้นตัวขึ้นตามเศรษฐกิจโลก โดยมีมุมมองในเรื่องของเงินเฟ้อว่าจะกลับเข้ามาเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบเป้าหมายราว 0.5% ถึง 1.2% ในช่วง 1 ปีข้างหน้า 

ในแง่ของผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง การปรับลดอัตราดอกเบี้ย จะส่งผลให้ “ต้นทุนทางการเงิน” ของทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจให้ลดลง อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจให้มีแนวโน้มที่จะเติบโตสูงขึ้นจากการขยายตัวของสินเชื่อในรูปแบบต่าง ๆ พร้อมกับช่วยลดความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ของสถาบันการเงินไปในเวลาเดียวกัน 

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแง่ของการลงทุนแล้ว แนวโน้มการปรับลงของอัตราดอกเบี้ยก็สะท้อนถึงผลตอบแทนจากการฝากเงินในธนาคารที่มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลให้เม็ดเงินในระบบมีการเคลื่อนไหวออกจากบัญชีเงินฝากชนิดต่าง ๆ ออกไปเพื่อ “Search For Yield” หรือแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นกับสินทรัพย์ประเภทอื่น โดยสินทรัพย์ที่จะได้รับประโยชน์จากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ได้แก่  

หุ้นปันผลสูง ปัจจุบัน ตลาดหุ้นไทยถือเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยหุ้นคุณค่า (Value Stocks) ที่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) อยู่ในระดับสูง เป็นหุ้นกลุ่มที่สามารถลงทุนเพื่อรับกระแสเงินสดและเพิ่มผลตอบแทนให้กับพอร์ตการลงทุนได้ โดยหุ้นกลุ่ม High Dividend มักเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศที่มีความแข็งแกร่งและผ่านวิกฤตมาแล้วหลายครั้ง ยกตัวอย่างเช่น หุ้นกลุ่มสื่อสาร หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคพื้นฐาน หุ้นกลุ่มค้าปลีก หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์และหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 

หากพิจารณาที่ดัชนี SETHD (SET High Dividend) จะพบว่า Dividend Yield ของหุ้นกลุ่มนี้ในปัจจุบันสูงถึง 5% ซึ่งนับเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 10 ปี และยังเป็นระดับผลตอบแทนเงินปันผลที่สูงใกล้เคียงกับในช่วงวิกฤต COVID-19 ปี 2020 นอกจากนี้ หุ้นกลุ่มปันผลสูงยังได้รับอานิสงส์จากเม็ดเงินจากกองทุนวายุภักษ์และกองทุน ThaiESG ที่มีแนวโน้มจะไหลเข้ามาลงทุนในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้และผลักดันให้ราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น 

Thai REITs ในอดีตช่วงปี 2011 – 2018 ที่อัตราดอกเบี้ยของไทยปรับตัวลดลงจากระดับ 3.5% เป็น 1.5% สินทรัพย์อย่าง Thai REITs สามารถสร้างผลตอบแทนในช่วงเวลาดังกล่าวได้สูงถึง +62% พร้อมกับให้เงินปันผลที่สม่ำเสมออย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ถือลงทุน ปัจจุบันราคาของ REITs ไทยปรับตัวลดลงมาจากจุดสูงสุดในช่วงปี 2019 มากถึง -47% ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนเงินปันผลของ REITs ไทยขึ้นมาอยู่ในระดับที่สูงถึง 8% สูงสุดในรอบ 10 ปี 

จุดเด่นของ REITs คือ การจ่ายปันผลที่มีความสม่ำเสมอคล้ายกับการจ่ายดอกเบี้ยของตราสารหนี้ แต่สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้ในระยะยาวคล้ายกับเงินปันผลของหุ้น อันเนื่องมาจากการปรับค่าเช่าที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อ หากเปรียบเทียบกับ การฝากเงินที่จะได้รับดอกเบี้ยที่ลดลงในช่วง 1-2 ปีข้างหน้าแล้ว การลงทุนใน REITs ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ 

ตราสารหนี้คุณภาพดี สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อย การกระจายเงินเพื่อไปลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดี เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือ หุ้นกู้ภาคเอกชนในระดับ Investment grade ที่มีอายุ 2-3 ปีขึ้นไป ยังคงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในภาวะดอกเบี้ยขาลง เนื่องจากนักลงทุนสามารถที่จะเลือก “Lock Yield” จากที่สูงราว 2-4% ในปัจจุบันได้ไปตลอดช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งผลตอบแทนที่ได้รับจากดอกเบี้ยตราสารหนี้จะคงที่ สวนทางกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจะต้องเลือกลงทุนตราสารหนี้อย่างระมัดระวังโดยเฉพาะหุ้นกู้บริษัทเอกชน เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียเงินต้นทั้งหมด 

ดังนั้น ตอนนี้จึงถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่นักลงทุนไทยจะต้องเริ่มพิจารณาจัดพอร์ตการลงทุนและกระจายเม็ดเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น อย่างเช่น หุ้นปันผลสูง Thai REITs รวมถึงตราสารหนี้คุณภาพดี เพื่อสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าการฝากเงินที่มีแนวโน้มจะให้ผลตอบแทนต่ำลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า ตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกที่อยู่ในเทรนด์ขาลง


บทความโดย ภาคภูมิ พีรยวัฒนา AFPT™

Senior Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

บทความล่าสุด

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า