อย่าเพิ่งเกษียณ ! ถ้ายังไม่วางแผนประกัน

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1631527317632

หากเอ่ยถึงการวางแผนทางการเงิน สิ่งแรกที่ทุกท่านนึกถึง คงเป็นเรื่องของการลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่งคั่ง แต่แท้จริงแล้ว หนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญและขาดไม่ได้เช่นกัน ก็คือ การวางแผนประกัน (Insurance Planning) ที่จะเข้ามามีบทบาทในด้านการรักษาความมั่งคั่งของทรัพย์สิน ซึ่งเป็นวิธีจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างสูงในการช่วยลดหรือบรรเทาความสูญเสีย ทั้งการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การเจ็บป่วย และการบาดเจ็บ เป็นต้น

ประกอบกับเมื่ออายุที่เพิ่มขึ้น ร่างกายจากที่เคยแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ก็อาจกลับกลายเป็นป่วยหนัก และสุขภาพอาจไม่สมบูรณ์แข็งแรงเท่ากับวัยหนุ่มสาว และด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันที่เชื้อไวรัสมีการแพร่ระบาด ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่อาจเจ็บป่วยได้ ดังนั้น การวางแผนประกันจึงยิ่งมีความสำคัญที่จะเข้ามาช่วยปิดความเสี่ยงเกี่ยวกับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายการวางแผนการเงินที่ตั้งไว้ได้

โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานที่เข้าสู่ช่วงวัยทำงานตอนปลายจนถึงก่อนเกษียณอายุ หรือมีอายุประมาณ 45 – 59 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีภาระต่างๆ เริ่มลดลง หนี้บ้าน หนี้รถเริ่มหมดไป ลูกเรียนจบ สามารถเลี้ยงตัวเองได้ รายได้มีความมั่นคงมากขึ้น แต่เป็นช่วงที่ร่างกายเริ่มเสื่อมถอยลง และเริ่มมีปัญหาด้านสุขภาพที่ตามมา โดยประกันที่เหมาะกับคนวัยนี้ ควรเน้นที่ความคุ้มครองและเงินที่จะได้รับหลังเกษียณ อาจประกอบไปด้วยประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง และประกันบำนาญ

สำหรับประกันสุขภาพ เป็นประกันที่ทุกคน ทุกช่วง และทุกวัยควรมี เนื่องจากแต่ละช่วงวัยล้วนมีความจำเป็นในการใช้ประกันสุขภาพทั้งสิ้น แน่นอนว่ายิ่งมีอายุที่มากขึ้น อาจจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์มากขึ้น นอกเหนือจากการพิจารณาค่าเบี้ยประกัน ค่าห้อง ค่ารักษาพยาบาล ค่ายา สำหรับทั้งผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) แล้ว ควรเลือกแบบประกันที่ไม่ปฏิเสธเรื่องของการต่ออายุประกัน เพราะอายุที่มากขึ้น อาจส่งผลต่อการต่ออายุประกันในอนาคตได้ จึงเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ

ถัดมา ประกันโรคร้ายแรง เป็นอีกหนึ่งประกันที่มีความสำคัญของคนในวัยนี้ โดยมีข้อมูลจาก Cancer Hospital Wattanosoth ระบุว่า โรคมะเร็งสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยส่วนใหญ่จะพบในอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป สำหรับการพิจารณาเลือกซื้อประกันโรคร้ายแรงนั้น ควรซื้อแบบประกันที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ระยะแรกและทุกระยะในจำนวนที่สูง รวมถึงมีการจ่ายเคลมประกันเป็นเงินก้อน ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ เช่น การ Stroke หรือเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง จะได้มีเงินก้อนไว้ใช้สำหรับการปรับคุณภาพชีวิต หรือนำไปรักษาในส่วนที่ประกันสุขภาพอาจจะไม่ได้ครอบคลุม นอกจากนี้หากในกรณีที่มีประกันสุขภาพแล้ว แนะนำให้นำประกันสุขภาพไปใช้ในการรักษาพยาบาล ส่วนเงินก้อนที่ได้รับจากโรคร้ายแรง สามารถนำไปใช้สำหรับความจำเป็นอื่นๆ ได้

อย่างไรก็ดี การทำประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรง ควรคิดไปถึงช่วงเกษียณอายุด้วยว่า ต้องเตรียมเงินไว้จ่ายค่าเบี้ยประกันจำนวนเท่าไหร่ จะได้มีการวางแผนเก็บเงินให้เพียงพอสำหรับการจ่ายค่าเบี้ยประกัน โดยไม่ส่งผลกระทบกับแผนทางการเงินโดยรวม

สุดท้าย ประกันบำนาญ ที่เปรียบเสมือนแหล่งเงินได้ยามเกษียณ อาจคำนวณว่า หลังเกษียณอยากได้เงินเดือนละเท่าไหร่ โดยปัจจุบันแบบของเงินรับบำนาญมีให้เลือกหลากหลาย เช่น แบบเงินรับบำนาญทุกปี ปีละ 15%/ 24%/ 36% ของจำนวนเงินเอาประกัน ซึ่งควรเลือกแบบประกันที่มีผลประโยชน์ในขณะดำรงชีวิต (Living Benefits) หรือประกันที่คุ้มครองในขณะที่คุณยังมีชีวิตอยู่ในจำนวนที่สูง เนื่องจากความจริงแล้ว เราอาจจะมีเงินเก็บอยู่เพียงแค่ส่วนหนึ่ง แต่เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเงินที่เราเก็บไว้นั้น จะเพียงพอในการใช้จ่ายหลังเกษียณหรือไม่ หากเงินที่ต้องการใช้หมดก่อนในช่วงที่เรายังมีชีวิตอยู่อาจเป็นปัญหาใหญ่ที่ตามมาได้ ประกันบำนาญจึงเข้ามาตอบโจทย์ โดยการสร้างหลักประกันให้ชีวิตยามเกษียณมีความมั่นคงมากขึ้น

การมีประกันสำหรับคนวัยทำงานตอนปลายที่ต้องเตรียมพร้อมก่อนเกษียณ ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง และประกันบำนาญ ล้วนแล้วแต่เป็นการลดความเสี่ยงทางการเงินทั้งสิ้น รวมถึงเป็นการวางแผนทางการเงินที่ดี เพราะเวลาเราเจ็บป่วยหรือไม่สบาย ประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรง ก็จะเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับเรา รวมถึงการมีประกันบำนาญก็ทำให้อุ่นใจในการใช้ชีวิตหลังเกษียณมากขึ้น

===================================

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Money Talk ใน Business Today

บทความล่าสุด

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า