วางแผนเกษียณอย่างไร เมื่ออายุขัยยืนยาวขึ้น

file

 

ชีวิตหลังเกษียณที่หลายคนวาดฝันและคาดหวังนั้น ผมเชื่อว่าทุกท่านคงจะจินตนาการถึงช่วงเวลาของของชีวิตที่มีความสุข และพรั่งพร้อมไปด้วยเวลาและทรัพย์สิน ซึ่งมาจากการสร้างเนื้อสร้างตัวในช่วงวัยทำงานที่ยาวนานกว่า 30 ปี แต่จากผลสำรวจของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุกว่า 40.06% เชื่อว่าตนเองมีทรัพย์สินและรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพหลังเกษียณ ขณะที่ 30.48% ไม่มั่นใจว่าจะมีทรัพย์สินและรายได้เพียงพอหรือไม่ ซึ่งมีเพียง 29.47% เท่านั้น ที่เชื่อว่าจะมีทรัพย์สินและรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพหลังเกษียณ

 ทั้งนี้ จากบทวิจัยยังพบว่า 2 ปัญหาสำคัญที่ทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอ คือ หนึ่ง การขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการสินทรัพย์ และ สอง ปัญหาสุขภาพที่มีค่าใช้จ่ายในการดูแลและรักษาที่สูง ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินชีวิตหลังเกษียณเป็นไปได้อย่างราบรื่นการวางแผนเกษียณจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมความพร้อมทั้งด้านค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตและค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ

ผลิตภัณฑ์ทางการเงินช่วยคุณเกษียณสุข

ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สามารถสนับสนุนการวางแผนเกษียณ ประกอบไปด้วย ประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนเพื่อการออม (SSF) และประกันบำนาญ เป็นต้น

จากผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมานั้นมีทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจ ในส่วนของภาคบังคับอย่างประกันสังคมนั้นจะได้รับเงินบำนาญราว 3,000 – 7,500 บาทต่อเดือน (ขึ้นอยู่กับอายุการทำงาน) ซึ่งอาจไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ

ขณะที่ผลิตภัณฑ์ภาคสมัครใจอย่าง PVD, RMF และ SSF จะได้รับเป็นเงินก้อนหลังเกษียณ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดในช่วงนั้นๆ อีกทั้งยังมีความไม่แน่นอนจากความเสี่ยงที่มูลค่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง รวมถึงยังคาดการณ์ไม่ได้ว่าเงินจะเพียงพอใช้ไปจนถึงสิ้นอายุขัยหรือไม่ ดังนั้น ประกันบำนาญที่ได้รับเงินค่อนข้างแน่นอนในการรับเงินเป็นรายเดือนหรือรายปีจะเข้ามามีส่วนช่วยเพิ่มความมั่นคงในการวางแผนเกษียณได้เป็นอย่างดี

เลือกประกันบำนาญอย่างไร ให้คุ้มค่า?

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขคาดว่า คนไทยที่เกิดในปี พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป จะมีอายุเฉลี่ย 80 ถึง 89 ปี และมีโอกาสอายุสูงถึง 100 ปี  ดังนั้น การเลือกประกันบำนาญที่มีความคุ้มครองให้ครอบคลุมถึง 99 ปี จะช่วยลดความเสี่ยงของอายุขัยที่มีแนวโน้มยืนยาว รวมถึงลดความไม่แน่นอนของรายได้ ด้วยการรับเงินบำนาญที่มี Living Benefit ที่สูงเพื่อใช้ในการดำรงชีพหลังเกษียณ

นอกจากนี้ ประกันบำนาญยังช่วยในการวางแผนภาษีไปในตัวอีกด้วย  ยกตัวอย่าง นาย เอ พนักงานบริษัท อายุ 40 ปี มีเงินได้ทั้งปีที่ต้องเสียภาษีอยู่ที่ 1 ล้านบาท เลือกทำประกันบำนาญที่มีทุนความคุ้มครอง 1 แสนบาท รับเงินบำนาญปีละ 24,000 บาท ถึงอายุ 99 ปี ชำระเบี้ยประกันครั้งเดียวเป็นจำนวน 244,900 บาท

คำถาม คือ นาย เอ จะสามารถลดหย่อนภาษีได้เท่าใด?

ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากรประกันบำนาญสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 200,000 บาท หรืออาจสูงถึง 300,000 บาท หากยังไม่ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีประกันชีวิตทั่วไปในส่วน 100,000 บาท

ดังนั้น นายเอ สามารถนำไปหักลดหย่อนประกันชีวิตทั่วไป 100,000 บาท และนำไปลดหย่อนประกันบำนาญอีก 144,900 บาท ซึ่งจะช่วยลดหย่อนภาษีเป็นจำนวนเงิน 41,235 บาท คิดเป็น 16.84% ของค่าเบี้ยประกัน (คำนวณภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนส่วนตัว)

จะเห็นได้ว่า ประกันบำนาญเป็นอีกทางเลือกที่ขาดไม่ได้ในการวางแผนเกษียณ ซึ่งจะช่วยให้คุณหมดห่วงเรื่องรายได้และอายุขัยที่มีแนวโน้มยืนยาวขึ้น ช่วยให้การใช้ชีวิตหลังเกษียณเป็นไปได้อย่างราบรื่นและมีความสุขอย่างที่ทุกคนคาดหวังไว้ครับ

ทั้งนี้ หากต้องการคำปรึกษาด้านการทำประกันที่เหมาะสมกับตัวเอง รวมถึงเลือกซื้อประกันตัวท็อปแบบไม่จำกัดค่าย สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา  หรือ โทร 02-633-6060 หรือหากท่านใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตนเอง สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ prtisco@tisco.co.th  ครับ

===========================================

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Invest in Health ใน Wealthy Thai

บทความล่าสุด

Biotech หุ้นนวัตกรรมยายุคใหม่ ที่ต้องมีไว้ในพอร์ต

โพสต์เมื่อ 26 เมษายน 2567

หากนึกถึงหุ้นกลุ่ม Healthcare นักลงทุนส่วนใหญ่มักนึกถึงบริษัทยาขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคงแต่มีการเติบโตที่ช้า ทำให้นักลงทุนมักเหมารวมหุ้นกลุ่ม Healthcare เป็นหุ้นกลุ่ม Defensive ที่ไม่ได้คาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงและเป็นเพียงแค่หลุมหลบภัยในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวนเท่านั้น

อ่านต่อ >>

หุ้นกลุ่ม Healthcare ทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีหุ้นโลก

โพสต์เมื่อ 26 เมษายน 2567

ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่ม Healthcare กลับมาสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น จากแนวโน้มการเติบโตที่คาดว่าจะสูงกว่าตลาดโดยรวมในปีนี้ ในขณะที่ยังซื้อขายในระดับราคาที่ไม่แพงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มเทคโนโลยีที่เติบโตในระดับใกล้เคียงกัน ทำให้ปีนี้มีโอกาสสูงที่กลุ่ม Healthcare จะกลับมาทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีตลาดหุ้นโลก

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตสร้างกำไร ขายหุ้นสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น เบนเข็มลงทุน “หุ้น Asia ex Japan”

โพสต์เมื่อ 26 เมษายน 2567

ในปี 2024 เศรษฐกิจโลกภาพรวมเติบโตดีกว่าคาด โดยภูมิภาคที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดคือ ภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่จะเติบโตได้ดีในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว และยังเป็นปีแห่งโอกาส

อ่านต่อ >>