เกษียณอย่างสบายใจ...ถ้ามีประกันสุขภาพ

file

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ คือ มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือมีคนในวัยเกษียณ มากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด โดยค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับคนวัยเกษียณไม่ใช่เพียงแค่ค่าอาหาร และที่อยู่อาศัย แต่ยังมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ซึ่งนับเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่และมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นตามอายุอีกด้วย จะดีกว่าไหม หากหลังเกษียณ เราไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านนี้คนเดียว

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า ครึ่งหนึ่งของคนสูงอายุถูกจัดว่าเป็นโรคร้ายแรง โดยโรคที่พบมาก คือ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมอง โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับไตหรือปอด นอกจากนั้นยังมี โรคความดันโลหิตสูง ไขข้อเสื่อม และโรคต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งโรคเหล่านี้ต้องใช้ค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่หลักแสนไปจนถึงหลักล้าน ยังไม่นับรวมถึงโรคอื่นๆ ในผู้สูงอายุที่แม้จะไม่ร้ายแรง แต่ก็เป็นปัญหาสุขภาพที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาและพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้แนวโน้มค่ารักษาพยาบาลยังมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยค่ารักษาพยาบาลของไทยมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้น 2 เท่า ในทุกๆ 8 - 10 ปี สมมุติว่าเราอายุ 40 ปีในวันนี้ ค่ารักษาพยาบาลจำนวน 20,000 บาท ในวันนี้ จะเท่ากับ 80,000 บาท เมื่อเราอายุ 60 ปี และเป็น 320,000 บาท เมื่อเราอายุ 80 ปี ซึ่งแน่นอนว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพจำนวน 20,000 บาท เป็นเพียงค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพเท่านั้น  ยังไม่ได้ครอบคลุมถึงกรณีที่เราเป็นโรคต่างๆและต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลหรือพักฟื้นในโรงพยาบาล และด้วยค่ารักษาพยาบาลในปัจจุบัน การเข้าพักฟื้นในโรงพยาบาลแต่ละครั้ง ค่าใช้จ่ายหลักหมื่นอาจไม่เพียงพอ 

แผนภาพที่ 1: อัตราการเจ็บป่วยจำแนกตามกลุ่มอายุในปี พ.ศ. 2558 (ต่อประชากร 100,000 คน) 

file

ที่มา: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

 

ประกันสุขภาพจะเข้ามาทำหน้าที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้เป็นอย่างดี ในปัจจุบันมีประกันสุขภาพมากมายหลายแบบให้เลือก ทั้งแบบเหมาจ่าย แบบแยกค่ารักษา รวมถึงประกันสุขภาพที่คุ้มครองเฉพาะโรค ซึ่งแต่ละแบบประกันสุขภาพมีความคุ้มครอง อัตราเบี้ยประกัน และเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป แต่เงื่อนไขหนึ่งที่บริษัทรับประกันสุขภาพมีเหมือนกัน คือ ไม่รับประกันกรณีที่มีความเจ็บป่วยในโรคนั้นๆ เกิดขึ้นแล้ว และถ้าหากมีภาวะทางสุขภาพบางอย่างที่อาจจะนำไปสู่โรคอื่นๆ  เช่น  โรคเบาหวาน อาจนำไปสู่เงื่อนไขเพิ่มเติมในการรับประกัน และแน่นอนเมื่อเราอายุมากขึ้น โอกาสที่จะเป็นโรคต่างๆ ก็สูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการทำประกันสุขภาพ คนส่วนใหญ่จะมองเห็นความสำคัญของประกันสุขภาพก็ต่อเมื่อเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บหรือมีปัญหาสุขภาพไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทประกันมักไม่รับหรือมีเงื่อนไขเพิ่มเติมมากมาย หากผู้สูงอายุต้องการทำประกันสุขภาพ เรียกว่ากว่าจะเห็นความสำคัญของประกันสุขภาพก็อาจสายเกินไป

เคล็ดลับง่ายๆ คือ การทำประกันสุขภาพไว้ตั้งแต่ตอนที่สุขภาพยังแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บร้ายแรง และทำก่อนจะเข้าสู่วัยเกษียณ โดยมีบริษัทประกันมากมายที่รับต่อประกันสุขภาพหากเราทำประกันไว้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่แรก และยิ่งทำประกันตั้งแต่เนิ่นๆ ก็มีโอกาสได้รับการต่อประกันจนถึงอายุมาก เช่น หากทำประกันในช่วงอายุไม่เกิน 60 ปี จะสามารถต่ออายุได้ถึงอายุ 80 ปี นั่นหมายความว่าถ้าเราทำประกันสุขภาพไว้ตั้งแต่ก่อนเกษียณ บริษัทประกันก็ยังรับต่ออายุประกันได้จนถึงเกือบตลอดชีวิตเลยทีเดียว 

====================================================

เผยแพร่ครั้งแรกที่ Health is Wealth กรุงเทพธุรกิจ

บทความล่าสุด

ลงทุนกองทุนต่างประเทศแบบไหนดี ระหว่าง Hedge vs. Unhedge

โพสต์เมื่อ 22 ตุลาคม 2567

การลงทุนในกองทุนต่างประเทศ นอกจากต้องคำนึงถึงผลตอบแทนที่มาจากสินทรัพย์ลงทุนแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงไม่แพ้กัน นั่นคือ ผลตอบแทนที่มาจากอัตราแลกเปลี่ยน ที่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนรวมที่จะได้รับด้วย

อ่านต่อ >>

สภาวะ Un-inversion กับโอกาสลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้น

โพสต์เมื่อ 22 ตุลาคม 2567

ภาวะ Un-inversion คือภาวะที่ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ระยะยาวกับระยะสั้นที่คำนวณจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีและ 2 ปีที่เริ่มพลิกกลับมาเป็นบวก หรือเป็นรูปแบบ Yield curve ในภาวะปกติ

อ่านต่อ >>

4 ปัจจัยหนุนหุ้นไทยขึ้นต่อ รับดอกเบี้ยโลกขาลง

โพสต์เมื่อ 22 ตุลาคม 2567

ตลาดหุ้นไทยกลายเป็นตลาดที่น่าจับตามองหลังดัชนี SET Index ปรับตัวขึ้นมาบริเวณ 1,460 จุด หรือปรับตัวขึ้นนับจากจุดต่ำสุดกว่า 200 จุด ส่งผลให้ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยสร้างผลตอบแทนสูงถึง 8.8% และสูงสุดในประเทศกลุ่มอาเซียน

อ่านต่อ >>