หมดปัญหาเรื่องเงินในวันเกษียณ เลือกอย่างไรในวัย 30

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1629873084185

นักจิตวิทยาสมัยใหม่จากมหาวิทยาลัย Harvard “วิลเลียม เจมส์” กล่าวว่า “โดยส่วนใหญ่แล้ว เมื่อเราอายุ 30 ปี Character ของเราจะถูกหล่อหลอมจนแข็งแกร่ง และจะไม่กลับไปอ่อนยวบลงอีกเลย” สำหรับในด้านการงานและการเงินก็มักได้ลองผิดลองถูกมาพอสมควรในช่วงก่อนหน้านี้ อาจได้เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสายอาชีพ หรือได้รับการปรับตำแหน่งในช่วงที่ผ่านมา จนเมื่อถึงตอนนี้การเปลี่ยนแปลงต่างๆ มักจะน้อยลง และอาจได้เจอกับเส้นทางอาชีพที่จะเดินต่อไปจนเกษียณอายุ หรือเริ่มมองหาความมั่นคงเพื่อให้สอดคล้องกับ Lifestyle ที่เริ่มให้ความสำคัญกับการมีครอบครัว ตลอดจนเริ่มมีเงินเก็บบางส่วนและสามารถนำมาต่อยอดเพื่อสร้างความมั่งคั่งในช่วงชีวิตวัยเกษียณต่อไป

ซึ่งการวางแผนการเงินสำหรับการเกษียณในช่วงวัยนี้ อาจจะยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก เพราะอาจจะยังรู้สึกว่ายังมีเวลาอีกหลายปี หรืออาจคิดว่าสุขภาพร่างกายยังแข็งแรง จึงไม่จำเป็นต้องเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น จนอาจทำให้สุดท้ายแล้วกว่าที่จะเริ่มเตรียมตัวอย่างจริงจังก็กลับพบว่าอาจจะสายเกินไปเสียแล้ว ฉะนั้นการเริ่มต้นการวางแผนการเงินตั้งแต่วัย 30 จะช่วยประหยัดเงิน เวลา และทรัพยากรต่างๆ ของเราได้อย่างมากมายและสามารถทำได้ไม่ยาก หากเราเริ่มศึกษาตั้งแต่ตอนนี้ ซึ่งเครื่องมือที่สำคัญ 2 ประการ ที่ช่วยให้เราสามารถวางแผนการเกษียณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการสะสมและเพิ่มความมั่งคั่ง  และ เครื่องมือที่ใช้รักษาความมั่งคั่ง

การสะสมและเพิ่มความมั่งคั่งที่เป็นการบังคับตนเองแบบอัตโนมัติผ่านการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากรูปแบบของการสะสมเงินลงทุนรายเดือนที่ตัดออกจากรายได้ประจำต่อเดือน จะทำให้เราไม่ได้รู้สึกถึงการที่จะต้องจ่ายเงินออกไป อีกทั้งยังได้เงินสมทบจากนายจ้างอีกก้อนหนึ่ง ตลอดจนผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนจะทำให้เงินดังกล่าวมีขนาดใหญ่มากขึ้นอย่างมากหลังผ่านระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนานถึง 20 – 30 ปี และด้วยการสะสมการลงทุนที่ยังมีเวลายาวนานนี้เอง ทำให้เราควรเลือกนโยบายการลงทุนที่มีการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง อาทิ หุ้น ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับความสามารถในการรับความเสี่ยงในช่วงวัยนี้ได้สูงถึง 60-70% เลยทีเดียว ซึ่งเราอาจใช้วิธีการลงทุนในลักษณะนี้ไปประยุกต์กับการลงทุนในกองทุนที่ได้รับประโยชน์ทางภาษีอย่างกองทุน SSF และ RMF

อย่างไรก็ดี เราต้องตระหนักด้วยว่า การลงทุนอย่างต่อเนื่องในระยะยาวอาจจะพบความผัวผวนได้ตลอด แต่ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานจะช่วยลดความเสี่ยงโดยรวมในการลงทุนได้ จากสถิติการลงทุนในดัชนี MSCI All Country World Index Net Return (MSCI ACWI NR) ในช่วง ปี 01/2000 – 06/2021 และ SET TRI Index ในช่วง 01/2002 – 06/2021 พบว่า การเฉลี่ยการลงทุนในทุกๆ เดือนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีลักษณะการลงทุนเดียวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ กบข. สามารถช่วยลดโอกาสในการขาดทุนได้อย่างมีนัยยะสำคัญ ดังแสดงในแผนภาพที่ 1

แผนภาพที่ 1 : ตารางแสดงสถิติการลงทุนใน MSCI ACWI NR (01/2000 – 06/2021) และ SET TRI Index (01/2002 – 06/2021)

1629873271603

ที่มา: Bloomberg

จากตารางดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มระยะเวลาที่ต่อเนื่องในการลงทุน ช่วยลดความเสี่ยงที่จะขาดทุนในระยะยาวได้ โดยการลงทุนรายเดือนในระยะ 5 ปี ใน MSCI ACWI NR และ SET TRI มีโอกาสที่จะพบกับการขาดทุนทั้งหมด 22 และ 21 ครั้ง จากการลงทุนทั้งหมด 188 และ 175 ครั้งตามลำดับ หรือคิดเป็นราว 12% ในขณะที่การลงทุนในกรอบระยะเวลา 10 และ 15 ปีขึ้นไป พบว่า มีโอกาสที่จะเจอกับการขาดทุนต่ำกว่า 1% ทำให้การเลือกนโยบายการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ กบข. เราอาจปรับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้นบางส่วน เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งในวันเกษียณได้

ในส่วนของการปกป้องความมั่งคั่งคงหนีไม่พ้นเครื่องมืออย่างประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ในส่วนนี้เราต้องแยกแยะให้ออกระหว่างการสะสมและเพิ่มความมั่งคั่ง กับการปกป้องความมั่งคั่ง เพราะถึงแม้ที่มาของเงินที่นำมาใช้ในแต่ละด้านจะมาจากที่เดียวกัน แต่จุดประสงค์ในทั้ง 2 ประเด็นนั้นแตกต่างกัน สำหรับในวัย 30 เราอาจยังมีรายได้ไม่สูงนัก ฉะนั้นการซื้อประกันต้องเลือกรูปแบบที่เหมาะสมและคุ้มค่ากับเรามากที่สุด โดยเราจะใช้ประกันชีวิตแบบบำนาญ ซึ่งจะมีการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญในช่วงอายุ 55 – 60 ปี เป็นต้นไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบกรมธรรม์และด้วยการที่เราซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญตั้งแต่อายุน้อยๆ เราจะได้ค่าเบี้ยที่ถูกกว่าเมื่อซื้อตอนอายุมาก และการทยอยซื้อประกันชีวิตแบบนำนาญในช่วงที่เราทำงานอยู่ นอกจากจะได้เครื่องยืนยันว่าเราจะมีรายได้ในช่วงหลังเกษียณอายุแล้ว เรายังจะได้รับประโยชน์ทางภาษีจากเบี้ยประกันที่ชำระไปอีกด้วย

ส่วนประกันสุขภาพถือได้ว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน อีกทั้งในปัจจุบันค่าเบี้ยประกันถูกลงอย่างมาก โดยเราอาจจ่ายเบี้ยเพียงหลักพัน แต่สามารถได้รับความคุ้มครองหลักล้านได้อย่างสบายๆ ซึ่งหากเราไม่มีประกันสุขภาพที่เพียงพอแต่ต้องประสบกับโรคร้ายแรงอาจทำให้เราไม่มีเงินพอที่จะใช้เป็นค่ารักษาและทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่บุคคลต่างๆ รอบตัวเราได้

จากบทความข้างต้น จะเห็นได้ว่าในตอนที่เราอายุประมาณ 30 ปี การใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อเป้าหมายทั้งการสะสมและเพิ่มความมั่งคั่งตลอดจนการรักษาความมั่งคั่งจำเป็นที่จะต้องมีคู่กันทั้ง 2 ด้าน เพื่อให้เมื่อถึงยามที่เราเกษียณอายุการทำงาน เราจะยังคงมีรายได้ ไม่ว่าจะเป็น รายเดือน หรือรายปี จากประกันชีวิตแบบบำนาญและยังมีเงินก้อนที่ได้มาจากเงินลงทุนที่สะสมมาในช่วงหลายปี ซึ่งจะทำให้เราสามารถมีชีวิตหลังเกษียณอย่างราบรื่นและหมดห่วงในเรื่องการเงินไปได้อย่างมาก

===================================

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ I Wsh You Wealth  โพสต์ทูเดย์

บทความล่าสุด

จับจังหวะความผันผวนระยะสั้น ช่วยเสริมพอร์ตเติบโตระยะยาว

สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางกลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง หลังอิสราเอลและอิหร่านตอบโต้กันด้วยปฏิบัติการทางทหารอย่างรุนแรงที่สุดในรอบหลายปี ส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนหนัก ทั้งราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ราคาทองคำที่แตะระดับสูงสุดใหม่ ภาพลงทุนเข้าสู่โหมดตั้งรับความเสี่ยง (Risk off) หุ้นส่วนใหญ่ถูกเทขายจากความกังวล

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตลงทุน สู้ศึกครึ่งปีหลัง 2025

เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังปี 2025 สถานการณ์การลงทุนทั่วโลกยังคงเผชิญความท้าทายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากความไม่แน่นอนในการเจรจาภาษีนำเข้าของสหรัฐฯกับคู่ค้า รวมถึงสงครามในตะวันออกกลางที่กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง ทำให้การคาดเดาทิศทางเศรษฐกิจและจับจังหวะตลาดเป็นเรื่องที่ยาก

อ่านต่อ >>

เลือกประกันโรคร้ายแรงให้รอดจากค่าใช้จ่ายอัลไซเมอร์ 

เมื่อพูดถึงเหตุผลของการมีประกันโรคร้ายแรงเพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสุขภาพ เรามักจะคิดถึงโรคที่มีผลร้ายแรงแบบเฉียบพลันจนถึงแก่ชีวิต หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, ทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มโรคข้างต้นทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เมื่อปี 2021 พบสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs กว่า 80%

อ่านต่อ >>

จับจังหวะความผันผวนระยะสั้น ช่วยเสริมพอร์ตเติบโตระยะยาว

สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางกลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง หลังอิสราเอลและอิหร่านตอบโต้กันด้วยปฏิบัติการทางทหารอย่างรุนแรงที่สุดในรอบหลายปี ส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนหนัก ทั้งราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ราคาทองคำที่แตะระดับสูงสุดใหม่ ภาพลงทุนเข้าสู่โหมดตั้งรับความเสี่ยง (Risk off) หุ้นส่วนใหญ่ถูกเทขายจากความกังวล

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตลงทุน สู้ศึกครึ่งปีหลัง 2025

เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังปี 2025 สถานการณ์การลงทุนทั่วโลกยังคงเผชิญความท้าทายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากความไม่แน่นอนในการเจรจาภาษีนำเข้าของสหรัฐฯกับคู่ค้า รวมถึงสงครามในตะวันออกกลางที่กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง ทำให้การคาดเดาทิศทางเศรษฐกิจและจับจังหวะตลาดเป็นเรื่องที่ยาก

อ่านต่อ >>

เลือกประกันโรคร้ายแรงให้รอดจากค่าใช้จ่ายอัลไซเมอร์ 

เมื่อพูดถึงเหตุผลของการมีประกันโรคร้ายแรงเพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสุขภาพ เรามักจะคิดถึงโรคที่มีผลร้ายแรงแบบเฉียบพลันจนถึงแก่ชีวิต หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, ทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มโรคข้างต้นทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เมื่อปี 2021 พบสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs กว่า 80%

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า