วางแผนเกษียณดี มี Passive Income รับอายุยืน 100 ปี

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1643259202970

เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายปี คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงแนวทางการลดหย่อนภาษีวิธีต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันบำนาญ โดยประกันแต่ละประเภทก็จะมีวงเงินสูงสุดที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ต่างกัน และมอบความคุ้มครองที่แตกต่างกัน ดังนั้น สำหรับผู้ที่สนใจจึงจำเป็นจะต้องศึกษาในรายละเอียดของแบบกรมธรรม์ และสำรวจความต้องการของท่านก่อนตัดสินใจเลือกซื้อประกัน เพื่อที่จะได้รับทั้งสิทธิประโยชน์ทางภาษี ไปพร้อมๆ กับความคุ้มครองที่คุ้มค่า 

ทุนประกันเท่าไรถึงจะครอบคลุม

เพื่อเริ่มต้นการพิจารณาเลือกซื้อประกันให้เหมาะสมกับคุณ ผมขอแนะนำหลักการในการกำหนดทุนประกันแบบเบื้องต้น เพื่อใช้ในการประเมินทุนประกันตามความเหมาะสมที่ควรจะมี โดยจะใช้แนวความคิดเรื่องความจำเป็น (Needs Approach) ที่ทำประกันเพื่อครอบคลุมเรื่องต่างๆ  ทั้งการคุ้มครองภาระหนี้สิน การคุ้มครองรายได้ในช่วงการปรับตัวของครอบครัว หากเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เช่น การสูญเสียผู้นำครอบครัวแบบไม่ทันตั้งตัว ซึ่งจะรวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าเล่าเรียนบุตร และค่ารักษาพยาบาลสำหรับครอบครัว เป็นต้น

วิธีการคำนวณทุนประกันที่เหมาะสม จะเท่ากับความต้องการทางการเงินพื้นฐานทั้งหมดที่กล่าวมา ลบด้วย มูลค่าปัจจุบันของทรัพย์สินที่มีอยู่ และความคุ้มครองที่ทำไว้แล้ว จากนั้นจึงเลือกแบบประกัน

ค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายต่อปี เท่าไรถึงจะรับไหว?

ส่วนค่าเบี้ยประกันที่จะต้องชำระสำหรับคนมีครอบครัว ควรอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 10 – 15% ของรายได้ เพราะถ้าหากเกินกว่านั้น อาจทำให้เบี้ยประกันที่ต้องชำระเป็นภาระที่หนักเกินไป

แต่หากเป็นกลุ่มที่ยังไม่มีครอบครัว ค่าเบี้ยประกันต่อปีไม่ควรเกิน 15 – 20% ของรายได้  มิฉะนั้นอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตได้ เนื่องจากเบี้ยประกันส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายระยะยาว ซึ่งหากจ่ายเบี้ยที่สูงเกินไปก็อาจจะกลายเป็นภาระในอนาคต

วัยเก๋ากับการวางแผนเกษียณ

นอกจากในช่วงวัยหนุ่มสาวที่มีความจำเป็นในด้านการวางแผนคุ้มครองภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว อีกวัยหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมากต่อการเตรียมเงินทุนสำหรับใช้จ่าย นั่นคือ วัยสูงอายุ โดยปกติแล้วรายได้จะหมดไปหลังจากการเกษียณอายุ แต่ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณเพื่อตอบสนอง Needs ยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง

ยิ่งไปกว่านั้นในภาวะปัจจุบันที่เทคโนโลยีการแพทย์มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก จนทำให้อายุขัยของคนในยุคนี้อาจสูงถึง 100 ปี และจากสถิติในปี 2019 พบว่า 80% ของผู้สูงวัยในประเทศไทยมีเงินไม่พอใช้หลังเกษียณ ดังนั้น การวางแผนเกษียณเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงจัดเป็น Needs สำคัญที่ประมาทไม่ได้เลย

ยังหนุ่มสาว แต่ก็ควรเริ่มวางแผนเกษียณ

การวางแผนวัยเกษียณให้ครอบคลุมนั้น ควรเริ่มพิจารณาตั้งแต่ช่วงอายุ 30 – 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นวัยที่เข้าสู่ความมั่นคงที่สุดของชีวิต ด้วยฐานเงินเดือนที่สูงขึ้น และที่สำคัญ หากคุณเป็นมนุษย์เงินเดือน คุณจะเหลือเวลาสร้างรายได้อีกไม่มากนัก ดังนั้น การวางแผนเกษียณตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นตัวช่วยลดความเสี่ยงชั้นดี ซึ่งหนึ่งในวิธีบริหารความเสี่ยงที่เรียบง่าย แต่ทรงพลัง คือการใช้ประกันบำนาญ สำหรับเข้ามามีบทบาทเป็นแหล่งสร้างกระแสเงินสด (Passive Income) หลังเกษียณ

โดยทั่วไปแล้วประกันบำนาญจะจ่ายเงินบำนาญตั้งแต่อายุ 55 – 85 ปี แต่ยังมีแบบประกันบำนาญบางแบบที่มีการจ่ายเงินจนอายุ 99 ปีด้วย ซึ่งถือว่าเป็นผลประโยชน์ที่ตกแก่ผู้ทำประกัน โดย Passive Income ที่จะได้จากประกันบำนาญนั้น จะช่วยให้ผู้ทำประกันมีโอกาสที่จะใช้เงินได้ยาวนานขึ้น และหากมีการประเมินจำนวนเงินที่ต้องการใช้หลังเกษียณอย่างครอบคลุมและวางแผนค่าใช้จ่ายอย่างดีแล้วละก็ จะยิ่งช่วยแก้ปัญหาการมีเงินไม่พอใช้หลังเกษียณของสังคมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วางแผนเกษียณ + ลดหย่อนภาษี

นอกจากประกันบำนาญจะทำหน้าที่เป็น Passive Income หลังเกษียณแล้ว ผู้ทำประกันจะได้รับประโยชน์ในปัจจุบันอีกด้วย นั่นคือสิทธิลดหย่อนภาษีจากเงินที่ใช้จ่ายเป็นเบี้ยประกันบำนาญ ซึ่งสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อรวมกับ RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน และกองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และกำหนดช่วงอายุการจ่ายเงินเป็น 55 – 85 ปี หรือมากกว่านั้น และจะต้องจ่ายให้เบี้ยครบก่อนได้รับผลประโยชน์

อย่างไรก็ดี กฎหมายกำหนดให้สามารถนำค่าใช้จ่ายเบี้ยประกันไปใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท หากไม่ได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนสำหรับประกันชีวิตแบบทั่วไป จะสามารถแบ่งเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปใช้สิทธิในส่วนของเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปให้ครบ 100,000 ได้ และนำสิทธิที่เหลืออีก 200,000 มาใช้กับจำนวนเงินที่ใช้ซื้อประกันบำนาญ

จะเห็นได้ว่า ผลประโยชน์นอกจากจะมี Passive Income หลังเกษียณแล้ว จะยังสิทธินำจำนวนเงินที่จ่ายเบี้ยประกันบำนาญมาใช้ลดหย่อนภาษีในปัจจุบันอีกด้วย ซึ่งถือเป็นผลประโยชน์ 2 ส่วนเลยทีเดียว

ทั้งนี้ หากต้องการคำปรึกษาด้านการทำประกันที่เหมาะสมกับตัวเอง รวมถึงเลือกซื้อประกันตัวท็อปแบบไม่จำกัดค่าย สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา  หรือ โทร 02-633-6060 หรือหากท่านใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตนเอง สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ [email protected]  ครับ

===================================

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Invest in Health ใน Wealthy Thai

บทความล่าสุด

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า