เปลี่ยนมุมมอง ปรับแนวคิด เตรียมเงินเกษียณด้วยหุ้น Megatrends

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1676263712738

                     สำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ผู้สูงอายุไทยกว่า 90% ไม่สามารถเกษียณอายุได้จริง  แต่กลับยังต้องทำงานหารายได้แม้หลังรีไทร์แล้ว ในขณะเดียวกัน ด้วยอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 64 ปี ในปี 1980 เป็น 82 ปี ในปี 2050 นอกจากนี้ ค่ารักษาพยาบาลที่ปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8 – 10% ต่อปี ทำให้เราจำเป็นต้องเตรียมเงินจำนวนมากขึ้น เพื่อใช้ในช่วงหลังเกษียณอายุที่ยาวนานขึ้นนั่นเอง และด้วยความจำเป็นดังกล่าว ทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนแผนการเงินของเราให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งแผนประกันสุขภาพ-ประกันชีวิต แผนการลงทุน ตลอดจนแผนการเกษียณอายุและแผนมรดก

                   ในอดีตรายได้หลักของผู้สูงอายุมีที่มาจากบุตรและการทำงานของผู้สูงอายุเอง แต่จากโครงสร้างประชากรในปัจจุบันที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุคิดเป็น 15% จากจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 7% ในปี 2002 ทำให้ประชากรวัยทำงานต้องแบกภาระเลี้ยงดูผู้สูงอายุและเด็กเพิ่มขึ้น หรือที่เรียกว่า “อัตราการพึ่งพิง” โดยในปี 2560 ประชากรวัยทำงาน 100 คน ต้องรับภาระประชากรผู้สูงอายุและวัยเด็กราว 51 คน และคาดว่า จะเพิ่มเป็น 64 คน ในปี 2570 ทำให้ผู้สูงอายุจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาตัวเองมากขึ้น ดังนั้น การวางแผนการลงทุนในช่วงก่อนเกษียณอายุจึงมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก เพื่อให้เรามีเงินเพียงพอเมื่อถึงวันที่เราเกษียณอายุ

                  จากสถานการณ์ดังกล่าว การปรับเปลี่ยนการลงทุนจากแบบดั้งเดิมที่เน้นกระจายการลงทุน มาเป็นการลงทุนแบบพุ่งเป้าที่เน้นการลงทุนในกลุ่ม Megatrends อย่างกลุ่ม Technology หรือ Healthcare ซึ่งได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรและพฤติกรรมมนุษย์ จะช่วยเพิ่มผลตอบแทนให้กับพอร์ตการลงทุนโดยรวม ในขณะเดียวกัน การลงทุนเพื่อการเกษียณอายุที่มีระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนานจะช่วยลดความผันผวนของราคาหุ้นในระยะสั้นได้ อาทิ หากเราเริ่มต้นการลงทุนแบบวิธีดั้งเดิมที่เน้นกระจายการลงทุนในประเทศและกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วโลก ในดัชนี MSCI All Country World Index ด้วยเงิน 100 บาท เป็นระยะเวลา 25 ปี (1996 – 2022) จะทำให้เงินลงทุนของเราเพิ่มขึ้นเป็น 332.85 บาท หรือคิดเป็นอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้น (CAGR) 4.93% ต่อปี ในทางกลับกัน หากเรานำเงินจำนวนเท่ากันไปลงทุนในดัชนี MSCI Global Healthcare และ MSCI ACWI Information Technology จะทำให้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 756.77 บาท และ 1005.56 บาท ตามลำดับ หรือคิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้น (CAGR) 8.43% และ 9.67% ต่อปีตามลำดับ หรือมากกว่าการลงทุนแบบดั้งเดิมถึง 2 – 3 เท่า ดังแสดงในแผนภาพที่ 1

 

แผนภาพที่1: แสดงผลตอบแทนการลงทุนในดัชนี MSCI ACWI, MSCI WORLD HEALTHCARE, MSCI ACWI INFORMATION TECHNOLOGY ในปี 1996 – 2022

1676263806682

ที่มา: Bloomberg

                 จะเห็นได้ว่า การเปลี่ยนทางเลือกทางการลงทุนแบบดั้งเดิมที่เน้นการกระจายการลงทุนในหุ้นหลากหลายประเทศและหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่าการลงทุนแบบพุ่งเป้าที่เน้นการลงทุนในกลุ่ม Megatrends อย่างมาก โดยผลตอบแทนที่แตกต่างกันข้างต้นจะเป็นตัวแปรสำคัญที่กระทบต่อแผนเกษียณอายุว่า จะมีเงินเพียงพอเพื่อใช้ในช่วงหลังเกษียณอายุการทำงานหรือไม่

                 สำหรับการวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณอายุนั้น มีข้อได้เปรียบที่สำคัญ คือ ระยะเวลาการเตรียมตัวหรือลงทุนที่นาน ทำให้เราสามารถวางเงินลงทุนไว้ในประเทศหรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอนาคต หรือ Megatrends ซึ่งจะส่งผลต่อผลตอบแทนคาดหวังจากการลงทุนที่สูงกว่าการลงทุนแบบดั้งเดิม อีกทั้งยังช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ง่ายและเร็วขึ้นอีกด้วย

===================================

โดย วิศรุต จารุอนันตพงษ์ AFPT

Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

บทความล่าสุด

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า