Stagflation is coming หุ้นกลุ่มไหนวิ่งชนะตลาด?

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1697525959268

ช่วงไตรมาส 4/2023 ตลาดหุ้นกำลังเดินหน้าเข้าสู่ภาวะ Stagflation หรือช่วงที่ “เงินเฟ้อกลับมาสูง แต่เศรษฐกิจเติบโตต่ำ” จากการศึกษาผลตอบแทนในอดีต พบว่าตลาดหุ้น S&P500 มักให้ผลตอบแทนที่ติดลบในสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะกับหุ้นกลุ่มวัฏจักร (Cyclical Stocks) ที่ผลประกอบการมักอิงกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น Financials, Real Estate และ Consumer Discretionary อย่างไรก็ตาม ยังมีหุ้นบางกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังสร้างผลตอบแทนเป็นบวกในสภาวะที่ยากลำบากนี้ได้ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่ม Healthcare ที่รายได้มักจะไม่ผันผวนไปตามเศรษฐกิจและมีอำนาจในการปรับขึ้นราคาสินค้า (Pricing Power) ในช่วงที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้กำไรของหุ้นกลุ่ม Healthcare สามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง และมักเป็นหุ้นที่สร้างผลตอบแทนชนะตลาดได้ในภาวะ Stagflation

ปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อในช่วงไตรมาส 4/2023 มีโอกาสกลับมาเร่งตัวขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาด เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ราคาน้ำมัน (WTI) ที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วจนแตะระดับ 90 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. ปี 2022 จากการต่ออายุมาตรการลดกำลังการผลิตของบรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก รวมไปถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตร อันสืบเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอล นีโญ่ (El Nino) ที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง ซึ่งปรับการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจนนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในภาพรวม (Cost-Push Inflation)

ในขณะเดียวกัน ผลกระทบจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดตลอดระยะเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมาของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก 0.5% สู่ระดับ 5.5% ได้เริ่มส่งผ่านไปยังเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้โอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะต้องเผชิญกับภาวะ Stagnation หรือ ภาวะที่เศรษฐกิจเติบโตต่ำยังคงมีอยู่ โดยในปัจจุบันตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯหลายตัวเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลงแล้ว เหลือเพียงตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm Payrolls) เท่านั้นที่ยังแข็งแกร่ง แต่แนวโน้มของตัวเลขดังกล่าวก็เริ่มมีทิศทางที่ชะลอตัวลงสอดคล้องกับการเกิดเศรษฐกิจถดถอยในอดีต ทำให้เราประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯยังมีโอกาสเข้าสู่ภาวะ Recession ได้ในช่วงต้นปี 2024

ในสภาวะที่ต้นทุนการผลิตปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากเงินเฟ้อ ถูกซ้ำเติมด้วยรายได้ของกิจการที่มีแนวโน้มชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย หุ้นกลุ่ม Healthcare ถือเป็นกลุ่มที่สามารถทนทานต่อสภาวะดังกล่าวได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ รายได้มีความแข็งแกร่ง เนื่องจากขายสินค้าจำเป็น ทำให้ความต้องการสินค้าไม่ชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจ นอกจากนี้ บริษัทในอุตสาหกรรมมักมีการพัฒนานวัตกรรมการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทมีอำนาจในการปรับขึ้นราคาสินค้า (Pricing Power) ในช่วงที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น สะท้อนผ่านตัวเลขอัตรากำไร (Profit margin) ที่อยู่ในระดับสูงและมีความสม่ำเสมอ หุ้นกลุ่ม Healthcare จึงมักสร้างผลตอบแทนชนะตลาดได้ในภาวะ Stagflation

นับตั้งแต่ต้นปี หุ้นกลุ่ม Healthcare เผชิญแรงกดดันในระยะสั้นที่ตลาดกังวลว่าบริษัทในอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบจากการที่รัฐบาลสหรัฐฯสั่งควบคุมราคายาภายใต้ IRA (Inflation Reduction Acts) ทำให้ตลาดประเมินอัตราการเติบโตของกำไรกลุ่ม Healthcare หดตัวถึง -14.4% YoY ในปี 2023 ประเด็นดังกล่าวได้ทำให้ราคาหุ้นกลุ่ม Healthcare ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้น้อยกว่าดัชนี S&P500

หากมองข้ามไปที่ปี 2024 ที่กำลังจะมาถึง นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่ากำไรของหุ้นกลุ่ม Healthcare จะกลับมาขยายตัว +13.3% YoY ได้อีกครั้ง นับเป็นอัตราการเติบโตที่สูงกว่าบริษัทใน S&P500 ที่มีแนวโน้มขยายตัว +12.2% YoY โดยตลาดมีมุมมองว่า การปรับลดราคายาน่าจะส่งผลกระทบจำกัดและมองว่าบริษัทกลุ่ม Healthcare ยังสามารถวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อทดแทนรายได้ที่ขาดหายไปได้ ปัจจุบันหุ้นกลุ่ม Healthcare ยังมี Valuation ที่ไม่สูงและต่ำกว่าภาพรวมตลาด สะท้อนจากค่า Forward PE ที่อยู่เพียงแค่ 17 เท่า ต่ำกว่าดัชนี S&P500 ที่ซื้อขายกันที่ Forward PE 18 เท่า 

ดังนั้น ในช่วงไตรมาส 4/2023 ที่ตลาดหุ้นกำลังเดินหน้าเข้าสู่ภาวะ Stagflation เราแนะนำให้เลือกลงทุนเฉพาะรายอุตสาหกรรม โดยเน้นไปที่หุ้นกลุ่ม Healthcare ที่ผลกำไรมีความแข็งแกร่งและมี Valuation ถูกกว่าตลาด ซึ่งจะทำให้พอร์ตการลงทุนสร้างผลตอบแทนชนะตลาดและก้าวข้ามผ่านภาวะตลาดที่ยากลำบากในช่วง Stagflation ไปได้

บทความโดย ภาคภูมิ พีรยวัฒนา AFPT™

Wealth manager ธนาคารทิสโก้

เผยแพร่ครั้งแรกที่ Facebook : TNN Wealth

บทความล่าสุด

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า