stick with the winners เกาะติดธีมกองทุนตัวแม่ – รับกระแสปัจจัยบวก

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1649124419956 1

เดือน เม.ย. นักลงทุนยังมีโอกาสเดินเกมรุกเข้าลงทุน ในจังหวะที่ตลาดปรับตัวลดลง โดยเฉพาะ“กองทุนตัวแม่” ที่พร้อมจะเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทน จากข่าวหนุนแบบเฉพาะตัว !!! 

ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารทิสโก้ ได้แนะนำให้นักลงทุน “Buy the dip” ซื้อกองทุนรวมในช่วงที่ราคาปรับตัวลดลง เพื่อรอจังหวะทำกำไรในช่วงขาขึ้น

และมาถึงในเดือน เม.ย.นี้ ยังคงเน้นย้ำ คำแนะนำให้นักลงทุน “Keep Calm & Buy the dip” ต่อ นั่นก็เป็นเพราะ ธนาคารทิสโก้มองว่า หลังจากนี้อาจจะมีสิ่งที่ตลาดคาดไม่ถึงเกิดขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากที่ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ อาจประกาศตัวเลขดัชนีที่สะท้อนถึงทิศทางเศรษฐกิจที่ไม่สดใสเท่าที่ควร โดยเฉพาะตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core Consumer Price Index (CPI) , รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคการผลิต (Manufacturing Purchasing Manager Index (PMI) 

… และนี่เองอาจเป็นตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้ตลาดปรับตัวลดลงอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม !!! ในเดือนเม.ย.นี้ ธนาคารทิสโก้ ไม่ได้แนะนำให้เพียง “Keep Calm & Buy the dip” เท่านั้น  แต่เราอยากให้ Stick with the winners. หรือ เรียกง่ายๆก็คือต้อง “เกาะติดธีมกองทุนตัวแม่” ซื้อกองทุนที่มีปัจจัยเด่นเฉพาะตัว เพื่อรอจังหวะสร้างผลตอบแทนในอนาคต โดยมีธีมที่น่าสนใจดังนี้

ประเทศเอเชียเงินเฟ้อไม่สูง : ดำเนินนโยบายผ่อนคลายได้ดี โตมีเสถียรภาพ

ในจังหวะที่ตลาดปรับตัวลดลง ธีมการลงทุนในประเทศที่เงินเฟ้อไม่สูง ทำให้ธนาคารกลางยังสามารถดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลายต่อไปได้ สวนทางกับบางประเทศที่ต้องเปลี่ยนนโยบายเป็นเข้มงวดเนื่องจากเงินเฟ้อที่สูงค้ำคอ  และยังเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ นับเป็นธีมที่น่าสนใจเข้าลงทุน

มี 3 ประเทศที่โดดเด่นอย่างมาก นั่นก็คือ

1.ประเทศจีน : ที่มีข่าวบวกรออยู่มาก เป็นผลมาจากการประชุมคณะกรรมการความมั่นคงทางการเงิน และการพัฒนาที่อยู่ภายใต้สภาแห่งรัฐของจีน (China’s State Council) เมื่อวันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งทางการจีนได้ให้คำมั่นไว้หลายข้อในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจสำหรับการลงทุน คือ

  • การประกาศว่าจะรักษาเสถียรภาพของตลาดการเงิน ผ่านการกระตุ้นการสื่อสารและการประสานงานระหว่างหน่วยงานกำกับดูแล ของจีนแผ่นดินใหญ่และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (HKSAR)

  • สนับสนุนการจดทะเบียนหุ้นในต่างประเทศ โดยระบุว่ามี ความคืบหน้าเชิงบวกในการเจรจาเกี่ยวกับบริษัทจีนที่จดทะเบียนในตลาดสหรัฐฯ และเสริมว่าทั้งสองฝ่ายกำลัง เจรจาเพื่อกำหนดแผนความร่วมมือโดยละเอียด(1)

    ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้ นับว่าเป็นข่าวเชิงบวกอย่างมาก ทั้งในแง่จิตวิทยาการลงทุน และธุรกิจในประเทศจีน

2.ประเทศเวียดนาม : อีกหนึ่งในประเทศที่มีความโดดเด่นทางด้านเศรษฐกิจ โดยเห็นได้จากคาดการณ์ของ IMF ที่ระบุว่า เศรษฐกิจของประเทศเวียดนามในปี 2565 จะขยายตัวได้ 6.6% และธนาคารกลางยังมีแนวโน้มที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 4% ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี(2)

ไม่เพียงเท่านี้ เวียดนามยังมีความโดดเด่นในฐานะที่เป็นประเทศที่มีเงินฟ้อต่ำอีกด้วย โดยในเดือนมี.ค.มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.41% (3) ขณะเดียวกันเวียดนามยังมีโครงสร้างประชากรวัยแรงงานในสัดส่วนสูง โดยข้อมูลล่าสุดในปี  2020 มีค่าเฉลี่ยอยู่อายุที่ประมาณ 15-64 ปี คิดเป็น 68.94%ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งนับเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้อย่างดี (4)

3.ญี่ปุ่น : จัดอยู่ในประเทศพัฒนาแล้วที่มีเงินเฟ้อไม่สูงนัก ทำให้ไม่ถูกกดดันให้ดำเนินนโยบายแบบเข้มงวด และตามสถิติมัก perform ได้ดีในช่วงที่สหรัฐฯ ใช้นโยบายดอกเบี้ยขาขึ้น (5) อีกด้วย 

นอกจากนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นในไตรมาส 2 สะท้อนได้จากข้อมูลการเดินทางของ Google’s Mobility Trends และข้อมูลการค้นหาร้านอาหารที่เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น และหากสถานการณ์การแพร่ระบาดดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รัฐบาลน่าจะนำมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวอย่าง Go to Travel กลับมาใช้ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ด้วย (6)

Future trend of technology : ธุรกิจที่ไม่กระทบ ภายใต้ข่าวลบเรื่องพลังงาน

ภายใต้บรรยากาศอึมครึมของสงครามรัสเซีย – ยูเครนที่ผ่านมา ได้สร้างผลกระทบต่อ “ต้นทุนราคาน้ำมัน”ของหลายธุรกิจทั่วโลก เนื่องจากรัสเซียเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก 

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Future trend of technology ซึ่งประกอบด้วยหลายธุรกิจ เช่น ธุรกิจประมวลผลข้อมูล ธุรกิจผู้ให้บริการเชื่อมต่อแบบ real time ธุรกิจ Virtual Platforms ธุรกิจที่สร้างเครื่องมือให้ผู้คนทำงานร่วมกัน ฯลฯ กลับไม่ได้รับผลกระทบด้านต้นทุนทางการเงินเหมือนเช่นธุรกิจโดยทั่วไปที่ต้องพึ่งพาน้ำมัน เพราะ Future trend of technology เป็นการทำธุรกิจในโลกดิจิทัลเป็นหลัก ดังนั้นกลุ่มธุรกิจนี้ จึงได้รับแรงกระแทกจากข่าวลบเรื่องน้ำมันน้อยกว่าธุรกิจอื่นๆ 

ไม่เพียงแค่นี้ กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีแห่งอนาคต ยังมีแนวโน้มสดใส โดยมีการคาดการณ์ว่า ขนาดของตลาด Metaverse ซึ่งประกอบด้วยหลากหลายธุรกิจ จะมีรวมมีมูลค่าถึง 8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(7) ในปี 2567 อีกด้วย 

แบรนด์ระดับโลก : โตดี แม้เศรษฐกิจผันผวน

ถ้าความกังวลเรื่อง “ความผันผวน” เป็นประเด็นหลัก …ธุรกิจแบรนด์ระดับโลก เป็นหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ได้ โดยคุณวรสินีให้ความเห็นว่า แม้ว่ากลุ่มแบรนด์ระดับโลกจะไม่ใช่ธุรกิจที่ปรับตัวขึ้นได้อย่างทันทีทันใดในช่วงที่ตลาดฟื้น แต่ธุรกิจนี้น่าสนใจในเรื่อง “ค่าความผันผวนที่ค่อนข้างน้อย” อีกทั้งยังมีโอกาสเติบโตได้ดี แม้จะเป็นช่วงที่โลกอยู่ในภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้าปรับตัวขึ้น แต่ผู้บริโภคก็ยังมีความต้องการสินค้า และบริการของแบรนด์เหล่านี้ 

ทั้งหมดนี้เอง จึงส่งผลให้แบรนด์ระดับโลกหลายบริษัทมีงบการเงินที่ดี มีแนวโน้มการเติบโตของรายได้และกำไรสูง และยังเป็นธุรกิจที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงด้วย

….หากคุณสนใจกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในแบบที่เราแนะนำ “เพื่อเกาะติดกองทุนตัวแม่ – ดักกระแสเทรนด์บวก” สามารถคลิกลิงก์ด้านล่าง เพื่อติดตามรายละเอียดกองทุนรวมที่เราคัดสรร หรือสามารถกรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ

บทความโดย : คุณวรสินี เศรษฐบุตร ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์กองทุน

และสื่อสารการตลาด สายธุรกิจธนบดี ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)

———————————————————————————– 

ที่มา

1.” การประชุมคณะกรรมการความมั่นคงทางการเงิน และการพัฒนาที่อยู่ภายใต้สภาแห่งรัฐของจีน” (TIPS, April 2022) 

2. “ธ.ทิสโก้ชี้หุ้นใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว แนะช้อนซื้อหุ้นประเทศเด่น และ 2 กลุ่มธุรกิจ สู้เงินเฟ้อ”, ข่าวประชาสัมพันธ์ (https://www.tisco.co.th/th/news/personal/2020-03-01-tisco-recommends-buy-2-business-groups-to-fight-inflation.html)

3. “Vietnam Inflation rate” tradingeconomics.com ,29 Mar 2022 (https://tradingeconomics.com/vietnam/inflation-cpi

4. “Vietnam: Age structure from 2010 to 2020” www.statista.com, 8 Feb 2022  (https://www.statista.com/statistics/444599/age-structure-in-vietnam/)

5.”European & Japanese equities outperformed in past tightening cycles while EM stocks sold off as USD strengthened”, Bloomberg, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)

6. The Metaverse growth, 2020-2024, Bloomberg (www.bloomberg.com)

=======================

1649124940546 1
บทความล่าสุด

จับจังหวะความผันผวนระยะสั้น ช่วยเสริมพอร์ตเติบโตระยะยาว

สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางกลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง หลังอิสราเอลและอิหร่านตอบโต้กันด้วยปฏิบัติการทางทหารอย่างรุนแรงที่สุดในรอบหลายปี ส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนหนัก ทั้งราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ราคาทองคำที่แตะระดับสูงสุดใหม่ ภาพลงทุนเข้าสู่โหมดตั้งรับความเสี่ยง (Risk off) หุ้นส่วนใหญ่ถูกเทขายจากความกังวล

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตลงทุน สู้ศึกครึ่งปีหลัง 2025

เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังปี 2025 สถานการณ์การลงทุนทั่วโลกยังคงเผชิญความท้าทายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากความไม่แน่นอนในการเจรจาภาษีนำเข้าของสหรัฐฯกับคู่ค้า รวมถึงสงครามในตะวันออกกลางที่กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง ทำให้การคาดเดาทิศทางเศรษฐกิจและจับจังหวะตลาดเป็นเรื่องที่ยาก

อ่านต่อ >>

เลือกประกันโรคร้ายแรงให้รอดจากค่าใช้จ่ายอัลไซเมอร์ 

เมื่อพูดถึงเหตุผลของการมีประกันโรคร้ายแรงเพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสุขภาพ เรามักจะคิดถึงโรคที่มีผลร้ายแรงแบบเฉียบพลันจนถึงแก่ชีวิต หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, ทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มโรคข้างต้นทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เมื่อปี 2021 พบสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs กว่า 80%

อ่านต่อ >>

จับจังหวะความผันผวนระยะสั้น ช่วยเสริมพอร์ตเติบโตระยะยาว

สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางกลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง หลังอิสราเอลและอิหร่านตอบโต้กันด้วยปฏิบัติการทางทหารอย่างรุนแรงที่สุดในรอบหลายปี ส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนหนัก ทั้งราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ราคาทองคำที่แตะระดับสูงสุดใหม่ ภาพลงทุนเข้าสู่โหมดตั้งรับความเสี่ยง (Risk off) หุ้นส่วนใหญ่ถูกเทขายจากความกังวล

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตลงทุน สู้ศึกครึ่งปีหลัง 2025

เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังปี 2025 สถานการณ์การลงทุนทั่วโลกยังคงเผชิญความท้าทายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากความไม่แน่นอนในการเจรจาภาษีนำเข้าของสหรัฐฯกับคู่ค้า รวมถึงสงครามในตะวันออกกลางที่กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง ทำให้การคาดเดาทิศทางเศรษฐกิจและจับจังหวะตลาดเป็นเรื่องที่ยาก

อ่านต่อ >>

เลือกประกันโรคร้ายแรงให้รอดจากค่าใช้จ่ายอัลไซเมอร์ 

เมื่อพูดถึงเหตุผลของการมีประกันโรคร้ายแรงเพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสุขภาพ เรามักจะคิดถึงโรคที่มีผลร้ายแรงแบบเฉียบพลันจนถึงแก่ชีวิต หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, ทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มโรคข้างต้นทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เมื่อปี 2021 พบสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs กว่า 80%

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า