ธ.ทิสโก้แนะ ขายบอนด์ไทย ซื้อบอนด์โลก เน้นอันดับเรตติ้ง A+ ขึ้นไป

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1694081553123

ธนาคารทิสโก้แนะขายตราสารหนี้ไทยซื้อตราสารหนี้โลก เพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนสูงประมาณ 5% ขณะที่ตราสารหนี้ไทยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพียง 2% พร้อมเชียร์ให้เลือกซื้อเฉพาะตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit rating) ในกลุ่มระดับลงทุน หรือ Investment grade (IG) ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือสูงระดับ A+ ขึ้นไป ลดเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย

นายณัฐกฤติ เหล่าทวีทรัพย์ ผู้อำนวยการอาวุโสที่ปรึกษาการลงทุนทิสโก้เวลธ์ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากที่ธนาคารกลางทั่วโลกได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อที่พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี ทำให้อัตราผลตอบแทนปัจจุบัน (Current Yield) ของกองทุนรวมตราสารหนี้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐฯ ยุโรป และอังกฤษ ได้ปรับตัวขึ้นมาสูงประมาณ 5% ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าอัตราผลตอบแทนปัจจุบันของกองทุนรวมตราสารหนี้ไทยส่วนมากอยู่ที่เพียงประมาณ 2% เท่านั้น ธนาคารทิสโก้จึงแนะนำให้นักลงทุนขายกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ไทย และโยกเงินมาลงทุนในกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้โลก เพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่น่าสนใจ อีกทั้งควรเลือกลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้อายุเฉลี่ยตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เพื่อรับส่วนต่างจากราคาหน้าตั๋วหากอัตราดอกเบี้ยกลับมาเป็นขาลงในอนาคต

“การเลือกลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้มักจะสร้างผลตอบแทนที่ดีในช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย อีกทั้งยังช่วยจำกัดความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุนอีกด้วย ซึ่งธนาคารทิสโก้มองว่า กองทุนรวมตราสารหนี้ที่น่าสนใจลงทุนในช่วงนี้ คือกองทุนรวมตราสารหนี้โลก “Global bond” ที่เน้นลงทุนในกลุ่มตราสารหนี้ประเทศพัฒนาแล้ว และได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit rating) โดยรวมอยู่ในกลุ่มระดับลงทุน (Investment grade) และหลีกเลี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้กลุ่มต่ำกว่าระดับลงทุน (Non-Investment Grade) หรือ High Yield bond เพื่อลดความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ในช่วงที่เศรษฐกิจอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2567” นายณัฐกฤติกล่าว

สำหรับการเลือกลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ หรือการลงทุนโดยตรงในตราสารหนี้นั้น นอกจากนักลงทุนควรพิจารณาอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้แล้ว ยังควรพิจารณาอีก 2 ประเด็นก่อนตัดสินใจลงทุน ได้แก่

1. Credit rating หรืออันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ ในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก นักลงทุนควรเน้นลงทุนในกลุ่ม Investment grade ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ระดับ AAA ถึง A+ เพราะผู้ออกตราสารมีฐานะทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ที่สูงจึงมีความเสี่ยงต่ำ และควรหลีกเลี่ยงกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ลงทุนใน High Yield Bond หรือตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า BB+ เพราะผู้ออกตราสารหนี้มักจะมีฐานะการเงินอ่อนแอและมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ (Default) ที่มากกว่ากลุ่ม Investment grade ซึ่งข้อมูลในอดีตพบว่าในช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะวิกฤติตราสารหนี้ประเภท High Yield Bond มักให้ผลตอบแทนติดลบ เช่น ช่วงวิกฤต Dot-com ให้ผลตอบแทนติดลบ 4.47% วิกฤต COVID-19 ให้ผลตอบแทนติดลบ 11.15%

2. การพิจารณาอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ (Duration) หากอัตราดอกเบี้ยเป็นขาลง ควรเลือกลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ยาว เพื่อโอกาสในการรับส่วนต่างกำไร (Capital gain) เพราะราคาตราสารหนี้มักจะปรับตัวขึ้นสวนทางกับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง นอกจากนี้ ราคาของตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ยยาว มักจะสร้างส่วนต่างกำไรได้มากกว่าตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ยสั้น

บทความล่าสุด

จับจังหวะความผันผวนระยะสั้น ช่วยเสริมพอร์ตเติบโตระยะยาว

สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางกลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง หลังอิสราเอลและอิหร่านตอบโต้กันด้วยปฏิบัติการทางทหารอย่างรุนแรงที่สุดในรอบหลายปี ส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนหนัก ทั้งราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ราคาทองคำที่แตะระดับสูงสุดใหม่ ภาพลงทุนเข้าสู่โหมดตั้งรับความเสี่ยง (Risk off) หุ้นส่วนใหญ่ถูกเทขายจากความกังวล

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตลงทุน สู้ศึกครึ่งปีหลัง 2025

เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังปี 2025 สถานการณ์การลงทุนทั่วโลกยังคงเผชิญความท้าทายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากความไม่แน่นอนในการเจรจาภาษีนำเข้าของสหรัฐฯกับคู่ค้า รวมถึงสงครามในตะวันออกกลางที่กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง ทำให้การคาดเดาทิศทางเศรษฐกิจและจับจังหวะตลาดเป็นเรื่องที่ยาก

อ่านต่อ >>

เลือกประกันโรคร้ายแรงให้รอดจากค่าใช้จ่ายอัลไซเมอร์ 

เมื่อพูดถึงเหตุผลของการมีประกันโรคร้ายแรงเพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสุขภาพ เรามักจะคิดถึงโรคที่มีผลร้ายแรงแบบเฉียบพลันจนถึงแก่ชีวิต หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, ทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มโรคข้างต้นทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เมื่อปี 2021 พบสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs กว่า 80%

อ่านต่อ >>

จับจังหวะความผันผวนระยะสั้น ช่วยเสริมพอร์ตเติบโตระยะยาว

สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางกลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง หลังอิสราเอลและอิหร่านตอบโต้กันด้วยปฏิบัติการทางทหารอย่างรุนแรงที่สุดในรอบหลายปี ส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนหนัก ทั้งราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ราคาทองคำที่แตะระดับสูงสุดใหม่ ภาพลงทุนเข้าสู่โหมดตั้งรับความเสี่ยง (Risk off) หุ้นส่วนใหญ่ถูกเทขายจากความกังวล

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตลงทุน สู้ศึกครึ่งปีหลัง 2025

เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังปี 2025 สถานการณ์การลงทุนทั่วโลกยังคงเผชิญความท้าทายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากความไม่แน่นอนในการเจรจาภาษีนำเข้าของสหรัฐฯกับคู่ค้า รวมถึงสงครามในตะวันออกกลางที่กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง ทำให้การคาดเดาทิศทางเศรษฐกิจและจับจังหวะตลาดเป็นเรื่องที่ยาก

อ่านต่อ >>

เลือกประกันโรคร้ายแรงให้รอดจากค่าใช้จ่ายอัลไซเมอร์ 

เมื่อพูดถึงเหตุผลของการมีประกันโรคร้ายแรงเพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสุขภาพ เรามักจะคิดถึงโรคที่มีผลร้ายแรงแบบเฉียบพลันจนถึงแก่ชีวิต หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, ทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มโรคข้างต้นทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เมื่อปี 2021 พบสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs กว่า 80%

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า