กลยุทธ์ลงทุน 2024: The Winners in the Downturn

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1703564550057

ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปี 2024 ยังคงชะลอตัวลงต่อเนื่องจากปี 2023 แต่ภาพของวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นในช่วงเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมากำลังสิ้นสุดลง และเรากำลังเข้าสู่ช่วงของการคงและปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลาง ในสถานการณ์นี้คาดว่าจะมีสินทรัพย์ที่เป็นผู้ชนะที่ชัดเจน คือ ตราสารหนี้ นอกจากนี้ยังมีสินทรัพย์รวมถึงกลุ่มหุ้นบางกลุ่มที่คาดว่ายังสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในปี 2024 นี้

การใช้นโยบายการเงินเพื่อกดดันความร้อนแรงของอัตราเงินเฟ้อ โดยเฉพาะการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางประเทศต่างๆในช่วงเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา นับเป็นการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดที่สุดในรอบหลายทศวรรษ และได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ รวมถึงผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนอย่างมาก อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องจากระดับ 9.1% ช่วงกลางปี 2022 สู่ระดับล่าสุดที่ 3.1% ในเดือน พ.ย.2023 ทำให้ความจำเป็นในการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐลดลง ในขณะเดียวกันภาพรวมเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงรวมถึงตลาดแรงงานที่เริ่มตึงตัวเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ธนาคารกลางต้องเริ่มปรับทิศทางของนโยบายการเงิน โดยในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) รอบล่าสุด (13ธ.ค.) ที่ประชุมมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25-5.50% และยังส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ยถึง 3 ครั้ง ในปี 2024

การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันใน 3 รอบการประชุม รวมถึงการส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยในปี 2024 เป็นการสะท้อนถึงการสิ้นสุดวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น และส่งผลให้อัตราผลตอนแทนพันธบัตร (Bond Yield) ปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว

การสิ้นสุดวัฏจักรของดอกเบี้ยขาขึ้น ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก จะมีทั้งผู้ชนะและผู้แพ้ในโลกการลงทุน โดยเราแบ่งธีมการลงทุนจากเหล่าผู้ชนะเป็น 3 ธีม ดังนี้

1. The Asset Winners

กลุ่มสินทรัพย์ที่มีกระแสเงินสดสม่ำเสมอ และเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์เมื่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรกลับทิศเป็นขาลง ได้แก่ ตราสารหนี้ และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

– การลงทุนในตราสารหนี้ในช่วงที่ดอกเบี้ยเริ่มกลับทิศเป็นขาลง จะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ทั้งจากการเพิ่มขึ้นของราคาพันธบัตร (Capital Gain) และยังได้จากอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Yield)

– กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (REITs) คล้ายคลึงกับการลงทุนในตราสารหนี้ตรงที่มีรายได้ในรูปปันผลชัดเจน และเมื่อดอกเบี้ยกลับตัวเป็นขาลงยิ่งทำให้ผลตอบแทนจากปันผลของรีทมีความน่าสนใจขึ้นเมื่อเทียบกับดอกเบี้ย  

2. The Sector Winners

กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความแข็งแกร่ง อัตราการเติบโตของรายได้ไม่ผันผวนไปตามภาวะเศรษฐกิจ แม้อยู่ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ได้แก่ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และหุ้นกลุ่มสุขภาพ

– กลุ่มเทคโนโลยีมีระดับราคาเทียบกับการเติบโต (PEG Ratio) ดีกว่าตลาดหุ้นโดยรวม และยังเป็นกลุ่มที่ได้รับการปรับประมาณการขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกกลุ่มอุตสาหกรรมเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง เช่น เทคโนโลยี AI ที่ประสบความสำเร็จในปี 2023

– กลุ่มสุขภาพ (Healthcare) เป็นกลุ่มที่มีความเป็น defensive ชัดเจน และมีนวัตกรรมจากการคิดค้นยา รักษาโรคชนิดใหม่ ทำให้ยังคงมีอัตราการเติบโตที่ดีแม้ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

3. The Country Winners 

ประเทศที่มีอัตราการเติบโตโดดเด่น ได้แก่ กลุ่มประเทศเอเชียเหนือ และประเทศเวียดนาม

– กลุ่มเอเชียเหนือ (North Asia) เป็นต้นน้ำสำคัญของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี โดยเฉพาะเกาหลีใต้ และไต้หวันที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายสำคัญของโลก ในขณะที่ภาพรวมของบริษัทจดทะเบียนเติบโตโดดเด่น โดยเฉพาะเกาหลีใต้ที่มีอัตราการเติบโตทางกำไรของบริษัทจดทะเบียน (EPS Growth) ปี 2024 สูงกว่า 50%

– ประเทศเวียดนาม มีความโดดเด่นในทั้งแง่อัตราการเติบโตและระดับราคา โดยเวียดนามตั้งเป้า GDP ที่ 6-6.5% และมีอัตราการเติบโตของบริษัทจดทะเบียน (EPS Growth) ปี 2024 สูงราว 30% ในขณะที่ยังซื้อขายในระดับราคาที่ค่อนข้างต่ำ

ดังนั้น ในปี 2024 ที่เศรษฐกิจชะลอตัว ดอกเบี้ยกลับทิศเป็นขาลง เรามองว่ากลุ่มตราสารหนี้ และ REITs มีความน่าสนใจมาก ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมอย่าง Healthcare และ Technology จะยังคงแข็งแกร่ง ส่วนกลุ่มประเทศที่น่าสนใจในแง่อัตราการเติบโตคือ กลุ่มเอเชียเหนือ และเวียดนาม

หากท่านใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตนเอง สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ prtisco@tisco.co.th  I

บทความโดย ณัฐพร ธรวงศ์ธวัช AFPT™

Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

เผยแพร่ครั้งแรก เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ

บทความล่าสุด

จับจังหวะความผันผวนระยะสั้น ช่วยเสริมพอร์ตเติบโตระยะยาว

สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางกลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง หลังอิสราเอลและอิหร่านตอบโต้กันด้วยปฏิบัติการทางทหารอย่างรุนแรงที่สุดในรอบหลายปี ส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนหนัก ทั้งราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ราคาทองคำที่แตะระดับสูงสุดใหม่ ภาพลงทุนเข้าสู่โหมดตั้งรับความเสี่ยง (Risk off) หุ้นส่วนใหญ่ถูกเทขายจากความกังวล

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตลงทุน สู้ศึกครึ่งปีหลัง 2025

เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังปี 2025 สถานการณ์การลงทุนทั่วโลกยังคงเผชิญความท้าทายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากความไม่แน่นอนในการเจรจาภาษีนำเข้าของสหรัฐฯกับคู่ค้า รวมถึงสงครามในตะวันออกกลางที่กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง ทำให้การคาดเดาทิศทางเศรษฐกิจและจับจังหวะตลาดเป็นเรื่องที่ยาก

อ่านต่อ >>

เลือกประกันโรคร้ายแรงให้รอดจากค่าใช้จ่ายอัลไซเมอร์ 

เมื่อพูดถึงเหตุผลของการมีประกันโรคร้ายแรงเพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสุขภาพ เรามักจะคิดถึงโรคที่มีผลร้ายแรงแบบเฉียบพลันจนถึงแก่ชีวิต หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, ทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มโรคข้างต้นทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เมื่อปี 2021 พบสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs กว่า 80%

อ่านต่อ >>

จับจังหวะความผันผวนระยะสั้น ช่วยเสริมพอร์ตเติบโตระยะยาว

สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางกลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง หลังอิสราเอลและอิหร่านตอบโต้กันด้วยปฏิบัติการทางทหารอย่างรุนแรงที่สุดในรอบหลายปี ส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนหนัก ทั้งราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ราคาทองคำที่แตะระดับสูงสุดใหม่ ภาพลงทุนเข้าสู่โหมดตั้งรับความเสี่ยง (Risk off) หุ้นส่วนใหญ่ถูกเทขายจากความกังวล

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตลงทุน สู้ศึกครึ่งปีหลัง 2025

เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังปี 2025 สถานการณ์การลงทุนทั่วโลกยังคงเผชิญความท้าทายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากความไม่แน่นอนในการเจรจาภาษีนำเข้าของสหรัฐฯกับคู่ค้า รวมถึงสงครามในตะวันออกกลางที่กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง ทำให้การคาดเดาทิศทางเศรษฐกิจและจับจังหวะตลาดเป็นเรื่องที่ยาก

อ่านต่อ >>

เลือกประกันโรคร้ายแรงให้รอดจากค่าใช้จ่ายอัลไซเมอร์ 

เมื่อพูดถึงเหตุผลของการมีประกันโรคร้ายแรงเพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสุขภาพ เรามักจะคิดถึงโรคที่มีผลร้ายแรงแบบเฉียบพลันจนถึงแก่ชีวิต หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, ทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มโรคข้างต้นทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เมื่อปี 2021 พบสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs กว่า 80%

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า