ธ.ทิสโก้เชียร์ “คนรับความเสี่ยงต่ำ” ซื้อกองทุน Double Shark – Fin  ปกป้องเงินต้น หุ้นลงหรือขึ้นก็มีโอกาสสร้างกำไร  

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1678348203601 1

    ธนาคารทิสโก้แนะนักลงทุนรับความเสี่ยงได้น้อย รวมถึงกลุ่มคนที่ใกล้เกษียณ หรืออยู่ในวัยเกษียณ ซื้อกองทุนประเภท Double Shark – Fin เพื่อปกป้องเงินต้น พร้อมรับผลตอบแทนทั้งตลาดขาขึ้นและขาลงตามการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นอ้างอิง 

นายณัฐกฤติ เหล่าทวีทรัพย์ ผู้อำนวยการอาวุโสที่ปรึกษาการลงทุนทิสโก้เวลธ์ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า ธนาคารทิสโก้ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณ เข้าใจความต้องการของลูกค้าของกลุ่มที่รับความเสี่ยงได้น้อย รวมถึงกลุ่มลูกค้าใกล้จะเกษียณ และลูกค้าที่เกษียณอายุ ว่ายังคงมีความต้องการลงทุนในกองทุนที่มีโอกาสสร้างกำไรในระดับที่น่าสนใจ ในขณะเดียวกันก็มีความสามารถในการรับความเสี่ยงได้ต่ำ เพราะจะต้องนำเงินที่เก็บออมมาตลอดการทำงานมาใช้ในการดำรงชีวิตหลังจากนี้ หากเงินต้นดังกล่าวลดลงอาจทำให้เงินสำหรับใช้หลังเกษียณหมดเร็วกว่าแผนที่วางไว้ 

จากความต้องการดังกล่าว ธนาคารทิสโก้จึงแนะนำให้ลูกค้าที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ ลงทุนในกองทุนหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured Notes) แบบ Double Shark-Fin ซึ่งเป็นกองทุนลูกผสมที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ ผนวกกับตราสารอนุพันธ์ ทำให้กองทุนดังกล่าวมีคุณสมบัติที่พิเศษทั้งในแง่ของการปิดความเสี่ยงของเงินต้น พร้อมกับรับผลตอบแทนได้ทั้งตลาดหุ้นขาขึ้นและขาลง โดยเป้าหมายการลงทุนของกองทุนดังกล่าวจะแบ่งการทำงานออกเป็น  2 ส่วน ดังนี้

ส่วนแรก คือ การลดความเสี่ยงการขาดทุนเงินต้น ทำได้โดยการนำเงินลงทุนส่วนใหญ่ เช่น 98-99% ของเงินลงทุนทั้งหมดไปลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือระดับ Investment grade ขึ้นไป ดังนั้นเมื่อครบกำหนด กองทุนจะได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยและเงินต้นคืน ส่งผลให้เงินลงทุนในส่วนนี้เติบโตขึ้นเป็น 100% นั่นเท่ากับว่า สามารถปิดความเสี่ยงในการสูญเสียเงินลงทุนได้

ส่วนต่อมา คือ การสร้างผลตอบแทนที่สูง ด้วยการนำเงินลงทุนส่วนน้อย เช่น 1-2% ของเงินลงทุนทั้งหมด ไปลงทุนในตราสารอนุพันธ์ เช่น Option หรือ Warrant โดยสามารถเลือกสินทรัพย์อ้างอิงได้หลากหลายประเภท เช่น ดัชนีตลาดหุ้น กองทุนรวม ETF ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ หากราคาสินทรัพย์อ้างอิงมีการเคลื่อนไหวไปตามเงื่อนไขที่กองทุนกำหนดไว้ นักลงทุนก็มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากหรือตราสารหนี้ได้ ในทางกลับกัน หากราคาของสินทรัพย์อ้างอิงไม่เคลื่อนไหวไปตามเงื่อนไข ทำให้นักลงทุนก็ไม่ต้องเผชิญกับภาวะการขาดทุนและยังได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

“จะเห็นได้ว่า หัวใจสำคัญที่นักลงทุนได้จากการลงทุนในกองทุน Double Shark – Fin ก็คือ “การปกป้องเงินต้น” ไม่ว่าสินทรัพย์อ้างอิงจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใดและเท่าไร ในขณะเดียวกัน ยังเปิดโอกาสให้สามารถ “สร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้” ดังนั้น การลงทุนในกองทุนประเภทนี้ ทางเลือกใหม่ที่ตอบโจทย์ ใกล้อายุเกษียณหรือหลังเกษียณอายุที่ต้องปรับพอร์ตลดสินทรัพย์เสี่ยงลง อีกทั้งยังมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงได้ทั้งในภาวะตลาดหุ้นขาขึ้นและขาลงได้” นายณัฐกฤติกล่าว 

สำหรับตัวอย่างการสร้างผลตอบแทนของ กองทุน Double Shark – Fin นั้น ขอยกตัวอย่างกองทุน Dual Shark – Fin อายุ 1 ปีที่สินทรัพย์อ้างอิงเป็นดัชนี S&P500 โดยมีการกำหนดกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีไว้ที่ระหว่าง +20% กับ -20% อัตราการมีส่วนร่วม 50% และอัตราผลตอบแทนชดเชยที่ 0.25%

ผลลัพธ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นจากการลงทุนกองทุน Double Shark – Fin แบ่งได้ออกเป็น 2 กรณีหลัก ดังนี้ 

กรณีที่ 1 ดัชนี S&P500 เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบที่กำหนดไว้ระหว่าง +20% กับ -20% ณ วันสิ้นอายุโครงการ 

ยกตัวอย่างเช่น หากตลาดหุ้น S&P500 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 15% ผลตอบแทนที่ได้รับจะเท่ากับ 15% คูณกับอัตราการมีส่วนร่วม 50% นั่นก็คือ 7.5% และได้รับเงินต้นคืน

ในทางกลับกัน หากตลาดหุ้น S&P500 ปรับตัวลดลง -20% ผลตอบแทนที่ได้รับจะเท่ากับ 20% คูณกับอัตราการมีส่วนร่วม 50% นั่นก็คือ 10% และได้รับเงินต้นคืน

นั่นเท่ากับว่า นักลงทุนสามารถทำกำไรและรักษาเงินต้นได้ ไม่ว่าตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นหรือลง 

กรณีที่ 2 ดัชนี S&P500 เคลื่อนไหวทะลุกรอบ +20% กับ -20% ณ วันทำการใดวันทำการหนึ่งในช่วง 1 ปีที่ลงทุน 

จะเกิดกรณีที่เรียกว่า การ “Knock Out” โดยผลตอบแทนที่ได้จะเท่ากับอัตราผลตอบแทนชดเชยที่ 0.25% ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและได้รับเงินต้นคืน


————————————- 

บทความล่าสุด

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า