เปลี่ยนแนวคิดการวางแผนประกันให้ก้าวทัน Megatrend

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1655956515709

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า Megatrend ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ก็คือการที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ อันเนื่องมาจากแนวโน้มที่คนไทยมีลูกน้อยลงหรือเลือกครองชีวิตโสดมากขึ้น จนส่งผลให้อัตราการเกิดของคนไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างมาก ในขณะเดียวกัน นวัตกรรมทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้น ก็ทำให้คนมีอายุขัยที่ยืนยาวและทำให้จำนวนผู้สูงอายุในสังคมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เทรนด์เหล่านี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของคนไทยทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของการวางแผนทางด้านการเงินที่จะต้องเปลี่ยนไป ถือเป็นเรื่องที่ทุกคนจำเป็นต้องทำความเข้าใจและวางแผนรับมือ 

วางแผนสร้างเครื่องจักรผลิตเงินสดยามเกษียณ

ย้อนกลับไปในอดีต พ.ศ. 2505 คนไทยมีอายุเฉลี่ยเพียงแค่ 57 ปีเท่านั้น เป้าหมายหลักทางการเงินของคนในยุคนั้นจึงเป็นการทำงานสะสมความมั่งคั่งเพื่อส่งต่อไปให้ลูกหลาน ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงการวางแผนการเงินสำหรับชีวิตวัยเกษียณ นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่คนไทยมักนิยมทำ “ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์” เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ในการส่งต่อความมั่งคั่งได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้การทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์อาจจะไม่ตอบโจทย์กับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป เพราะคนไทยมีอายุขัยที่ยืนยาวขึ้น โดยในปัจจุบันปี พ.ศ. 2565 อายุขัยเฉลี่ยของคนไทยได้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 78 ปีแล้ว และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นไปได้ถึง 100 ปีได้ในอนาคต ทำให้คนไทยจะต้องหันมาคำนึงถึงคุณภาพชีวิตในวัยหลังเกษียณของตัวเองมากขึ้นและต้องการที่จะมีเงินใช้จ่ายอย่างเพียงพอไปตลอดช่วงชีวิตบั้นปลาย

เมื่อโจทย์ในวัยเกษียณเปลี่ยนไป เครื่องมือในการวางแผนเกษียณจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากการเน้นการทำ “ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์” มาเป็นการทำ “ประกันชีวิตแบบบำนาญ” ซึ่งเป็นประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันจ่ายเบี้ยประกันไปในช่วงก่อนเกษียณ เพื่อที่จะได้รับกระแสเงินสดอย่างสม่ำเสมอตลอดช่วงชีวิตหลังเกษียณจนกว่าจะเสียชีวิต โดยผู้เอาประกันสามารถเลือกรับกระแสเงินสดได้ทั้งแบบรายเดือนหรือรายปี เปรียบเสมือน “เครื่องจักรผลิตเงินสดในยามเกษียณ” ที่มีความแน่นอน ไม่ผันผวนตามสภาวะตลาด

เทคนิคในการเลือกประกันบำนาญ 3 ข้อ มีดังนี้

1.เลือกประกันบำนาญที่จ่ายผลประโยชน์ขณะดำรงชีวิต (Living Benefit) ในอัตราที่สูงและให้น้ำหนักกับผลประโยชน์ที่ได้รับหลังเสียชีวิต (Death Benefit) น้อยลง

2.เลือกประกันบำนาญที่มีอายุในการจ่ายเงินบำนาญยาวที่สุด เช่น ประกันบำนาญที่จ่ายเงินบำนาญให้กับเรายาวถึงอายุ 99 ปี

3.เลือกบริษัทประกันที่มีฐานะทางการเงินมั่นคง ยกตัวอย่างเช่น บริษัทที่มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (Capital Adequacy Ratio) ไม่ต่ำกว่า 140% รวมถึงบริษัทที่ไม่เคยมีปัญหาในการจ่ายค่าสินไหม เพราะการทำประกันชีวิตแบบบำนาญถือเป็นการทำสัญญาระยะยาว  

วางแผนปิดความเสี่ยงด้านค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น

นวัตกรรมทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้นในทุกวันนี้ แม้จะทำให้คนยุคใหม่สามารถหายขาดจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น มีอายุขัยที่ยืนยาวขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ตามมาด้วยค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดย Willis Towers Watson บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกเปิดเผยว่า ค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทย (Medical Inflation) ในช่วงปี พ.ศ. 2563 – 2565 นั้นได้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยถึง 9.8% ต่อปี นั่นหมายความว่า ทุก ๆ 7 ปี คนไทยจะต้องเผชิญกับค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวเลยทีเดียว

แน่นอนว่า คงไม่มีใครอยากที่จะควักเงินในกระเป๋าจำนวนหลักแสนหรือหลักล้านที่หามาด้วยความยากลำบากไปจ่ายให้กับโรงพยาบาลในวันที่ตัวเองเจ็บป่วย เพราะนอกจากจะเป็นการเผชิญวิกฤตทางด้านสุขภาพจากการเจ็บป่วยแล้ว ยังหมายถึงวิกฤตทางด้านการเงินของคุณและครอบครัวด้วยเช่นเดียวกัน

ดังนั้น การทำประกันสุขภาพที่มีทุนประกันสูงเพียงพอเพื่อความคุ้มครองที่ครอบคลุม จะเข้ามาช่วยปิดความเสี่ยงทางด้านการเงินและลดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องค่ารักษาพยาบาลลงได้อย่างมาก รวมถึงทำให้เราสามารถเข้าถึงนวัตกรรมการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพสูงได้ในยามเจ็บป่วย

เทคนิคในการเลือกประกันสุขภาพ 5 ข้อ มีดังนี้

1. เลือกแผนประกันสุขภาพที่มีวงเงินความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลขั้นต่ำราว 3 – 5 ล้านบาท สำหรับประกันแบบเหมาจ่ายต่อครั้ง และวงเงินขั้นต่ำ 10 ล้านบาท สำหรับประกันแบบเหมาจ่ายต่อปี

2. เลือกแผนประกันสุขภาพที่ครอบคลุมค่าห้องผู้ป่วยปกติอย่างน้อย 8,000 – 10,000 บาท

3. เลือกแผนประกันสุขภาพที่มีระยะเวลาความคุ้มครองได้ถึง 99 ปี

4. พิจารณาเบี้ยประกันไปจนถึงช่วงหลังเกษียณอายุ เพื่อประเมินความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันในช่วงที่เราไม่มีรายได้

5. คนที่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลอยู่แล้ว สามารถประหยัดเบี้ยประกันสุขภาพลงได้มากกว่าครึ่งด้วยการเลือกซื้อประกันสุขภาพที่มีเงื่อนไขการรับผิดส่วนแรก (Deductible)

สำหรับคนที่ถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพอยู่แล้วในปัจจุบัน ควรเสริมความคุ้มครองทางด้านสุขภาพให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วย “ประกันโรคร้ายแรง” ที่จ่ายผลประโยชน์แบบเป็น “เงินก้อน” ซึ่งเงินก้อนนี้จะทำหน้าที่ทั้งในแง่การชดเชยรายได้ที่อาจขาดหายไปจากการเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรง รวมถึงรองรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยจะต้องรับผิดชอบด้วยตัวเองหลังการรักษา (Out of Pocket Expense) เช่น ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าอุปกรณ์การแพทย์ ค่าเดินทางไปพบแพทย์เพื่อติดตามอาการ ตลอดจนค่าจ้างบุคลากรทางการแพทย์มาดูแล ฯลฯ

เทคนิคในการเลือกประกันโรคร้ายแรง 3 ข้อ มีดังนี้

1. เลือกแบบประกันโรคร้ายแรงที่จ่ายผลประโยชน์ตามระดับความรุนแรงของโรค โดยได้รับเงินก้อนทันทีเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรงและให้ความคุ้มครองตั้งแต่การเจ็บป่วยในระยะเริ่มต้น

2. เลือกแบบประกันโรคร้ายแรงที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้ง 8 กลุ่มโรคร้ายแรง (108 โรค) ทั้งนี้ หากมีการใช้สิทธิเคลมกลุ่มโรคหนึ่งไปแล้ว ผู้เอาประกันควรมีสิทธิที่จะเคลมกลุ่มโรคอื่น ๆ ได้ โดยไม่มีระยะเวลารอคอย

3. เลือกแบบประกันโรคร้ายแรงที่สามารถต่ออายุความคุ้มครองได้ยาวที่สุด เช่น แบบประกันที่ต่ออายุความคุ้มครองได้ถึงอายุ 98 ปี

การปูทางไปสู่อิสรภาพทางการเงินที่ยั่งยืนและชีวิตวัยหลังเกษียณที่มีคุณภาพภายใต้คอนเซป “Megatrends Retirement Planning” จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแผนปกป้องความมั่งคั่ง (Wealth Protection) เป็นหัวใจสำคัญ เพื่อเป็นการปิดความเสี่ยงทางด้านการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างหลักประกันที่มั่นคงให้กับชีวิตและสอดรับกับ Megatrend ของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป

===================================

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ I wish you wealth ใน โพสต์ทูเดย์

บทความล่าสุด

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า