โสดอย่างมั่นใจ วางแผนค่าใช้จ่ายวัยเกษียณ 

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1709882804543

ในยุคสมัยที่สังคมเปลี่ยนแปลง เศรษฐกิจผันผวน และทัศนคติต่อชีวิตคู่หลากหลาย การใช้ชีวิตโสดกลายเป็นเรื่องปกติที่พบเห็นได้ทั่วไป หลายคนเลือกโสดเพื่อมุ่งมั่นกับเป้าหมายส่วนตัว พัฒนาตนเอง และใช้ชีวิตอย่างอิสระ  

อย่างไรก็ตาม  “วัยเกษียณ”  ยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่คนโสดทุกคนต้องเผชิญ  โดยไม่สามารถพึ่งพาคู่ครองหรือบุตรหลาน  การวางแผนเกษียณอย่างรอบคอบ  จึงเป็นสิ่งที่ “จำเป็น”  สำหรับคนโสดต่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมั่นคง ไร้กังวลและมีความสุข โดยจะมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้  

เข้าใจตัวเอง : เป้าหมายและความต้องการในวัยเกษียณ

คุณอยากใช้ชีวิตตอนเกษียณแบบไหน?  

  • ไลฟ์สไตล์ : อยากใช้ชีวิตเรียบง่าย อยู่กับบ้าน หรือ ชอบออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ใช้งบประมาณที่แตกต่างกันพอสมควร  

  • ที่พักอาศัย : วางแผนอยู่กับครอบครัว อยู่บ้านคนเดียว หรือ บ้านพักคนชรา  

  • สุขภาพ: มีโรคประจำตัวที่ต้องดูแลไหม? ต้องการเตรียมแผนการรักษาอย่างไร มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?  

การตอบคำถามเหล่านี้ จะช่วยให้คุณกำหนด เป้าหมายวัยเกษียณ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  

ค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณ และ กำหนดเป้าหมายทางการเงิน

ค่าใช้จ่ายด้านไลฟ์สไตล์ 

1709882995160

ค่าใช้จ่ายด้านที่พักอาศัย 

1709883031615

ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ

1709883078678

ตัวอย่าง  :

ไลฟ์สไตล์ : ชีวิตเรียบง่าย ชอบอยู่กับบ้าน 

หากคุณต้องการเงินเพื่อไว้ใช้จ่ายเดือนละ 25,000 บาท หลังจากเกษียณอายุไปแล้ว ลองดูตัวอย่างด้านล่างนี้กันว่า เราจะต้องเก็บเงินประมาณเท่าไหร่ ณ วันที่เราเกษียณอายุ หากเราต้องการใช้จ่ายไปอีก 30 ปีข้างหน้า 

เช่น คุณ A เกษียณตอนอายุ 60 ต้องการใช้เงินหลังเกษียณเดือนละ 25,000 บาท และคาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณไปอีก 30 ปี ดังนั้นจำนวนเงินที่ควรมี ณ วันที่เกษียณ ของคุณ A จะเท่ากับ 25,000 x 12 x 30 = 9,000,000 บาท 

ซึ่งตัวอย่างที่ยกขึ้นมาด้านบนยังไม่รวมถึงการปรับด้วยเงินเฟ้อ ซึ่งถ้าหากปรับด้วยเงินเฟ้อทั่วไป ที่ 3% คุณ A จะต้องเตรียมเงิน ณ วันที่เกษียณจาก 9,000,000 เป็น 21,845,362 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าหากไม่นำเงินไปลงทุน ซึ่งต้องเก็บเงินเพื่อการเกษียณสูงมาก 

แต่ถ้าคุณสามารถนำเงินก้อน ณ วันที่เกษียณไปลงทุนได้ 4% ต่อปี โดยที่เงินเฟ้อ 3% เท่าเดิม ณ วันที่เกษียณจะทำให้เก็บเงินเหลือเพียง 7,850,846 บาท* ซึ่งจะช่วยให้ไม่ต้องเก็บเงินก้อนเยอะมากจนเกินไป  

ไลฟ์สไตล์ : ชอบทำกิจกรรมนอกบ้าน ท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ 

หากคุณต้องการเงินเพื่อไว้ใช้จ่ายเดือนละ 100,000 บาท หลังจากเกษียณอายุไปแล้ว ลองดูตัวอย่างด้านล่างนี้กันว่า เราจะต้องเก็บเงินประมาณเท่าไหร่ ณ วันที่เราเกษียณอายุ หากเราต้องการใช้จ่ายไปอีก 30 ปีข้างหน้า 

ตัวอย่างเช่น คุณ B เกษียณตอนอายุ 60 ต้องการใช้เงินหลังเกษียณเดือนละ 100,000 บาท และคาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณไปอีก 30 ปี ดังนั้นจำนวนเงินที่ควรมี ณ วันที่เกษียณ ของคุณ B จะเท่ากับ 100,000 x 12 x 30 = 36,000,000 บาท 

ซึ่งตัวอย่างที่ยกขึ้นมาด้านบนยังไม่รวมถึงการปรับด้วยเงินเฟ้อ ซึ่งถ้าหากปรับด้วยเงินเฟ้อทั่วไป ที่ 3% คุณ B จะต้องเตรียมเงิน ณ วันที่เกษียณจาก 36,000,000 เป็น 87,381,448 ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงกว่าเดิมอย่างมาก 

แต่ถ้าคุณสามารถนำเงินก้อน ณ วันที่เกษียณไปลงทุนได้ 4% ต่อปี โดยที่เงินเฟ้อ 3% เท่าเดิม ณ วันที่เกษียณจะทำให้เก็บเงินเหลือเพียง 31,403,383 บาท* ซึ่งจะช่วยให้ไม่ต้องเก็บเงินก้อน ณ วันที่เกษียณลดลงได้อีกด้วย และสามารถมีกำลังซื้อและใช้จ่ายได้เท่าเดิมตามแผนที่วางเอาไว้ 

การเก็บออมฝากเงินอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ณ วันที่เกษียณ การลงทุนจึงเป็นหนทางนึงที่ทำให้เราสามารถบรรลุเป้าหมาย ณ วันที่เราเกษียณอายุได้ อาจจะใช้วิธีการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (Dollar Cost Averaging หรือ DCA) ในทุกๆเดือน ในกองทุน Megatrend ที่ธุรกิจมีโอกาสเติบโตได้อย่างมหาศาลในอนาคตได้ในระยะยาว เพื่อสร้างโอกาสสร้างเงินก้อนให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ และ ไม่ลืมถึงการป้องการความเสี่ยงในด้านสุขภาพ โดยทำประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรงเพื่อให้ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เพื่อจะได้ไม่กระทบต่อแผนตอนเกษียณและการดำเนินชีวิตในอนาคต 

สำหรับคนโสดในวัยเกษียณ ซึ่งไม่ได้มีคู่ครองหรือบุตรมาดูแล เราต้องเน้นดูแลตัวเองเป็นหลัก  อาจจะต้องเตรียมเงินไว้สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเพื่อความมั่นคง โดยคำนึงถึงความต้องการและเป้าหมายในวัยเกษียณแบบไหน มีไลฟ์สไตล์อย่างไร เราจึงจะสามารถตั้งเป้าหมายได้อย่างชัดเจน และ เริ่มเก็บออมลงทุนมีวินัยทำตามเป้าหมายนั้นๆ ซึ่งการเตรียมพร้อมไว้อย่างเนิ่นๆ จะช่วยให้เราไม่ต้องเก็บเงินจำนวนมากในช่วงก่อนเกษียณอายุ แต่ใช้จำนวนปีที่ยาวกว่าเข้ามาช่วยแทน ยิ่งลงทุนเร็วขึ้นเท่าไหร่ ก็จะใช้เงินทุนเพื่อให้ได้เป้าหมายเท่ากันน้อยลงเท่านั้น ซึ่งจะทำให้เรามีความสุข พร้อมเกษียณโสดอย่างมั่นใจ ไร้กังวล 

* เงื่อนไข 

อัตราผลตอบแทนการลงทุนหลังเกษียณปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ เท่ากับ 0.97% 

อัตราผลตอบแทนการลงทุนหลังเกษียณ เท่ากับ 4% ต่อปี 

อัตราเงินเฟ้อ เท่ากับ 3% ต่อปี 

Source : https://advisory.tiscoonline.com/retirement 

โดย ภาคภูมิ พีรยวัฒนา AFPT

   Senior Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

บทความล่าสุด

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า