ไอร์แลนด์: ขุมทรัพย์ที่ปลายสายรุ้ง

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 64 | คอลัมน์ Smart Investing

file

ไอร์แลนด์ (Ireland) อาจเป็นประเทศที่หลายคนมองข้ามเมื่อพูดถึงเรื่องของความมั่งคั่ง แต่ในความเป็นจริงแล้วไอร์แลนด์เป็นประเทศที่มี GDP ต่อหัวอยู่ที่ 88,966 ดอลลาร์สหรัฐฯ (World Bank, 2021) ซึ่งสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองเพียงแค่ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg) เท่านั้น 

แผนภาพที่ 1: GDP ต่อหัวของไอร์แลนด์อยู่ในระดับสูงสุดของโลก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

file

ที่มา: World Bank, TISCO Economic Strategy Unit (TISCO ESU)

โดยไอร์แลนด์ใช้เวลาไม่ถึงทศวรรษในการฟื้นฟูตนเองภายหลังวิกฤตการเงินในปี 2008 ที่ส่งผลให้ไอร์แลนด์ต้องรับการช่วยเหลือ (Bailout) จากหน่วยงานระหว่างประเทศอย่างสหภาพยุโรป (EU) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กลายมาเป็นประเทศที่มีการเติบโตของ GDP สูงเป็นลำดับต้น ๆ ของโลกในช่วงหลังปี 2014 เป็นต้นมา โดย GDP ของไอร์แลนด์เติบโตโดยเฉลี่ย 9.7% ในปี 2014 - 2021 เปรียบเทียบการเติบโตเฉลี่ยของเศรษฐกิจโลกที่ 2.6% และการเติบโตเฉลี่ยของเศรษฐกิจไทยที่ 1.7% จากการรับการลงทุนจากต่างชาติ (Foreign Direct Investment) ที่ทำให้ประเทศไอร์แลนด์กลายเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีและบริการทางการเงินรวมถึงการผลิตเวชภัณฑ์

file

ไอร์แลนด์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) สูงสุดของโลก

บริษัทข้ามชาติ (Multinational Corporations) หลายแห่งได้ตั้งสำนักงานใหญ่ในยุโรปที่ไอร์แลนด์ซึ่งรวมถึง Apple, Google, Facebook ,Pfizer และ Allergan โดยบริษัทเหล่านี้ได้นำการลงทุน การจ้างงาน และรายได้มาสู่ประเทศ โดยจากสถิติของหน่วยงานพัฒนาอุตสาหกรรมไอร์แลนด์ (IDA Ireland) ระบุว่า บริษัทต่างชาติจ่ายภาษีนิติบุคคลของไอร์แลนด์คิดเป็นสัดส่วนถึง 80% ของทั้งประเทศ จ้างแรงงานชาวไอริช 25% ของแรงงานทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การเข้ามาของบริษัทต่างชาติยังคงเป็นที่ถกเถียงในเรื่องของความโปร่งใสในการดำเนินงานและวัตถุประสงค์

โดยการเข้ามาของบริษัท Apple ในปี 2015 ที่ได้ทำการย้าย "สินทรัพย์ไม่มีตัวตน" (Intangible Assets) มูลค่า 3 แสนล้านดอลลาร์ฯ มายังไอร์แลนด์ ทำให้ในปี 2015 GDP ของไอร์แลนด์เติบโตสูงถึง 24.4% โดย Paul Krugman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลได้เรียกการเติบโตอย่างผิดปกตินี้ว่า “Leprechaun economics” (Leprechaun อ่านออกเสียงว่า เล็ปพระคอน คือภูติตามตำนานของไอร์แลนด์ที่มีนิสัยตระหนี่ ชอบสมบัติเงินทองและได้ซ่อนสมบัติไว้ที่ปลายสายรุ้ง) ซึ่งเป็นคำนิยามสำหรับการบิดเบือนทางสถิติที่เกิดจากบริษัทข้ามชาติที่ย้ายฐานเพื่อหาทางหลบเลี่ยงภาษีบริษัทข้ามชาติ (Multinational Corporations) หลายแห่งได้ตั้งสำนักงานใหญ่ในยุโรปที่ไอร์แลนด์ซึ่งรวมถึง Apple, Google, Facebook ,Pfizer และ Allergan โดยบริษัทเหล่านี้ได้นำการลงทุน การจ้างงาน และรายได้มาสู่ประเทศ โดยจากสถิติของหน่วยงานพัฒนาอุตสาหกรรมไอร์แลนด์ (IDA Ireland) ระบุว่า บริษัทต่างชาติจ่ายภาษีนิติบุคคลของไอร์แลนด์คิดเป็นสัดส่วนถึง 80% ของทั้งประเทศ จ้างแรงงานชาวไอริช 25% ของแรงงานทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การเข้ามาของบริษัทต่างชาติยังคงเป็นที่ถกเถียงในเรื่องของความโปร่งใสในการดำเนินงานและวัตถุประสงค์

โดยการเข้ามาของบริษัท Apple ในปี 2015 ที่ได้ทำการย้าย "สินทรัพย์ไม่มีตัวตน" (Intangible Assets) มูลค่า 3 แสนล้านดอลลาร์ฯ มายังไอร์แลนด์ ทำให้ในปี 2015 GDP ของไอร์แลนด์เติบโตสูงถึง 24.4% โดย Paul Krugman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลได้เรียกการเติบโตอย่างผิดปกตินี้ว่า “Leprechaun economics” (Leprechaun อ่านออกเสียงว่า เล็ปพระคอน คือภูติตามตำนานของไอร์แลนด์ที่มีนิสัยตระหนี่ ชอบสมบัติเงินทองและได้ซ่อนสมบัติไว้ที่ปลายสายรุ้ง) ซึ่งเป็นคำนิยามสำหรับการบิดเบือนทางสถิติที่เกิดจากบริษัทข้ามชาติที่ย้ายฐานเพื่อหาทางหลบเลี่ยงภาษี

แผนภาพที่ 2: ไอร์แลนด์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) สูงสุดของโลก

file

ที่มา: World Bank, TISCO Economic Strategy Unit (TISCO ESU)

แผนภาพที่ 3: ในปี 2015 ไอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก

file

ที่มา: World Bank, TISCO Economic Strategy Unit (TISCO ESU)

ทั้งนี้ บริษัทข้ามชาติหลายแห่งใช้ไอร์แลนด์เป็นสถานที่ในการหลบเลี่ยงภาษี โดยอัตราภาษีนิติบุคคลสูงสุดอยู่ที่เพียง 12.5% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม งานวิจัยโดย Tax Justice Network ระบุว่าแม้อัตรา 12.5% นั้นถือได้ว่าต่ำมากแล้ว แต่ในความเป็นจริง บริษัทข้ามชาติเหล่านี้เสียภาษีจริง (Effective Tax Rate) ในอัตราเพียง 2.5 - 4.5% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในปี 2020 หลาย ๆ บริษัทระบุว่าตนเองไม่ได้ใช้ผลประโยชน์ทางด้านภาษีนี้อีกแล้ว

 แผนภาพที่ 4: ไอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีอัตราภาษีนิติบุคคลต่ำสุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศสมาชิก OECD  

file

ที่มา: Taxfoundation.org, OECD, TISCO Economic Strategy Unit (TISCO ESU)

ในแง่หนึ่งการเข้ามาของบริษัทข้ามชาติจำนวนมากก็เป็นการสร้างงานและรายได้ให้กับประชาชนในประเทศ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทวีปยุโรป จากข้อมูลของ BIS ระบุว่า ภายหลังจากปี 2015 เป็นต้นมาราคาอสังหาริมทรัพย์เพื่ออยู่อาศัยของไอร์แลนด์เติบโตขึ้นโดยเฉลี่ยราว 8% ต่อปี ขณะที่ค่าเฉลี่ยของทวีปยุโรปอยู่เพียงแค่ 5% ส่วนของโลกอยู่ที่ราว 5.5% ซึ่งราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ไม่ได้ทำงานกับบริษัทข้ามชาติ

 อย่างไรก็ตาม การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของไอร์แลนด์สามารถนำมาเป็นบทเรียนให้กับนานาชาติในการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติผ่านข้อได้เปรียบต่าง ๆ เช่น ผลประโยชน์ทางภาษี, คุณภาพของแรงงานและนโยบายภาครัฐที่ี่เอื้อต่อการลงทุน ที่ส่งผลทำให้ประเทศเล็ก ๆ ประเทศหนึ่งกลายเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคทางด้านการเงิน เทคโนโลยีและเวชภัณฑ์ของภูมิภาคได้