เกษียณอย่างเกษม ด้วยการวางแผนภาษี

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 71 | คอลัมน์ Holistic Financial Advisory

2 3 scaled

เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ หลายคนมองว่าภาระการยื่นภาษีจะหมดไปพร้อมกับรายได้ประจำ แต่ความเป็นจริงคือรายได้ช่วงหลังเกษียณเปลี่ยนแปลงไป สู่การดึงกระแสเงินสดจากสินทรัพย์ที่ได้สะสมไว้ เช่น เงินปันผล ดอกเบี้ย เงินปันผล นอกจากจะมีภาระในการยื่นภาษีแล้ว รายได้บางประเภทยังถูกหักภาษี (Final Tax) ไว้ล่วงหน้า ซึ่งการบริหารจัดการภาษียังรวมถึงการเข้าใจประเภทเงินได้ สิทธิพิเศษที่เพิ่มขึ้นสำหรับวัยเกษียณ รวมถึงความสำคัญในการเตรียมตัวส่งต่อมรดก จะทำให้บริหารเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รายได้วัยเกษียณ: เปลี่ยนแหล่งที่มาแต่ไม่หายไป

         ในวัยทำงาน รายได้ส่วนใหญ่มักมาจากเงินเดือนหรือโบนัส ซึ่งเป็นรายได้ประจำที่สามารถคาดการณ์ได้ง่าย ทุกสิ้นเดือนจะมีเงินโอนเข้าบัญชี พร้อมกับการวางแผนใช้จ่ายที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลาที่ต้องเกษียณอายุในการทำงาน รายได้จากการทำงานประจำจะหยุดลง แต่ไม่ได้หมายความว่ารายได้จะหายไปทั้งหมด หากมีการวางแผนการเงินที่ดี รายได้จะถูกแทนที่ด้วยผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่สะสมมาตลอดช่วงชีวิตการทำงาน  

แหล่งรายได้หลักในวัยเกษียณมักประกอบด้วย  

    • ดอกเบี้ยเงินฝากและพันธบัตร ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างมั่นคง สม่ำเสมอ 
    • เงินปันผลจากหุ้นหรือกองทุนรวม ที่อาจมีความผันผวนตามผลประกอบการ 
    • เงินบำนาญหรือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งได้รับอย่างสม่ำเสมอตามนโยบายของรัฐหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญ 

แต่ละแหล่งรายได้มีรูปแบบการเสียภาษีที่แตกต่างกัน ทำให้การวางแผนภาษีในวัยเกษียณมีความสำคัญมากขึ้น 

ภาษีวัยเกษียณ: ซับซ้อนกว่าเดิม 

           หลายคนอาจคิดว่าหลังเกษียณ ภาระภาษีจะลดลงเพราะไม่มีรายได้จากเงินเดือน แต่ในความเป็นจริง ภาษีในวัยเกษียณกลับมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น เนื่องจากรายได้มาจากหลากหลายแหล่ง และต้องพิจารณาว่ารายได้แต่ละประเภทจะถูกจัดเก็บภาษีในรูปแบบใด ตัวอย่างเช่น 

    • ดอกเบี้ยเงินฝากจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% หากไม่ได้ยื่นขอยกเว้นภาษีสำหรับดอกเบี้ยที่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี สำหรับผู้ที่อายุ 55 ปีขึ้นไป 
    • เงินปันผลจากหุ้นหรือกองทุนรวมจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% และสามารถใช้สิทธิเครดิตภาษีเงินปันผลได้ 
    • ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องนำมาคำนวณภาษีแบบรายได้สุทธิ โดยหักค่าใช้จ่ายตามอัตราที่กำหนด 

ความซับซ้อนเหล่านี้ทำให้ผู้เกษียณต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าจะเลือกเสียภาษี ณ ที่จ่าย หรือจะนำรายได้ทั้งหมดมารวมคำนวณในแบบแสดงรายการภาษีเพื่อให้ได้รับเงินคืนบางส่วน  

2.4

สิทธิประโยชน์ทางภาษี: ข้อได้เปรียบด้านภาษีสำหรับวัยเกษียณ 

รัฐบาลได้กำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีหลายประการสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งช่วยลดภาระภาษีและเพิ่มรายได้สุทธิ ตัวอย่างเช่น 

    • อายุ 55 ปีขึ้นไป ได้รับการยกเว้นภาษีเงินฝากประจำ 1 ปี หากดอกเบี้ยรวมไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี 
    • อายุ 65 ปีขึ้นไป ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ 190,000 บาทแรก ช่วยลดฐานภาษีสำหรับรายได้ที่เหลือ 

สิทธิประโยชน์เหล่านี้ช่วยให้ผู้เกษียณสามารถบริหารรายได้หลังหักภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยลดต้นทุนทางการเงินในระยะยาว 

2.5

        หากเลือกยื่นขอคืนภาษี โดยไม่มีรายได้และการลดหย่อนอื่น จะทำให้มีรายการลดหย่อน 2 รายการ รวม 160,000 บาท จะทำให้รายได้สุทธิส่วนที่เกินต้องเสียภาษี 2,524.95 บาท หรือได้คืนภาษีที่จ่ายไล่วงหน้าแล้วเกือบทั้งจำนวน และหากในกรณีอายุเกินกว่า 65 ปี ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นรายได้ 190,000 บาท เพิ่มเติม จะทำให้สามารถขอคืนเงินคืนภาษีได้ทั้งจำนวน เปรียบเสมือนได้เงินปันผลเพิ่มจากเดิมอีกราว 1415% 

2.6
2.7

เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี

แม้ว่ารายได้ส่วนใหญ่จะต้องเสียภาษี แต่ยังมีรายได้บางประเภทที่ได้รับการยกเว้นภาษี และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารภาษีได้ เช่น 

    • เงินคืนจากประกันบำนาญ ไม่ถือเป็นรายได้ต้องเสียภาษี และยังช่วยสร้างกระแสเงินสดที่มั่นคง นอกจากนี้ ในช่วงที่ยังมีรายได้ประจำยังสามารถนำค่าเบี้ยไปลดหย่อนภาษีได้ 
    • กำไรจากการขายกองทุนรวม ไม่ต้องเสียภาษี Capital Gain ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการกระแสเงินสดโดยไม่เสียภาษีเงินปันผล สามารถนำมาประยุกต์ใช้สร้างกระแสเงินสดผ่านกองทุนชนิดมี Auto Redemption แทนกองทุนปันผล 

ทริกในการวางแผนภาษี: เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสูงสุด

การวางแผนภาษีในวัยเกษียณไม่ใช่เพียงเรื่องของการลดภาระภาษี แต่ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์และกระแสเงินสด ตัวอย่างเครื่องมือที่สามารถใช้ได้ ได้แก่ 

    • กองทุนรวมที่มีการซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ (Auto Redemption) แทนที่จะรับเงินปันผลที่ต้องเสียภาษี 10% การเลือกกองทุนที่มีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนอัตโนมัติจะช่วยลดภาระภาษี และยังได้รับเงินสดในลักษณะเดียวกับเงินปันผล 
    • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สำหรับผู้ที่ยังมีรายได้สูงหลังเกษียณ เช่น จากการลงทุนหรือธุรกิจส่วนตัว การลงทุนใน RMF ยังคงช่วยลดหย่อนภาษีได้ โดยสามารถลงทุนต่อเนื่องเพียง 5 ปี เพื่อให้มีสิทธิ์ในการลดหย่อนเพิ่มเติม 
    • เลือกการหักภาษีแบบ Final Tax หากรายได้บางประเภท เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว อาจจะเลือกไม่รวมรายได้นั้นในการยื่นแบบภาษี หากฐานภาษีเงินได้รวมสูงกว่า Final Tax ตัวอย่างเช่น ฐานภาษี 10% สำหรับเงินปันผลจากกองทุนรวม และฐานภาษี 15% สำหรับดอกเบี้ยเงินฝาก 

เตรียมวางแผนส่งต่อมรดก

         การเตรียมวางแผนส่งต่อมรดกเป็นหนึ่งในการวางแผนภาษีเพื่อคนข้างหลังที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะหลังจากมีการเริ่มบังคับใช้ พรบ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 กำหนดให้เสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกินมูลค่า 100 ล้านบาท ในอัตรา 5% เมื่อผู้รับมรดกเป็นบุพการีหรือทายาท และอัตรา 10% สำหรับคนทั่วไป  

         ตัวอย่างเช่น นายเออายุ 70 ปี มีทรัพย์สินสุทธิ 250 ล้านบาท และมีทายาท 2 คน เมื่อนายเอเสียชีวิต ทายาทได้รับมรดกเท่ากันคนละ 125 ล้านบาท ส่วนเกินมรดก 25 ล้านบาท ทายาทต้องเสียภาษีในอัตรา 5% ซึ่งทายาทจะมีภาระภาษีมรดกคนละ 1.25 ล้านบาทซึ่งอาจจะกระทบต่อสภาพคล่องของทายาทได้ 

2.2 1

        ปัญหาภาระภาษีจากมรดกสามารถใช้เครื่องมืออย่างประกันชีวิตแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่สามารถระบุผู้รับผลประโยชน์ได้ทำให้ได้รับเงินสินไหมอย่างรวดเร็ว รวมถึงเงินประกันยังได้รับการยกเว้นภาษีทำให้สามารถกำหนดเงินรับผลประโยชน์ที่แน่นอนได้  

        โดยสรุปแล้ว การเกษียณเหมือนการเดินทางเข้าสู่ความท้าทายใหม่ ทั้งด้านภาษีไม่ว่าจะเป็นแหล่งรายได้ รูปแบบการวางแผนภาษีที่เปลี่ยนไป รวมถึงต้องคิดถึงการส่งต่อมรดกให้กับคนข้างหลังให้มีความราบรื่น ไม่ติดขัดด้านการเงิน และผลลัพธ์ที่ได้จะช่วยให้วัยเกษียณสามารถบริหารเงินก้อนสุดท้ายได้มีประสิทธิภาพแบบ เกษียณสุข เกษียณสำราญ เกษียณหายห่วงได้ 

Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า