file

ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2017

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 39 | คอลัมน์ @ ECON

เศรษฐกิจไทยปีหน้าจะยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปที่ +3.6% โดยมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ และคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะยังคงอัตราดอกเบี้ย นโยบายจนถึงสิ้นปี ก่อนทยอยปรับขึ้นหลังการเลือกตั้งในปี 2018

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะเป็นแรงขับเคลื่อน หลักของเศรษฐกิจปี 2017


การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมีความคืบหน้ามากขึ้นอย่าง มีนัยสำคัญในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ชมพู และเหลือง ที่ได้เริ่มดำเนินการประกวดราคา ไปแล้วและคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในไตรมาส 2 ปี 2017 โดยการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลจะยังคง มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ซึ่งเราคาดการณ์ว่าจะมีการเบิกจ่ายเม็ดเงินลงทุนภายใต้ แผนการลงทุนใน 20 โครงการเร่งด่วน รวม 1.7 แสนล้านบาท ในปี 2017 เพิ่มขึ้นจาก 4 หมื่นล้านบาท ในปี 2016 นอกจากนี้ เราคาดว่าการลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ชมพู และเหลือง จะช่วยกระตุ้นการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตามแนวรถไฟฟ้าในระยะต่อไป

Bootstrap Image Preview

 

Bootstrap Image Preview

การบริโภคและการส่งออกมีแนวโน้ม ฟื้นตัวดีในปี 2017

เราคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะฟื้นตัว ดีขึ้นในปี 2017 จากรายได้ภาคเกษตรที่มีแนวโน้ม ฟื้นตัวดีต่อเนื่องตามราคายางที่ฟื้นตัวขึ้นตาม ราคาน้ำมัน และผลผลิตข้าวที่จะขยายตัวดีหลัง ปัญหาภัยแล้งคลี่คลาย รวมถึงภาระหนี้ครัวเรือน ที่มีแนวโน้มลดลงหลังภาระหนี้จากโครงการรถ คันแรกเริ่มทยอยหมด นอกจากนี้ การปรับลดภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาและการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จะช่วยสนับสนุนกำลังซื้อในปี 2017 

สำหรับด้านต่างประเทศ เราคาดว่าภาคการ ส่งออกจะฟื้นตัวดีต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และอุปสงค์โลก นอกจากนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ฟื้นตัวดีขึ้นจะส่งผลดี ต่อกำลังซื้อของประเทศผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ (มีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5 ของการส่งออกไทย ทั้งหมด) โดย Deutsche Bank ประเมินว่าราคา สินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น 1% จะช่วยเพิ่มปริมาณ การส่งออกสินค้าไทย 0.2%

 

Bootstrap Image Preview

เราคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะคง อัตราดอกเบี้ยนโยบายจนถึงสิ้นปี 2017

 

เราคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะยังไม่ เปลี่ยนแปลงทิศทางนโยบายอัตราดอกเบี้ยก่อนการ เลือกตั้งทั่วไปในช่วงปลายปีหน้า แม้ว่าธนาคารกลาง สหรัฐฯ (Fed) จะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในวันที่ 14 ธ.ค. และคณะกรรมการ Fed มีท่าที Hawkish มากขึ้น เนื่องจากการลงทุนภาคเอกชน ยังอยู่ในระดับต่ำและยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน ทำให้ความต้องการสินเชื่อยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ คุณภาพสินเชื่อยังคงปรับลดลงต่อเนื่อง 

ในอดีตธนาคารแห่งประเทศไทยมักจะปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายหลังจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (อัตราดอกเบี้ยนโยบายลบอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือน) พลิกกลับไปอยู่ในแเดนลบ เช่น ในไตรมาส 3 ปี 2008 และไตรมาส 3 ปี 2010 อย่างไรก็ดี เราคาดว่า ในรอบนี้จะเริ่มทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังการ เลือกตั้งเสร็จสิ้น หรือในช่วงปี 2018 แม้ว่าอัตรา ดอกเบี้ยที่แท้จริงจะพลิกกลับมาอยู่ในแดนลบในช่วง ไตรมาสสุดท้ายของปี 2017

ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก

 

1. ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อาจขึ้นดอกเบี้ยหลายครั้งในปี 2017 หลังจากที่ขึ้นไปแล้ว 1 ครั้ง ในการประชุมเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา โดย Fed ได้ปรับคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยปี 2017 ในการประชุมเดือน ธ.ค. เป็น 3 ครั้ง จากการประชุมเดือน ก.ย. ที่ 2 ครั้ง ตามนโยบายของ นาย Donald Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ที่มีแนวโน้มจะออกนโยบาย กระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าปัจจุบัน และทำให้เศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น

2. ความเสี่ยงทางการเมืองของยูโรโซน จากการ เจรจา Brexit และการเลือกตั้งในปี 2017 ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ (เลือกตั้งวันที่ 15 มี.ค.) ฝรั่งเศส (เลือกตั้งประธานาธิบดี 2 รอบในวันที่ 23 เม.ย. และ 7 พ.ค.) เยอรมนี (เลือกตั้งในเดือน ก.ย.) และอิตาลี ที่อาจจัดการเลือกตั้งเร็วขึ้นจากเดิม (กำหนดไตรมาส 2/2018) โดยมีความเสี่ยงที่จะได้พรรคประชานิยม (Populist Parties) ซึ่งมีแนวคิดต่อต้านนโยบาย สหภาพยุโรปขึ้นมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งจะ เป็นความเสี่ยงต่อการปฏิรูปและการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจ รวมถึงทำให้การดำเนินนโยบายต่างๆ ไม่มีความต่อเนื่อง

Bootstrap Image Preview