file

แนะปรับพอร์ตเข้าสู่หุ้นเชิงรับ - ปันผลสูง จากความเสี่ยงในการปรับฐานของหุ้นโลก

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 41 | คอลัมน์ Investment Strategy

มองหุ้นสหรัฐฯ เสี่ยงปรับฐานมากขึ้นเรื่อยๆ น่าจะกดดันหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงตาม

เรามองตลาดหุ้นสหรัฐฯ เสี่ยงต่อการปรับฐานมากขึ้นเรื่อยๆ จาก 1) การประเมินมูลค่าที่ตึงตัวมาก โดย S&P500 Index ของสหรัฐฯ ปัจจุบัน ซื้อขายที่ Forward PER ประมาณ 18 เท่า ซึ่งนับเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ Dot Com Bubble ในช่วงปลายทศวรรษที่ 90 นอกจากนี้ ตลาดหุ้นอื่นๆ อาทิ ตลาดหุ้นยุโรป (STOXX600 Index) ตลาดหุ้นเอเชีย รวมถึงตลาดหุ้นไทย ส่วนใหญ่ซื้อขายที่ Forward PER สูงกว่าค่าเฉลี่ย ไปมากแล้วเกือบทั้งหมด ยกเว้นตลาดญี่ปุ่นเท่านั้นที่อยู่ใกล้เคียงกับระดับค่าเฉลี่ยในอดีต 2) S&P500 Index ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องนานกว่า 10 เดือน มาตั้งแต่เดือน ก.ค. ปีที่แล้ว โดยไม่มีการปรับฐานลงเกินกว่า 5% เลย ซึ่งนับเป็นการปรับตัวขึ้นที่ยาวนานมาก เทียบกับปกติโดยเฉลี่ยตลาดจะมี การปรับฐานทุกๆ 6 เดือนในช่วง 4 ปีย้อนหลัง 3) ตัวเลขเศรษฐกิจโดยรวม (Citi Economic Surprise Index) ไม่ได้สร้างความประหลาดใจ ในทางบวกแล้ว สวนทางกับราคาหุ้นที่ยังปรับตัวขึ้นอยู่ ดังนั้น ต้องระวังการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นในระยะหลังนี้อาจต่อเนื่องได้อีกไม่นาน (Negative Divergence)

 

Bootstrap Image Preview
 

 

แนวโน้มการดำเนินนโยบายแบบเข้มงวดมากขึ้น ของ Fed ในช่วงครึ่งปีหลัง น่าจะหนุนผลตอบแทน พันธบัตรสหรัฐฯ และเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัว สูงขึ้นกว่าครึ่งปีแรก

Deutsche Bank (DB) ซึ่งเป็นพันธมิตรงานด้านวิจัยของเราคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้ง ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ (คาดเป็นการประชุมในเดือน มิ.ย. และ ธ.ค. ตามลำดับ) ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Funds Rate) ณ สิ้นปีนี้จะปรับขึ้นสู่ระดับ 1.25-1.50% จากปัจจุบันที่ 0.75-1.00% นอกจากนี้ DB ยังคาดอีกด้วยว่าในการประชุมเดือน ก.ย. Fed จะเริ่ม ประกาศปรับลดขนาดงบดุลลงจากปัจจุบันที่อยู่สูงถึง 4.5 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ จากการผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณ (QE) หลายรอบ เพื่อกอบกู้วิกฤติเศรษฐกิจโลกปี 2008 ด้วยแนวโน้มการดำเนินนโยบาย การเงินแบบเข้มงวดขึ้นของ Fed ในช่วงครึ่งปีหลัง น่าจะหนุน ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ (10Y US Bond Yield) และเงินดอลลาร์ สหรัฐฯ (US Dollar Index) ปรับตัวสูงขึ้นกว่าครึ่งปีแรก และจะถ่วง บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่โดยรวม ซึ่งรวมถึงตลาดหุ้น ไทยด้วย อนึ่ง ส่วนต่างระหว่าง 10Y US Bond Yield และ Fed Funds Rate ขณะนี้อยู่ในโซนระดับต่ำมากแล้วเมื่อเทียบกับอดีต สะท้อน ความเสี่ยงขาลงของ 10Y US Bond Yield ที่จำกัด ดังนั้นหาก Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามคาดการณ์ น่าจะทำให้ 10Y US Bond Yield ปรับตัวสูงขึ้นกว่าระดับประมาณ 2.1-2.2% ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแน่นอน

 

Bootstrap Image Preview
 
ด้านประเด็นการเมืองในยุโรปที่เราเป็นห่วง คือ โอกาสการเลือกตั้งในอิตาลี ที่อาจเกิดเร็วขึ้นเป็นเดือน ก.ย. เพราะ โพลล่าสุดชี้ว่า พรรค Five Star Movement (M5S) ซึ่งมีนโยบาย ต่อต้านสหภาพยุโรป ได้รับคะแนน ความนิยมสูสีกันมากกับพรรค Democratic Party (PD) ซึ่งเป็น พรรคแกนนำของรัฐบาลอิตาลีในปัจจุบัน

 

ติดตามการเมืองในสหรัฐฯ และยุโรปอาจมีความไม่แน่นอนมากขึ้น

ขณะนี้ ประธานาธิบดี Donald Trump กำลังโดนตรวจสอบจาก สภาคองเกรสกรณีสั่งปลดผู้อำนวยการ FBI ที่เข้าสอบสวนเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างนาย Trump กับรัสเซียในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง ปลายปีที่แล้ว ถึงแม้เรามองว่าการถอดถอนนาย Trump น่าจะเป็น แค่ “กระแส” มากกว่า และยังเป็นเรื่องที่ห่างไกลอยู่ เพราะต้องผ่าน กระบวนการอีกหลายขั้นตอนกว่าจะนำไปสู่การถอดถอนได้จริง แต่เรา ห่วงการผลักดันนโยบายด้านต่างๆ ของเขาในอนาคตจะเผชิญ แรงเสียดทานมากขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อราคาหุ้นทั่วโลกที่ส่วนใหญ่ขึ้น ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์จากความคาดหวังเชิงบวกไปล่วงหน้า มากพอสมควรแล้ว

ด้านประเด็นการเมืองในยุโรปที่เราเป็นห่วง คือ โอกาสการเลือกตั้ง ในอิตาลีที่อาจเกิดเร็วขึ้นเป็นเดือน ก.ย. เพราะโพลล่าสุดชี้ว่า พรรค Five Star Movement (M5S) ซึ่งมีนโยบายต่อต้านสหภาพยุโรป ได้รับคะแนนความนิยมสูสีกันมากกับพรรค Democratic Party (PD) ซึ่งเป็นพรรคแกนนำของรัฐบาลอิตาลีในปัจจุบัน

 

Bootstrap Image Preview
 

เลือกลงทุนหุ้นกำไรมั่นคงมีปันผลสูง ฝ่าแนวโน้มหุ้นทั่วโลกเสี่ยงปรับฐานระยะสั้น

ด้วยเรามองหุ้นทั่วโลกมีความเสี่ยงในการปรับฐานในระยะสั้น ดังนั้น จึงแนะนำหาจังหวะตั้งรับช่วงราคาหุ้นอ่อนตัวมากกว่าการไล่ราคาซื้อตาม เรามองหุ้นที่ฐานราคายังอยู่ในระดับต่ำมีแนวโน้มกำไรเติบโตมั่นคงและ ปันผลดี น่าจะเคลื่อนไหวในทิศทางที่ดีกว่าตลาดแล้ว (Outperform) และน่าจะช่วยเพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนสูงขึ้นในช่วง ครึ่งปีหลังด้วยจากการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล หุ้นเด่นที่เราแนะนำ ในไตรมาสนี้ คือ BBL (มองกำไรปี 17F ที่คาดโตประมาณ 8% ไม่น่าจะ สร้างความผิดหวังจากฐานกำไรปีก่อนต่ำ การประเมินมูลค่าหุ้นถูกมาก โดยคิดเป็น PER ปี 17-18F เพียง 8-9x PBV ที่ 0.8x แถมมีปันผลเฉลี่ย 4% ต่อปี มูลค่าเหมาะสม 200 บาท) BPP (รายได้และกำไรมั่นคงสูง จากธุรกิจโรงไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้ง การรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนใน BLCP พร้อมโอกาสการเข้าซื้อ กิจการและพัฒนาโครงการใหม่ๆ ในอนาคต เพื่อบรรลุเป้ากำลัง การผลิตตามสัดส่วนเป็น 4,300 MW ในปี 2025 เข้า SET50 และ SET100 Index ในช่วงครึ่งปีหลัง มูลค่าเหมาะสม 28 บาท) BTSGIF (ยังเห็นการเติบโตของผู้โดยสารและราคาค่าตั๋วเป็นบวกอยู่แม้จะชะลอตัว ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ปันผลเป็นรายไตรมาส ให้ผลตอบแทน เฉลี่ยปีละ 7%, มูลค่าเหมาะสม 12.4 บาท) HANA (คาดแนวโน้มกำไร 2Q-3Q17F ดีต่อเนื่องจาก 1Q17 (+69% YoY และ +29% QoQ) จากภาวะอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์โลกปีนี้ที่ฟื้นตัวเป็นบวกครั้งแรก ในรอบ 3 ปี, ฐานะการเงินแข็งแกร่ง และปันผลสูง 4-5% ต่อปี มูลค่า เหมาะสม 54 บาท) TPIPP (แนวโน้มกำไร 2Q17F คาดจะดีกว่า 1Q17 ที่ทำสถิติสูงสุดที่ 698 ล้านบาท จากการปรับปรุงประสิทธิภาพ เครื่องจักรของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้ง และค่า Ft งวดเดือน พ.ค. - ส.ค. ที่ปรับขึ้น 12.52 สต./หน่วย รอลุ้นข่าวโรงไฟฟ้าถ่านหิน - RDF 2 โรงยื่น EIA ครั้งที่ 2 แล้ว มูลค่าเหมาะสม 8.1 บาท) UNIQ (มีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มกำไรจากงานในมือกว่า 3 หมื่นล้านบาท ทยอยรับรู้รายได้มากกว่า 2 ปีข้างหน้า เป็นหนึ่งในหุ้นรับเหมาไม่กี่ตัว ที่การประเมินมูลค่าถูกมาก PER เพียง 16x ปีนี้ และต่ำกว่า 14x ปีหน้า ปันผลเฉลี่ยที่ 3% ต่อปี มูลค่าเหมาะสม 24.5 บาท)