วสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์

"วสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์" 'เบทาโกร' ไม่ต้อง "ใหญ่" แต่ต้อง "ยั่งยืน"

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 42 | คอลัมน์ People

ถอดดีเอ็นเอ “เบทาโกร” เกษตรอุตสาหกรรมแสนล้าน ที่ประกาศตัวชัดว่า ขอโตแบบค่อยเป็นค่อยไป มากกว่าหวือหวาก้าวกระโดด ภายใต้การนำของผู้บริหารนักคิด “คุณวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์” กับบทพิสูจน์ความแข็งแกร่งถึง 5 ทศวรรษ

 

file

 

“เบทาโกร” เดินทางมาถึงครึ่งศตวรรษของธุรกิจ จนมียอดขายแตะ 1 แสนล้านบาท ความสำเร็จที่ได้มา ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่ยิ่งลำบากก็ยิ่งต้องเคี่ยวเข็ญให้เร่งฝึกฝน กระทั่งทุกหลักไมล์ของการเรียนรู้ ผลักดันให้เบทาโกรก้าวมาถึงจุดนี้ จุดยืนที่ผู้บริหารบอก กับตัวเองว่า เบทาโกรไม่ได้หวังยิ่งใหญ่ และกำไรก็ไม่ใช่ผลรวมความสำเร็จทาง“การเติบโตของเบทาโกร ไม่ได้หมายความว่าเราต้องไปเอาเปรียบใคร แต่ทำให้อุตสาหกรรมนี้มันแข็งแรงขึ้น แบบมี

คุณภาพและมีคุณธรรมทางธุรกิจ นี่คือสิ่งที่เรายึดถือมาโดยตลอด” คุณวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร มองถึงอนาคตธุรกิจธุรกิจ สิ่งที่บริษัทเลือกเดินคือ เติบโตไปข้างหน้าแบบมีคุณภาพและมีคุณธรรม

เบทาโกรเพิ่งฉลองความสำเร็จครบรอบ 50 ปีของธุรกิจ ที่ยังสามารถยืนหยัดอย่างแข็งแกร่ง ไปเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา ของขวัญชิ้นไม่เล็กที่ผู้บริหารมอบให้กับตัวเองคือ อาคารสำนักงานแห่งใหม่สูง 22 ชั้น ตั้งอยู่ใกล้อาคารเดิมที่สูง 11 ชั้น เพื่อรองรับการเติบโตในอีกสองทศวรรษถัดไป

จากจุดเริ่มต้นธุรกิจอาหารสัตว์ ที่มีกำลังการผลิต 2.4 หมื่นตัน ในปี 2510 ทุกวันนี้ เบทาโกรมีกำลังการผลิตเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3 ล้านตันหรือคิดเป็นสัดส่วน 15% ของความต้องการอาหารสัตว์ในประเทศทั้งหมด 19 ล้านตันถัดจากนั้น เบทาโกรก็เข้าสู่ยุคของซัพพลายเชน จากอาหารสัตว์มาสู่ฟาร์มปศุสัตว์ โดยเริ่มต้นจากฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ ผลิตลูกหมู ลูกไก่ ให้เกษตรกรเอาไปเลี้ยงด้วยอาหารสัตว์ พอเติบโตเป็นสัตว์ใหญ่ ก็กลายมาเป็นอาหารคนต่อไป

เบทาโกรขยายกิจการมาเรื่อยๆ จากฟาร์มสู่ธุรกิจส่งออกไก่แปรรูป เป็นยุคแรกๆ ที่ประเทศไทยเริ่มส่งออกผลิตภัณฑ์จากไก่ไปทำตลาดในประเทศญี่ปุ่น จนกลายเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ และมีภาพลักษณ์ที่คุ้นชินว่า เบทาโกรเน้นทำตลาดส่งออก อย่างไรก็ดี ในช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมา หลังตลาดไก่แปรรูปในญี่ปุ่นและยุโรปส่อแววไม่สู้ดี จากปัญหาโควตาและกำลังซื้อที่ลดลง ทำให้เบทาโกรต้องหันมาทบทวน ยุทธศาสตร์ใหม่ เปลี่ยนจากการเน้นส่งออกมาทำตลาดในประเทศอย่างเต็มตัว

“เราปรับตัวหันมาให้ความสำคัญกับลูกค้าในประเทศมากขึ้น อาศัยเครือข่ายสาขาที่มีอยู่แล้ว เอามาปรับบทบาท จากเดิมที่เคยทำแต่ปศุสัตว์ ก็หันมาโปรโมทผลิตภัณฑ์อาหารมากขึ้น พอเริ่มมีลูกค้าเชิงพาณิชย์มากขึ้น(Business to Business) เบทาโกรก็เริ่มสร้างแบรนด์ เปลี่ยนบทบาทจากสินค้าทางการเกษตร มาเป็นสินค้าเพื่อการบริโภค”

 

โรงงานผลิตอาหารสัตว์ เครือเบทาโกร จ.ลพบุรี

 

เบทาโกรปรับพอร์ตธุรกิจทั้งในแง่ของกลุ่มเป้าหมายและตัวสินค้า จากเดิมที่มีลูกค้าหลักเป็นเกษตรกร ก็ปรับมาเป็นลูกค้าเชิงพาณิชย์เฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มห้างค้าปลีกสมัยใหม่กลุ่มเครือข่ายภัตตาคาร และลงทุนเปิดศูนย์ค้าส่ง “เบทาโกร ช็อป” 160 สาขาทั่วประเทศ ทำให้เบทาโกรสามารถเปิดตลาดอาหารครอบคลุมทุกเซกเมนต์ ทั้งเครือข่ายภัตตาคารและร้านค้าย่อยทุกอำเภอ จนปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าที่เป็นร้านอาหารรายย่อย 5 หมื่นรายที่ซื้อวัตถุดิบเบทาโกรไปประกอบธุรกิจอาหาร

เมื่อแบ่งสัดส่วนรายได้ ประมาณการได้คร่าวๆ คือ จากยอดขาย 1 แสนล้านบาทแบ่งเป็นธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมต้นนำ 30%หรือ 3 หมื่นล้านบาท และธุรกิจอาหาร 70%หรือ 7 หมื่นล้านบาท โดยในกลุ่มธุรกิจอาหารแบ่งเป็น ในประเทศ 5 หมื่นล้านบาท และต่างประเทศ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอาหารของเบทาโกรหลักๆ คือ เนื้อหมูเนื้อไก่ ไข่ไก่ ไส้กรอก แซนด์วิช และอาหารสำเร็จรูปพร้อมทาน

เบทาโกรกำหนดเป้าหมายยอดขาย 1.4แสนล้านบาท ภายในปี 2020 และกำลังอยู่ระหว่างวางแผนธุรกิจเพื่อรองรับอนาคตในอีก 10 ปีถัดไป คือปี 2030 ซึ่งจะเจาะลึกถึงทิศทางธุรกิจ แนวโน้มของโลก และการเชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกันเพื่อให้องค์กรเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน

คุณวสิษฐเข้ามารับช่วงต่อจากคุณพ่อ(ดร.ชัยวัฒน์ แต้ไพสิฐพงษ์) ตั้งแต่อายุ 24 ปีเขาเป็นลูกไม้ไม่ไกลต้นที่เติบโตและคลุกคลีกับโรงงานอาหารสัตว์ตั้งแต่เล็กๆ ชนิดที่เรียกว่า กลิ่นปลาป่นเหม็นฟุ้งติดตัวเวลาเข้าบ้านหลังเรียนจบมหาวิทยาลัยก็ถูกส่งไปฝึกงานกับคู่ค้าที่ญี่ปุ่นร่วมปี แล้วกลับมาลุยธุรกิจของครอบครัว โดยจับงานทุกประเภท ทั้งเซลส์ส่งออก บริหารโครงการ อีกทั้งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงตั้งธุรกิจไส้กรอก ที่ใช้เงินลงทุนในยุคแรก29 ล้านบาท ถึงตอนนี้เบทาโกรมีโรงงานไส้กรอกรวมกัน 5 แห่ง ลงทุนตั้งแต่ราคาแห่งละ 600-800 ล้านบาท ผ่านไปไม่กี่สิบปีต้นทุนและเทคโนโลยีการผลิตขยับราคาขึ้นมาเกือบ 30 เท่าตัวเลยทีเดียว

ช่วง 15 ปีแรกของการทำงาน เขายอมรับว่าเป็นช่วงเวลาสับสนของชีวิต เพราะธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมไม่เคยอยู่นิ่ง จะผกผันไปตามฤดูกาล มีปัจจัยควบคุมไม่ได้เต็มไปหมดพอถึงจุดหนึ่งเขาเลยตัดสินใจเบรกตัวเองดึงตัวเองออกจากธุรกิจ แล้วมองเข้าไปใหม่ทำให้ได้มองเห็นมุมที่ไม่เคยเห็นมากขึ้น

“เวลาคนเราทำงานมักจะเจอสิ่งแวดล้อมเดิมๆ ห่อหุ้มราวกับก้อนเมฆที่บดบังตรงหน้าทำให้คิดอะไรไม่ออก แต่พอวันที่เรารู้สึกตัวแล้วเดินออกมาจากก้อนเมฆ เราได้จะเห็นเรื่องราวอะไรใหม่ๆ ที่เป็นโอกาสนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง และเห็นช่องว่างปรับปรุงพัฒนา”

ขณะเดียวกัน เกษตรอุตสาหกรรมเป็นธุรกิจที่ไม่ได้สวยหรูดูแพง หรืออยู่ในเส้นทางที่ประสบความสำเร็จได้โดยง่าย ในเมื่อทุกอย่างไม่เคยง่ายและไม่ได้มาง่ายๆ โดยเฉพาะแรงบีบอัดจากการแข่งขัน จะทำให้เราเป็นนักคิด นักสู้ และเป็นนักคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆอยู่เสมอ

“อย่าไปมองว่าการแข่งขันมันเป็นเรื่องเครียด หรือมองว่ามันเป็นอะไรที่มีผิดมีถูกแต่ให้มองว่า เราอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรม ที่ผลักดันให้เราต้องคิดอยู่ตลอดเวลา ทำให้เราต้องฝึกความคิดแบบมีพลวัตรพอคิดไปเรื่อยๆ เราก็จะมีอะไรใหม่ๆ ออกมาอยู่ตลอดเวลา แล้วลองเช็คดูว่าสิ่งที่เราคิดไปด้วยกันได้ไหมกับวิธีคิดของคนในองค์กรถ้าไปได้ เราก็ค่อยผลักดันไปทีละสเต็ปค่อยๆ สร้างให้เกิด”

หนึ่งในความสำเร็จของเบทาโกรคือ การเกาะกุมซัพพลายเชนอย่างเหนียวแน่น ด้วยการใช้แนวคิดแบบ 360 องศา มองให้ขาดในทุกห่วงโซ่ธุรกิจอาหาร เมื่อใช้วิธีมองแบบนี้ทำให้สามารถต่อโซ่ธุรกิจได้ทุกห่วง ทั้งบนกลาง ล่าง ซ้าย ขวา จะให้ห่วงโซ่ธุรกิจมันยาแบบ Expand หรือลงลึกแบบ In Depth ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น เหมือนกับสร้างให้โซ่ห่วงนี้มีชีวิตและไม่มีวันหยุดนิ่ง ตราบเท่าที่เราไม่หยุดคิด

เขาบอกว่า เวลาเราพูดถึงซัพพลายเชนอย่าไปยึดติดว่าต้องเป็นรูปแบบเดียว ขยับมุมมองให้ไดนามิกเหมือนเลโก้ จะต่อซ้ายก็ได้ต่อขวาก็ดี ยิ่งขยันต่อได้มาก เครือข่ายธุรกิจก็ยิ่งขยายออกไป จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง

“ผมพยายามอธิบายตลอดเวลาว่า เมื่อเบทาโกรเดินมาครบ 50 ปี เรายืนอยู่ตรงนี้และเราจะเห็นอะไรในอีก 3 ปีข้างหน้า เราต้องเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่า ธุรกิจมันมีโอกาสที่จะลงลึกไปได้อีกหรือเปล่า หรือมันมีโอกาสจะตั้งลำให้สูงขึ้นไป หรือมันจะมีขนาดธุรกิจที่ใหญ่กว่านี้อีกได้ไหม ถ้าเราคิดได้แบบนี้ตลอดเวลาเราก็จะมีเรื่องให้ทำตลอดเวลา”

วาระแห่งชาติสำหรับธุรกิจเบทาโกรวันนี้คือ เติบโตไปข้างหน้าอย่างมีคุณภาพและคุณธรรม ไม่ว่าจะขยับทำอะไร สังคมรอบตัวต้องโตไปกับเบทาโกรด้วย ถือเป็นสรณะในการทำธุรกิจ จะโตเร็วโตช้าไม่เป็นไร แต่ต้องไปด้วยกันยกแผง ภายใต้หลักการที่ว่า ต้องไม่เอาเปรียบใคร เน้นเป้าหมายร่วมทำให้อุตสาหกรรมเกษตรแข็งแรงขึ้น

 

ผลิตภัณฑ์ ในเครือเบทาโกร

 

อย่าไปมองว่าการแข่งขันมันเป็นเรื่องเครียด หรือมองว่ามันเป็นอะไรที่มีผิดมีถูก แต่ให้มองว่า เราอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรม ที่ผลักดันให้เราต้องคิดอยู่ตลอดเวลา
 

เขาถูกปลูกฝังมาแต่เล็กแต่น้อยว่า เวลา ทeธุรกิจ “ความถูกต้อง” ต้องมาก่อน กeไร ไม่จำเป็น เอาไว้ทีหลัง ความถูกต้องทeให้เรา ไม่คิดไปโกงใคร แต่ถ้าเมื่อไหร่ทำแล้วผิด พลาด ให้ระลึกไว้เสมอว่า ต้นทุนการแก้ไขมี ราคาแพง ฉะนั้นแล้ว ก่อนทำอะไร ต้องคิดให้ ดีๆ และทำออกมาให้ดีที่สุด

“ความถูกต้องมาได้หลายนัยยะ มีนัยยะ ของความจริงใจ มีนัยยะของประสิทธิภาพ และนัยยะของการมองทั้งระยะสั้นและระยะ ยาว”

เบทาโกรกำหนดจุดยืนธุรกิจที่แตกต่าง จากคนอื่น ท่ามกลางการแข่งขันที่ระอุเดือด ไม่ลดราวาศอก แต่แทนที่จะรอให้เลือดสาด เบทาโกรพยายามตั้งโจทย์ใหม่ว่า ไม่จำเป็น เสมอไปที่การแข่งขันจะเป็นเรื่องของการต่อสู้ เพราะจริงๆ แล้ว มันเป็นเรื่องของการเลือกที่ ยืนในตลาดมากกว่า (Positioning) เพราะช่อง ว่างในตลาดยังมีอีกมาก อยู่ที่เราเลือกมอง ถ้าคู่แข่งขันเทนำหนักไปทางไหนมาก เราก็ต้อง กำหนดบทบาทของตัวเองว่า แล้วเราจะทำ อะไร แล้วเราจะยืนอยู่ตรงไหน เพราะสุดท้าย แล้วการทำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม มันไม่ได้ อยู่ที่ว่าคุณจะต้องไปชกกัน

“สรุปแล้วการแข่งขันคือ การหาที่ยืนใน อุตสาหกรรม แล้วคุณต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า จุดที่คุณเลือกยืนมันคงทนถาวรไหม แล้วคุณ ปกป้องฐานที่มั่นเอาไว้ได้ไหม แล้วคุณจะทe อย่างไรถ้าคู่แข่งเขาเดินมาชนในพื้นที่ของคุณ คุณเลือกที่จะโกรธก็ได้ แล้วถ้าเขาพยายาม มาบล็อกอกคุณต่อล่ะ เขาอาจจะทeอะไรก็ได้ ให้คุณยืนได้ยากขึ้น เราต้องถามตัวเองตลอด เวลาว่า การแข่งขันมันทeให้เราต้องทeอะไรที่ มากขึ้นไปกว่านี้อีกไหม”

ในจุดที่เบทาโกรยืน และทุกสิ่งที่เบทาโกรทำ เป้าหมายเดียวที่อยากได้คือ การเป็นแบรนด์ สินค้าที่อยู่ในสายตาผู้บริโภค และผู้บริโภค มองว่าเป็นแบรนด์ที่นำเสนออาหารที่ดี มี คุณภาพ มีความปลอดภัย เป็นแบรนด์แรก ที่ผู้บริโภคคิดถึง ว่าเป็นสินค้ามีคุณภาพ และ เชื่อมั่นได้ในความปลอดภัย เป็นแบรนด์สินค้า ที่ไม่ได้คิดว่าจะต้องยิ่งใหญ่ แต่เป็นแบรนด์ที่ มีจุดยืนชัดเจน อยู่ในคอมฟอร์ทโซน ทำธุรกิจ อย่างมีความสุข และไม่กดดันตัวเองมาก เกินไป

 

วสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์

 

เราต้องกำหนด บทบาทของตัวเองว่า แล้วเราจะทำอะไร แล้วเราจะยืน อยู่ตรงไหน เพราะสุดท้ายแล้ว การทำธุรกิจ เกษตรอุตสาหกรรม มันไม่ได้อยู่ที่ว่า คุณจะต้องไปชกกัน
 

สำาหรับเบทาโกรแล้ว กำไรไม่ใช่เป้าหมาย ของชีวิตและธุรกิจ เพราะสิ่งที่สำคัญกว่าคือ การสร้างองค์กรให้ยั่งยืน ทำให้คนทำงานมี ความมั่นคง ดังนั้นแล้ว เป้าหมายเติบโตจึง ค่อยเป็นค่อยไปแบบ Organic Growth ทำ ธุรกิจอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย และพยายาม รักษาขีดความสามารถให้มากกว่าอัตราเติบโต ของทั้งอุตสาหกรรม

ในวันที่ว่างเว้นจากงาน คุณวสิษฐใช้เวลา ส่วนหนึ่งหมดไปกับกีฬากอล์ฟ ซึ่งเป็นงานอดิเรก ที่ไม่ใช่แค่ส่งผลดีกับสมาธิและสุขภาพ แต่ยัง เอื้อประโยชน์โดยตรงกับธุรกิจ เพราะฐาน ลูกค้าเบทาโกรส่วนใหญ่ก็นิยมมาสังสรรค์ ผ่านกีฬากอล์ฟอยู่ก่อนแล้ว เขายอมรับว่า กอล์ฟเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ องค์กรให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หลังจากที่ เบทาโกรเบนเข็มมาทำกิจกรรมเกี่ยวกับกอล์ฟ อย่างเป็นกิจจะลักษณะ

และด้วยความที่เติบโตมากับธุรกิจอาหาร ทำให้เขาเป็นคนช่างสรรหาของอร่อยๆ ทาน ถ้าไปเที่ยวที่ไหนก็จะค้นหาข้อมูลอาหาร เตรียมเอาไว้ล่วงหน้า

“สมัยก่อนไม่มีอินเทอร์เน็ต ไม่มีกูเกิล เวลาไปทริป ผมจะวางแผนเองทั้งหมด จะ นอนที่ไหน จะทานอะไร ผมทำการบ้านเยอะ มาก จนได้ประสบการณ์เยอะแยะ แถมไม่ได้ แค่ทานอย่างเดียว ช่างคอมเมนต์ด้วย อะไร อร่อย อะไรทานแล้วดี ชวนเชฟคุยซักถาม ทำให้ได้ความรู้มากขึ้น เพื่อนก็มีเยอะขึ้น”

สิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากความเป็นคนช่าง รับประทานก็คือ ของถูกของแพงไม่สำคัญเท่ากับ ความคุ้มค่าในทุกบาทที่เราจ่าย เรื่องสนุกของ การได้ทานอาหาร ไม่ได้อยู่ที่เรามีเงิน แต่อยู่ ที่เรา Enjoy กับภาพรวมของอาหารทั้งหมด ที่เป็นส่วนผสมกันระหว่างคุณภาพอาหาร รูปแบบการให้บริการ ว่าทุกอย่างสอดคล้องกัน แค่ไหน ถ้าสมดุลแปลว่าเราโอเค อยากกลับ มาทานอีก แต่ถ้าไม่สมดุล แปลว่า เราได้เรียน รู้แล้วว่า อาหารมื้อนี้ไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป

เขาเป็นผู้บริหารที่สนใจกับทุกเรื่องราว ความเป็นไปของโลกใบนี้ และเลือกที่จะใช้ ชีวิตแบบไม่ยึดติด ชอบชีวิตเรียบง่าย สุภาพ อ่อนโยน แทบไม่ต่างไปจากบุคลิกขององค์กร ที่ถ่อมตน ไม่เคยคิดอยากเติบโตแบบ Aggressive แค่ Organic Growth ก็เกินพอ ขอแค่นั้นจริงๆ

ความรู้สึกที่มีต่อ ‘ทิสโก้’

“คุณวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในผู้บริหารองค์กรชั้นนำที่รู้จักคุ้นเคยกับทิสโก้มานาน สิ่งแรกที่คุณวสิษฐนึกถึง เมื่อเอ่ยถึงทิสโก้ คือ ชื่อเสียงขององค์กรที่มีแต่คนเก่งระดับหัวกะทิ

“นึกถึงทิสโก้ ผมนึกถึง ‘เรื่องคน’ ทิสโก้เป็นองค์กรที่โดดเด่นด้านความสามารถของบุคลากร พี่ชายของผม (คุณวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ ซีอีโอเครือเบทาโกร) ก็เคยผ่านประสบการณ์ทำงาน ที่ทิสโก้มาก่อน”

ในมุมมองของคุณวสิษฐ ทิสโก้ถือเป็นผู้นำสถาบันการเงินที่โดดเด่นด้าน Financial Advisor (FA) หลายต่อหลายโครงการลงทุนของเบทาโกรจึงเลือกใช้บริการคำแนะนำปรึกษาจาก ทีมงานมืออาชีพของทิสโก้มาโดยตลอด