file

เศรษฐกิจไทยปี 2016 ในครึ่งแรกและครึ่งหลัง

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 38 | คอลัมน์ @ ECON

เราปรับประมาณการ GDP ปี 2016 เพิ่มเป็น +3.4% จากเดิม +3.0% เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชน ที่คิดเป็นสัดส่วน 50% ของ GDP ขยายตัวได้ดีกว่าคาดค่อนข้างมากในช่วงครึ่งแรกของปี และยังมีแนวโน้ม แข็งแกร่งต่อเนื่องในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดี เรายังคงประมาณการองค์ประกอบอื่นๆ เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังไม่สมดุลในทุกภาคส่วน โดยคาดว่าภาคการส่งออกจะยังคงอ่อนแอกดดันการลงทุนภาคเอกชน ในครึ่งปีหลัง ขณะที่การท่องเที่ยวคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากเหตุระเบิดในภาคใต้แค่ในระยะสั้น

Bootstrap Image Preview
 
“เราคาดว่าการบริโภคจะยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้อย่างต่อเนื่อง ในตลอดทั้งปีนี้และปีหน้า จากปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การปรับลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ํา และภาระหนี้ตามโครงการรถคันแรกที่ทยอยหมดลง”

การบริโภคภาคเอกชน

การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 2 ขยายตัว +3.8% YoY เร่งตัวขึ้นจาก +2.3% YoY ในไตรมาสแรก และนับเป็น การขยายตัวสูงสุดในรอบ 13 ไตรมาส ตามยอดขายรถยนต์ที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง โดยมีปัจจัยหนุนจากการเร่งตัวของ รายได้ภาคเกษตร และมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจระยะสั้น โดยการบริโภค ภาคเอกชนในครึ่งปีแรกขยายตัว +3.1% YoY มองไปข้างหน้า เราคาดว่าการบริโภค จะยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ได้อย่างต่อเนื่องในตลอดทั้งปีนี้และ ปีหน้า จากปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การปรับลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และภาระหนี้ ตามโครงการรถคันแรกที่ทยอยหมดลง

.การส่งออกและการลงทุนภาคเอกชน

เรามองว่าการส่งออกมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นในระยะข้างหน้า และอาจจะพลิกกลับมาขยายตัวได้ในช่วงไตรมาสสุดท้าย ตามการฟื้นตัวของราคา สินค้าส่งออก ทั้งนี้ เราปรับประมาณการตัวเลขส่งออกปี 2016 เพิ่มขึ้นเป็น -1.7% YoY จากเดิมคาด -2.0% YoY โดยในส่วนของค่าเงินบาทที่ แข็งค่าในช่วงที่ผ่านมานั้น คาดว่าไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของภาคการส่งออก เนื่องจากเงินบาทแข็งค่าสอดคล้องกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาค

ส่วนการลงทุนภาคเอกชนในครึ่งแรกของปี 2016 ทรงตัวจากปีก่อน (ขยายตัวเล็กน้อย +1.1% YoY) โดยเรามองว่าการลงทุนภาคเอกชน จะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามภาคการส่งออกที่ฟื้นตัวช้าและการใช้กำลังผลิตของภาคอุตสาหกรรม (CAPU) ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ เราคาดว่าการฟื้นตัวการลงทุนภาคเอกชนจะมีสัญญาณดีขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นได้ในไตรมาส 4

 

Bootstrap Image Preview
 

การสนับสนุนภาครัฐ

การสนับสนุนภาครัฐยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งจะช่วยหนุนการขยายตัวเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งสุดท้ายของปี โดย 4 มาตรการ เพิ่มเติมในช่วงครึ่งหลังของปี ได้แก่ 1. มาตรการอุดหนุนชาวนาฤดูเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ (วงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท) 2. มาตรการปล่อยกู้ช่วยเหลือผู้มีรายได้ต่ำ (วงเงิน 2.0 หมื่นล้านบาท) 3. มาตรการ SME Soft Loan (วงเงิน 3.0 หมื่นล้านบาท) 4. มาตรการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2017 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2016 มาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นรายจ่ายภาคครัวเรือน โดยเฉพาะมาตรการอุดหนุนชาวนาปลูกข้าวในฤดูผลิตใหม่ที่จะจ่ายเงินอุดหนุนชาวนา รายละไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนมาตรการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2017 จะช่วยกระตุ้นรายจ่ายภาครัฐในช่วงไตรมาสสุดท้าย

 

Bootstrap Image Preview
 
“การท่องเที่ยวยังคงเป็นเครื่องยนต์ หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเราคาดว่าจะมียอดนักท่องเที่ยว ต่างชาติรวม 34 ล้านคนในปี 2016 เพิ่มขึ้น +13.8% จากปีก่อน โดยการ แก้ไขปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญน่าจะ เป็นโอกาสในการยกระดับคุณภาพ และภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ของไทยในระยะยาว”

การท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวยังคงเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเราคาดว่าจะมียอดนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม 34 ล้านคนในปี 2016 เพิ่มขึ้น +13.8% จากปีก่อน โดยปัจจัยกดดันภาคการท่องเที่ยว เช่น เหตุระเบิด ภาคใต้ หรือการกวาดล้างบริษัททัวร์ศูนย์เหรียญไม่น่าจะส่งผลกระทบ รุนแรงและอาจจะเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว โดยการแก้ไขปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญ น่าจะเป็นโอกาสในการยกระดับคุณภาพและภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ของไทยในระยะยาว

 

Bootstrap Image Preview
 

สหรัฐฯ จะเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 8 พ.ย. นี้

ผลสำรวจก่อนการเลือกตั้งล่าสุด ชี้ว่า นาง Hillary Clinton จากพรรค Democrat จะได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี โดยจะมีรัฐสภา (Congress) ที่ประกอบด้วยวุฒิสภา (Senate) และสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) ที่มาจากพรรค Republican เป็นส่วนมาก

ด้านนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ นาง Clinton จะเสนอแผนเพิ่มภาษีรายได้ บุคคลธรรมดา โดยเพิ่มกรอบสูงสุดของรายได้เป็น 43.6% จากปัจจุบันที่ 39.6% เพื่อนำไปใช้จ่ายในโครงการก่อสร้างพื้นฐานมูลค่า 2.75 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ นาย Donald Trump จะเสนอให้ลดทั้งภาษีรายได้ บุคคลธรรมดาเป็น 25% (จากปัจจุบัน 39.6%) และภาษีนิติบุคคลเป็น 15% (จากปัจจุบัน 35%) ซึ่งสอดคล้องกับรัฐสภาที่ต้องการให้ลดภาษี ซึ่งทำให้ แผนของนาย Trump มีโอกาสที่จะผ่านมติสภามากกว่าของนาง Clinton

ด้านการค้าระหว่างประเทศ นาง Clinton มีนโยบายรักษาผลประโยชน์ ทางการค้าเช่นเดียวกับนาย Trump แต่นาง Clinton มีท่าทีที่ประนีประนอม มากกว่า โดยนาง Clinton จะเพิ่มภาษีอากร, ภาษีศุลกากร และมาตรการ อื่นๆ ต่อประเทศที่เข้าเกณฑ์ควบคุมค่าเงิน รวมถึงออกมาตรการตอบโต้ อย่างรุนแรงต่อการเทขายสินค้านำเข้าราคาถูก (Dumping) ขณะที่ นาย Trump จะเพิ่มภาษีอากรนำเข้าสินค้าจากจีน นอกจากนี้ ทั้งสองท่าน มีความเห็นคัดค้านข้อตกลง TPP (Trans-Pacific Partnership) และเสนอให้ เจรจาข้อตกลง NAFTA (North American Free Trade Agreement) ใหม่