file

“สงขลา” ประตูเวลาแห่งความคลาสสิก

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 38 | คอลัมน์ Going Away

ยังไม่ทันที่แสงสว่างจากดวงอาทิตย์จะทํา งาน ประตูเฟี้ยมบานนั้นก็ค่อยๆ ขยับ และถูกพับรวบเข้าด้วยกัน พร้อมๆ กับการเดินออกมายิ้มและทักทายผู้คนของเจ้าของบ้าน ก่อนจะหันกลับไปจัดแจงข้าวของในร้าน เพื่อเตรียมต้อนรับลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการในแต่ละวัน

Bootstrap Image Preview
 

 

วิถีชีวิตของชาวเมืองสงขลาที่อยู่ในเขต “เมืองเก่า” ดูเหมือนจะหมุนเวียนไปอย่างช้าๆ และไม่มีทีท่าว่าจะ “เปลี่ยนไป” ไม่ว่าจะด้วย เหตุผลอะไรก็ตาม ซึ่งการคงอยู่ของวิถีชีวิตที่ เรียบง่ายแบบนั้น ทำให้ย่านเก่าเมืองสงขลา ยังคงงดงาม และเป็นเสน่ห์ในแบบที่นักเดินทาง ผู้หลงรักความสงบตามหา

สงขลา เป็นเมืองโบราณที่เคยปรากฏชื่ออยู่ ในบันทึกโบราณเก่าแก่หลายฉบับ ทั้งบันทึก ของพ่อค้าและนักเดินเรือชาวอาหรับเปอร์เซีย ช่วงปี พ.ศ.1993-2093 ที่ระบุนามเมือง “ซิงกูร์” หรือ “ซิงกอร่า” และในหนังสือประวัติศาสตร์ และการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยามของ นายนิโกลาส แซร์แวส ก็เรียกชื่อเมืองสงขลา ว่า “เมืองสิงขร” จนตอนหลังมีการวิเคราะห์ กันไปต่างๆ นานา แต่ไม่ว่าอย่างไร “สงขลา” ก็เป็นชื่อสุดท้ายที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยดี

ว่ากันว่า เมื่อราว 200 ปีก่อนนั้น ตัวเมือง สงขลาเคยตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ เรียกว่า “สงขลาฝั่งแหลมสน” จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2385 จึงย้ายมาทางฝั่งตะวันออก บริเวณ ตำบลบ่อยาง พร้อมๆ กับชื่อเรียกขานใหม่ ในนาม “สงขลาฝั่งบ่อยาง” ซึ่งมีความสำคัญ ในแง่ของการเป็นเมืองท่า เป็นเมืองการค้าที่มี การซื้อขายแลกเปลี่ยนในระดับนานาชาติ สงขลาบ่อยางจึงเริ่มเป็นที่รู้จัก และมีความ คึกคักเป็นอย่างยิ่ง

 

Bootstrap Image Preview
 

 

ภาพอดีตอันรุ่งเรืองของสงขลาถูกฉายชัด ผ่านสถาปัตยกรรรมที่ซ่อนซุกอยู่ในตึกรามบ้าน ช่องของ “ย่านเก่าเมืองสงขลา” ซึ่งมีถนน สำคัญ 3 สาย คือ ถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงาม (เดิมคือถนนเก้าห้อง) บนถนน เหล่านี้ยังคงสภาพสถาปัตยกรรมแบบโบราณ ไว้อย่างดี ทั้งห้องแถวไม้แบบจีน ตึกคลาสสิก สไตล์ชิโน-ยูโรเปียน รวมถึงอาคารร่วมสมัยที่ เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งไทย จีน อิสลาม ซึ่งเป็นเชื้อสายหลักของ ประชากรในย่านนี้

แค่เดินชมสถาปัตยกรรมในย่านเมืองเก่า ก็เพลินแล้ว เพราะมีรูปแบบมากมายให้ศึกษา ทั้งอาคารบ้านเรือน ศาลหลักเมือง ศาลเจ้า วัด โรงสีโบราณ และซากกำแพงเมือง ใครมี เครื่องเขียนสำหรับงานศิลปะ อาจจะร่างรูป ลายเส้นสวยๆ ตามไปด้วยก็ได้

ปัจจุบันจังหวัดสงขลากำลังพัฒนาให้ย่าน เมืองเก่ากลายเป็น “ถนนสายศิลปะ” หรือ Street Art ซึ่งจะมีภาพงานศิลปะบนกำแพง และงานประติมากรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ของชาวเมืองสงขลาดั้งเดิมจัดแสดงอยู่ตามมุม ต่างๆ การได้เดินทอดน่องไปบนถนนสายนี้ สายนั้นอย่างช้าๆ จึงน่าจะเป็นความอิ่มเอม เปรมใจของคนที่ได้มาเยือนสงขลา

ไม่มีข้อกหนดตายตัวสำหรับการเดินชม เมืองเก่าสงขลา ใครสะดวกจะเริ่มจากไหนก็ สามารถทำได้ เพราะถนนสายหลักแต่ละสาย จะมีถนนสายรองคอยเชื่อมโยงให้การเดินทาง ง่ายขึ้น ไล่มาตั้งแต่ถนนรามัญ ถนนปัตตานี ถนนยะลา ถนนพัทลุง หรือถนนนราธิวาส

ไม่เพียงแค่สถาปัตยกรรมโบราณเท่านั้นที่ ชวนชม แต่ร้านอาหารเก่าแก่และเป็นเอกลักษณ์ ดั้งเดิมของเมืองสงขลา ก็ยังตั้งอยู่ตามมุม ต่างๆ ของถนนสายสำคัญเหล่านี้ด้วย โดยเฉพาะ บนถนนนางงามที่มีทั้งอาหารคาวหวาน หลายแห่ง ซึ่งสะท้อนวัฒนธรรมการกินของ ชาวเมืองเก่าสงขลาได้อย่างดี

ผู้รู้ในเมืองสงขลาเล่าว่า สงขลารุ่มรวย ไปด้วยอาหารการกิน มีร้านอาหารเปิดให้ บริการตั้งแต่เช้ายาวไปจนถึงดึกดื่น ซึ่งแต่ละ ร้านนั้นก็มีเสน่ห์และตำนานความเป็นมาที่ แตกต่างกัน ถ้าจะให้สนุกต้องเข้าไปนั่งกินและ พูดคุยสอบถามความเป็นมาไปด้วย จะได้ อรรถรสที่สุด

 

Bootstrap Image Preview
 

 

อย่างเช่นมื้อเช้า ชาวสงขลามักเลือกกิน อะไรง่ายๆ เช่น เมนู “เปียก” หรือข้าวต้ม หรือ โจ๊ก ซึ่งร้านที่ให้บริการมายาวนานกว่า 100 ปี ก็คือ “ร้านโจ๊กเกาะไทย” ตรงแยกถนนรามัญ เยื้องๆ กับภาพ “ร้าน้ำชาฟุเจา” ซึ่งเป็นศิลปะ บนกำแพงอันโด่งดังของเมืองเก่าสงขลานั่นเอง

ส่วนมื้ออื่นๆ ก็ตามชอบใจ เมนูซาลาเปา อาจมีหลายร้านที่ขึ้นชื่อ เช่น “ร้านตั้งฮั่วกิม” ที่จำาหน่ายขนมจีบ-ซาลาเปารสดี ในสมัย รัชกาลที่ 6 ที่นี่เคยเป็นโรงแรมมาก่อน จากนั้น จึงเปลี่ยนมาขายน้ำชา กาแฟ และมีซาลาเปา เป็นของว่างอย่างในปัจจุบัน หรือ “ร้านเกียดฟั่ง” ที่แปลว่า กลิ่นหอม สะอาด เปิดบริการมานาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 นอกจากซาลาเปาที่ได้รับ ความนิยมอย่างมากแล้ว ร้านเกียดฟั่งยังเป็น ต้นตำรับของอาหารพื้นถิ่นแบบที่เรียกว่า “ข้าวสตู” อีกด้วย

หลายร้านให้เลือกซื้อหา แต่ละร้านก็มักจะมี เมนูเด่นเป็นของตัวเอง อย่างเช่น “ร้านขนมไทย แม่ฉวี” ที่มีทีเด็ดอยู่ตรง “ขนมต้มสามเหลี่ยม มีไส้” ทั้งไส้หมูทรงเครื่องไข่เค็ม และไส้ไก่ ทรงเครื่องไข่เค็ม โดยจะห่อด้วยใบกระพ้อ ซึ่งขนมต้มสามเหลี่ยมนี้เป็นขนมไทยพื้นถิ่น ของจังหวัดสงขลาที่ใช้ในเทศกาลงานบุญ ต่างๆ หรือ “ร้านจิ่นกั้วหยวน” ไอศกรีมไข่แข็ง ต้นตำรับแสนอร่อยของคุณยายวัยชรา ทว่า ถูกอกถูกใจวัยรุ่นยุคใหม่อย่างยิ่ง

ส่วนร้านเก๋ๆ คาเฟ่ดีๆ หรือพิพิธภัณฑ์ มักจะรวมตัวกันอยู่ในย่านที่เรียกว่า NAS (Nakornnai Art Street) ซึ่งคนรุ่นใหม่รวมตัว กันในนาม “กลุ่มรักษ์นครใน” ได้ช่วยกันฟื้นฟู ความน่ารักของเมืองเก่าให้ปรากฏสู่สายตาคน ในปัจจุบัน รวมถึงผลักดันย่านเก่าสงขลาให้ไปสู่ สายตานานาชาติในฐานะ “เมืองมรดกโลก” ด้วย

ไม่มีกลอนประตูใดๆ จะปิดสนิทแน่น เพราะวันนี้คนในย่านเก่าเมืองสงขลาพากัน “เปิดประตูบ้าน” เพื่อรอต้อนรับการมาเยือน ของนักท่องเที่ยวที่แสนน่ารักอยู่ทุกขณะ