file

หุ้นไทยไตรมาส 4 เสี่ยงปรับฐานมากขึ้นเรื่อยๆ แนะหลบเข้าหุ้นเชิงรับ-หุ้นปันผล-หุ้นมีประเด็นบวกเฉพาะตัว

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 38 | คอลัมน์ Investment Strategy

หุ้นไทยปีนี้ร้อนแรง บวก 3 ไตรมาสติด ดีสุดในภูมิภาค รองจากอินโดนีเซีย

ตลาดหุ้นไทยปีนี้ (YTD ถึง 7 ก.ย.) ปรับตัวขึ้น 20% (ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ) เป็นตลาดหุ้น ที่ให้ผลตอบแทนสูงเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาค เอเชีย รองเพียงตลาดหุ้นอินโดนีเซีย (+24%) และยังติด 1 ใน 10 ของตลาดหุ้นทั่วโลกที่ให้ ผลตอบแทนดีที่สุดด้วย (Outperform) เทียบ กับตลาดหุ้นทั่วโลกเฉลี่ยปรับตัวขึ้นเพียง 6% ขณะที่ตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนแย่ที่สุด 5 อันดับแรก (Underperform) คือ ตลาดหุ้น อิตาลี (-17%), จีน (-16%), โปรตุเกส (-8%), กรีซ (-6%) และสาธารณรัฐเช็ก (-5%) ตามลําดับ

 

Bootstrap Image Preview
 

เราอยากตั้งข้อสังเกตให้นักลงทุนเห็นว่า (1) ตลาดหุ้น ที่ Outperform ในปีนี้ส่วนใหญ่ คือ ตลาดหุ้นที่ Underperform ในปีที่แล้ว และตลาดหุ้นที่ Underperform ในปีนี้ คือ ตลาดหุ้นที่ Outperform ในปีที่แล้ว สะท้อนการโยกของ เม็ดเงินไปมาระหว่างตลาดหุ้น กล่าวคือ เมื่อตลาดหุ้นไหน ปรับตัวขึ้นมามากแล้ว ก็จะถูกขายทำกำไร และเงินจะไหล เข้าไปในตลาดหุ้นที่ราคายังขึ้นน้อยหรือปรับลงมามากแล้ว ก่อนหน้านี้ สลับกันไปมาเช่นนี้ (2) นับตั้งแต่ก่อตั้งตลาด หลักทรัพย์ฯ ในปี ค.ศ. 1975 ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทน โดยเฉลี่ยปีละ +14% ดังนั้นการที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้น มาแล้ว +20% ในปีนี้ (YTD, in US$ terms) ประกอบกับ ระดับการประเมินมูลค่าหุ้นไทยที่ค่อนข้างสูง โดยคิดเป็น Forward PER ที่ 15.0 เท่าในช่วง 12 เดือนข้างหน้า เทียบกับค่าเฉลี่ย Forward PER 10 ปีย้อนหลังที่ 14.7 เท่า ทำให้เรามองตลาดหุ้นไทยมีความเสี่ยงต่อการปรับฐาน มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้

 

 
“เรามองภาพรวมนโยบายการเงิน ทั่วโลกผ่านพ้นช่วงเวลาสุดท้าย ที่ดีที่สุดของปีนี้ไปแล้วเมื่อสิ้น ไตรมาส 3 ที่ผ่านมา หลังจากนั้น ราคาหุ้นทั่วโลกน่าจะทรงกับลง ในไตรมาส 4”

มองภาพรวมนโยบายการเงินทั่วโลกผ่านพ้น ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของปีนี้ไปแล้ว

หากทุกอย่างเป็นไปตามที่เราประเมินไว้ กล่าวคือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในการประชุมเดือน ก.ย. และการประชุมธนาคารกลาง ชั้นนำอื่นๆ ของโลก ได้แก่ ธนาคารกลางสหภาพยุโรป (ECB), ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตัดสินใจผ่อนคลายการเงินเพิ่มในการประชุมเดือน ก.ย. อาทิ การลดอัตราดอกเบี้ย และการขยายมาตรการผ่อนคลาย การเงินเชิงปริมาณ (QE) เป็นต้น (ตอนที่เขียนบทความนี้ เรายังไม่ทราบผลการประชุมของทุกธนาคารกลางที่กล่าวมา) เรามองภาพรวมนโยบายการเงินทั่วโลกผ่านพ้นช่วงเวลา สุดท้ายที่ดีที่สุดของปีนี้ไปแล้วเมื่อสิ้นไตรมาส 3 ที่ผ่านมา หลังจากนั้น ราคาหุ้นทั่วโลกน่าจะทรงกับลงในไตรมาส 4 จากความกังวล FED ขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะกลับมากดดัน ตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนช่วงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED ในการประชุมเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว (เรายังคงคาดการณ์ เดิมว่า FED จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ครั้งเดียวในการ ประชุมเดือน ธ.ค.) ซึ่งช่วงเวลานั้นดัชนีสำคัญๆ ของ ตลาดหุ้นทั่วโลกไม่ขึ้นทำจุดสูงใหม่แล้ว แต่เป็นแกว่งตัว ซิกแซกลงราว 2 เดือนทั้งก่อนและหลัง FED ขึ้นอัตรา ดอกเบี้ย หลังจากนั้นจึงจะค่อยๆ ทยอยฟื้นตัวขึ้นใน ระยะถัดไป

อนึ่ง แม้ธนาคารกลางอื่นๆ ยกเว้น FED จะมีแนวโน้มผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมอยู่ แต่เริ่มเป็นไปอย่างจำกัดมากขึ้น และส่งผล เชิงบวกต่อตลาดหุ้นโลกน้อยลงแล้ว เพราะ (1) นโยบายการเงินต่างๆ ถูกงัดมาใช้มากแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบ การทำ QE (ทั้งเพิ่มขนาดวงเงิน ขยายขอบเขตการเข้าซื้อสินทรัพย์ และขยายเวลา) และการปล่อยโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และ (2) การประเมินมูลค่าหุ้น ในปัจจุบันอยู่ระดับสูงกันทั่วโลก จึงมีความเปราะบางมากขึ้น ดังนั้น นับจากนี้ ต้องติดตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกว่าจะดีพอที่จะรองรับ ระดับราคาหุ้นที่สูงขึ้นในปัจจุบันได้หรือไม่

 

Bootstrap Image Preview
 

 

แนะหลบเข้าหุ้นเชิงรับ-หุ้นปันผล-หุ้นมีประเด็นบวกเฉพาะตัว ในไตรมาส 4

ด้วยเรามองตลาดหุ้นไทยมีความเสี่ยงต่อการปรับฐานมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ เราจึงแนะนำนักลงทุนเลือกลงทุนหุ้นเชิงรับ ที่มีความผันผวนราคาต่ำกว่าตลาด หุ้นปันผล และหุ้นที่มีประเด็นบวก เฉพาะตัวในไตรมาส 4 โดยหุ้นเด่นที่เราแนะนำในไตรมาสนี้ คือ ANAN (คาดก่ำไรครึ่งปีหลังจะดีกว่าครึ่งปีแรกที่มีกำไร 359 ล้านบาท ถึง 3x จากการโอนคอนโดจำนวนมากในไตรมาส 4 และกำไรปีหน้าคาดโตต่อ 28% PER 10x ปันผล 3% มูลค่าเหมาะสม 6.1 บาท), CK (แนวโน้มบริษัท สดใสจากงานในมือสูงถึง 7.9 หมื่นล้านบาท และมีโอกาสได้งานเพิ่ม อีกมาก ทั้งงานรับเหมาก่อสร้างโครงการลงทุนขนาดใหญ่จากภาครัฐ และโรงไฟฟ้าที่ลาวและเมียนมา รวมทั้งการประมูลงานต่างๆ ของ บริษัทลูก อาทิ BEM, CKP, TTW มูลค่าเหมาะสม 40 บาท), GPSC (มองกำไรจะเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่จนถึงปี 2020 จากกำลังการผลิต ไฟฟ้าที่ทยอยเข้ามาต่อเนื่อง และการเข้าถือหุ้นในบริษัทที่ประกอบธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำ และสาธารณูปโภคต่างๆ มูลค่าเหมาะสม 39 บาท), MC (เป็นหุ้นค้าปลีกที่ราคาไม่แพง PER เพียง 12-13x ต้นๆ เทียบกับหุ้นค้าปลีกตัวอื่นๆ ที่ PER เฉลี่ยสูงกว่า 20x แนวโน้มกำไร คาดจะเติบโต 10-12% และผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง เฉลี่ย 6-7% ในช่วง 2 ปีข้างหน้า มูลค่าเหมาะสม 16 บาท), SEAFCO (แนวโน้มกำไร ครึ่งปีหลังและปีหน้าสดใส เนื่องจากมูลค่างานในมือมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น รับอานิสงส์จากโครงการลงทุนระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของภาครัฐที่ คาดว่าจะมีออกมาอีกในช่วงที่เหลือของปีนี้จนถึงปีหน้า มูลค่าเหมาะสม 13.4 บาท), TPIPL (คาดกำไรจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นใน 4Q16 เป็นต้นไป หลังจาก โรงไฟฟ้าเริ่มดำเนินงาน และปีหน้าจะโตก้าวกระโดด เนื่องจากจะมี โรงไฟฟ้าเข้ามาอีก 90 MW บริษัทมีแผนนำบริษัทลูกในธุรกิจโรงไฟฟ้าขยะ เข้าตลาดภายในปลายปีนี้ และอาจพิจารณาเอาส่วนเกินจากการตีราคา สินทรัพย์ขึ้นออกจากมูลค่าทางบัญชีจะช่วยปลดล็อกกำไรในอนาคต เนื่องจากไม่จำเป็นต้องบันทึกค่าเสื่อมราคาอีกต่อไป มูลค่าเหมาะสม 3.3 บาท)