file

“บัณฑิต สะเพียรชัย” แม่ทัพ “BCPG” ผู้บุกเบิกนวัตกรรมสีเขียว สู่ธุรกิจโรงไฟฟ้าชั้นนำแห่งเอเชีย

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 41 | คอลัมน์ People

เมื่อ “สายลม” แห่งโลกธุรกิจพลังงาน “เปลี่ยนทิศ” สู่ยุคของ “พลังงานสะอาด” นี่คือก้าวที่น่าจับตาของ “เสือตัวใหม่” แห่งธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดในนาม “BCPG” โดยมีผู้บริหารหัวใจแกร่ง “คุณบัณฑิต สะเพียรชัย” กุมบังเหียนอยู่เบื้องหลัง

 

วันเดียวกันกับที่เรานัดคุยกับ “คุณบัณฑิต สะเพียรชัย” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ที่สำนักงานใหญ่บน ชั้น 12 อาคารเอ็มทาวเวอร์ “ยอดมนุษย์ไฟฟ้า” ที่สื่อพากันตั้งฉายาให้ เพิ่งเสร็จสิ้นจากการ หารือกับทีมยุทธศาสตร์ถึงก้าวต่อไปของบริษัท หลังจาก BCPG ออกไปตะลุยลงทุนซื้อกิจการ นอกบ้าน ทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในญี่ปุ่น โรงไฟฟ้าพลังงานลมในฟิลิปปินส์ ในปี 2559 และล่าสุดกับการทุ่มเงินลงทุนกว่า 357.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 12,341 ล้านบาท) เข้าซื้อหุ้น 33.33% จากสตาร์ เอ็นเนอร์ยี่ กรุ๊ป โฮลดิ้ง ในโครงการโรงไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal) ที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย จนทำให้ BCPG มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเทียบเท่ากับพลังงาน แสงอาทิตย์รวมเกือบ 1,000 เมกะวัตต์ เติบโต ก้าวกระโดดเร็วกว่าที่วางแผนไว้ถึง 3 ปี

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า นี่คือความสำเร็จที่ เกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่ถึง 2 ปี นับตั้งแต่ “กลุ่มบริษัทบางจากฯ” ตัดสินใจปรับโครงสร้าง ธุรกิจใหม่ แยกตัวธุรกิจโรงงานไฟฟ้าจาก พลังงานสะอาดมาตั้งเป็นบริษัทใหม่ในนาม BCPG ในปี 2558 โดยมีคุณบัณฑิตเป็น กรรมการผู้จัดการใหญ่คนแรก และนำพา BCPG เข้าระดมทุนจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเดือนกันยายน 2559

“มันเหมือนเราปล่อยเสือออกจากถ้ำ” คุณบัณฑิต เล่าถึงการแยกธุรกิจไฟฟ้าออกมา ตั้งบริษัทใหม่ที่ทำให้ BCPG กลายเป็น “เสือตัวใหม่” ในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงาน ทดแทน พร้อมจะพุ่งกระโจน ไล่ล่าโอกาส การลงทุนใหม่ๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศ ด้วยต้นทุนการเงินที่ต่ำที่สุดจากการระดมทุน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ

คุณบัณฑิต บอกว่า วันนี้พลังงานสีเขียว ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ได้เป็นแค่เทรนด์ หรือกระแสอีกต่อไป แต่เป็นทิศทางที่โลก ทั้งใบกำลังก้าวสู่ยุคการปฏิวัติเปลี่ยนแปลง ธุรกิจพลังงาน ด้วย Disruptive Technology ที่จะเข้ามาพลิกโฉมระบบสาธารณูปโภคไฟฟ้า โดยเฉพาะแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กจาก พลังงานหมุนเวียนตั้งกระจายอยู่ตามพื้นที่ ต่างๆ ในลักษณะที่เรียกกันว่า Distributed Power Generation ที่เริ่มเข้ามาทดแทน โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ๆ ที่ใช้พลังงานฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หรือปิโตรเลียม

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้ ต้นทุนของการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงาน ทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ มีต้นทุน ที่ต่ำลงเรื่อยๆ จนเริ่มแข่งขันได้พอฟัด พอเหวี่ยงกับโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

คุณบัณฑิต ยกตัวอย่างราคาค่าไฟฟ้า ที่โรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิง ขายไฟให้กับภาครัฐ ในวันนี้ อยู่ที่ประมาณ 4.30 บาทต่อหน่วย ในขณะที่ ราคาไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จาก โครงการโซลาร์ฟาร์มสหกรณ์รอบล่าสุด ขายอยู่ที่ราคา 4.12 บาทต่อหน่วย

จึงชัดเจนว่า จากนี้ไปถนนทุกสายจะ มุ่งหน้าสู่พลังงานหมุนเวียน และนี่คือโอกาส การเติบโตที่ท้าทายสำหรับบริษัทดาวรุ่งพุ่งแรง อย่าง BCPG

“ก้าวต่อไปเราอยากพูดถึงเป้าหมาย การเติบโตในเชิง Value หรือมูลค่าธุรกิจที่ สะท้อนผ่านมูลค่ามาร์เก็ตแคป มากกว่าเอา ตัวเลขเมกะวัตต์เป็นตัวตั้ง” คุณบัณฑิต บอกถึง ความสำเร็จในก้าวถัดไปที่ BCPG อยากไปต่อ วันนี้มาร์เก็ตแคปของเราอยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท แต่เป้าหมายต่อไปจะ เป็นเท่าไร เขาขออุบไว้ก่อน แต่รับรองว่า “ท้าทาย” เพราะเราต้องการเติบโตอย่างก้าว กระโดด

 

Bootstrap Image Preview

 

“ทิศทางต่อไปของ BCPG คือ การขยายตัว ทางธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้และผลตอบแทน การลงทุนที่ชัดเจน มีการบริหารจัดการ ความเสี่ยงอย่างเข้มข้น ลงทุนแล้วต้องไม่เจ๊ง เป้าหมายต้องชัดเจน คิดออกมาต้องทำได้จริง” คุณบัณฑิตย้ำด้วยน้ำเสียงหนักแน่น การหา “New S-Curve” ตัวใหม่เพื่อสร้าง กราฟการเติบโตแบบพุ่งกระโดด ในแง่รายได้ และผลตอบแทนทางธุรกิจ คือ สิ่งที่ทีมงาน BCPG กำลังทำงานกันอย่างหนักหน่วง โดยเฉพาะการเติบโตไปพร้อมๆ กับ Disruptive Technology เทคโนโลยีใหม่ๆ ในยุคดิจิทัล ที่จะเข้ามาปฏิวัติโฉม แทนที่ธุรกิจพลังงาน แบบเดิมๆ

“การซื้อขายไฟฟ้าผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ ระบบ Energy Internet จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ต่อไปไฟฟ้าจะกลายเป็นสินค้าที่มียี่ห้อ แทรกซึม เข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ด้วยแพลตฟอร์มขายไฟฟ้าออนไลน์ คล้ายๆ กับที่ Alibaba ขายสินค้าในโลกออนไลน์”

คุณบัณฑิต เล่าว่า ในยุค Sharing Economy ที่ผู้บริโภคตามบ้านเรือนสามารถ ผลิตไฟฟ้าเอง เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคาบ้าน เมื่อมีไฟฟ้าส่วนที่เหลือใช้ ก็สามารถเปลี่ยนตัวเองมาเป็น “ผู้ขาย” ได้ด้วย โดยมีระบบผลิต-กักเก็บไฟฟ้าขนาด เล็กสำหรับใช้ในบ้านเรือนที่เรียกว่า Microgrid วันนี้ มีตัวอย่างของจริงเกิดขึ้นให้เห็นแล้วที่ ย่านบรูคลิน ที่นิวยอร์ก โดยบ้านที่เป็นสมาชิก ของ Brooklyn Microgrid สามารถแลกเปลี่ยน ซื้อขายไฟฟ้ากันได้เองด้วยปลายนิ้วผ่าน แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน โดยมีเทคโนโลยี Blockchain เข้ามาช่วยในการซื้อขายไฟฟ้า ออนไลน์แบบ Customer to Customer

“Disruptive Technology ที่มาพลิกโฉม แวดวงพลังงานเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เรากำลังทำกันอยู่ ตอนนี้เราอยู่ระหว่างพัฒนาแพลตฟอร์ม ซื้อขายไฟฟ้าออนไลน์ โดยมีชุมชนนำร่องผลิต ไฟฟ้าแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน ทดลอง ติดตั้งระบบ และซื้อขายไฟฟ้าผ่านเทรดดิ้ง แพลตฟอร์มออนไลน์ตัวนี้ แบบเดียวกับ Brooklyn Microgrid ที่อเมริกา” ผู้บริหาร BCPG เล่าถึงก้าวใหม่ๆ ทางธุรกิจ

คุณบัณฑิตถือเป็นผู้บริหารนักพัฒนา และ นักบุกเบิกสร้างสรรค์ความสำเร็จทางธุรกิจ ใหม่ๆ ให้กับกลุ่มบางจาก นับตั้งแต่ก้าวมา รับตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2551 ในช่วงนั้น กลุ่มบางจากเพิ่งก้าวผ่านช่วง หัวเลี้ยวหัวต่อทางธุรกิจ เมื่อคุณพิชัย ชุณหวชิร ประธานกรรมการบริษัทบางจากคนปัจจุบัน เข้ามาปรับโครงสร้างทางการเงินจนแข็งแกร่ง จึงเริ่มคิดข้ามช็อตว่าถึงเวลาที่บางจากต้องทำ อะไรใหม่ๆ เพื่อบริหารความเสี่ยงจากธุรกิจ น้ำมันที่มีความผันผวน มืออาชีพในแวดวง ธุรกิจปิโตรเคมี-พลังงานอย่างคุณบัณฑิต จึงเป็นคนที่คุณพิชัยนึกถึง

งานของนักบุกเบิกไม่มีคำว่า “ง่าย” คนที่ จะทำได้ต้องสวมหัวใจสิงห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก้าวแรกของการบุกเบิกธุรกิจผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์ฟาร์ม ซึ่งยุคนั้น “บางจาก” ถูกมองว่าเป็นหน่วย “กล้าตาย” ที่กล้ารุกสู่ธุรกิจแห่งอนาคตก่อนใคร

“วันแรกที่ทำโซลาร์ฟาร์มในเมืองไทย เป็นวันที่หนักใจที่สุด เพราะช่วงนั้นเป็นเรื่อง ใหม่มากสำหรับเมืองไทย ทำแล้วจะดีจริงหรือ ผลตอบแทนจะคุ้มค่าไหม แบงก์เองก็ยังไม่ค่อย แน่ใจว่าจะให้กู้หรือไม่ให้กู้ดี ทำให้ต้องใช้ เวลาในการอธิบายสื่อสาร และลงลึกในเรื่อง เทคโนโลยีพอสมควร” คุณบัณฑิต เล่าถึงโจทย์ ที่ไม่ง่าย กว่าจะก้าวมาไกลถึงวันนี้

 

Bootstrap Image Preview

นอกจากการเป็นผู้บุกเบิกโซลาร์ฟาร์ม รายแรกๆ ในเมืองไทย กำลังผลิตรวม 180 เมกะวัตต์แล้ว BCPG ยังเป็นบริษัทแรกๆ ที่ออกไปแสวงหาโอกาสการลงทุนในต่างประเทศ จนวันนี้ บริษัทน้องใหม่อายุแค่ขวบกว่าๆ จาก เมืองไทย เติบโตก้าวกระโดด กลายมาเป็น “ผู้นำธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในเอเชีย”

เบื้องหลังความสำเร็จเหล่านี้ คุณบัณฑิต บอกว่า มาจากการที่ BCPG มีพันธกิจและ เป้าหมายที่ชัดเจน มีบุคลากรที่มีความรอบรู้ เชี่ยวชาญ และที่สำคัญคือ พลังของ Brand Leverage ของการเป็นบริษัทในเครือ “บางจาก” ทั้งในด้านเน็ตเวิร์คทางธุรกิจ รวมถึงภาพลักษณ์ผู้นำบริษัทด้านพลังงาน ทดแทนที่มีธรรมาภิบาลของเมืองไทย

“Focusing Point ของเราชัดเจน พอร์ต โฟลิโอทั้งหมดของ BCPG เป็น “Pure Green” ร้อยเปอร์เซ็นต์ ในขณะที่เน็ตเวิร์คของบริษัทแม่ อย่างบางจาก มีส่วนช่วยอย่างมากในการ เข้าไปซื้อกิจการในประเทศต่างๆ วันนี้ ถ้าใคร อยากจะทำอะไรทางด้านสีเขียวๆ เราเป็นหนึ่ง ในตัวเลือกพันธมิตรที่เขานึกถึง”

“เงินทุน” ที่ใครๆ ก็มีได้ ไม่ใช่คำตอบ เดียวของความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการ แต่อยู่ที่ “เน็ตเวิร์ค” และ “ความสัมพันธ์” ที่ต้องคุยกันรู้เรื่อง นิสัยใจคอไปด้วยกันได้ คุณบัณฑิตเล่า พร้อมยกตัวอย่างดีลล่าสุด ที่เข้าไปลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ใต้พิภพในอินโดนีเซีย เบื้องหลังความสำเร็จที่ เกิดขึ้นมีที่มาจากเน็ตเวิร์คของบริษัทแม่อย่าง “บางจาก” ที่ถักทอความสัมพันธ์กับ “สตาร์ เอ็นเนอร์ยี่” มาอย่างยาวนาน เริ่มต้นจาก คุยกันเรื่องธุรกิจก๊าซและน้ำมัน จนขยับมาสู่ พลังงานความร้อนใต้พิภพ

 

“ทิศทางต่อไปของ BCPG คือ การขยายตัวทางธุรกิจ ที่สามารถสร้างรายได้และผลตอบแทนการลงทุน ที่ชัดเจน มีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเข้มข้น ลงทุนแล้วต้องไม่เจ๊ง เป้าหมายต้องชัดเจน คิดออกมาต้องทำได้จริง”

 

เบื้องหลังการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ BCPG ยังมาจากการเดินตามยุทธศาสตร์ที่ วางไว้นับตั้งแต่วันแรกของการตั้งบริษัท โดยคุณบัณฑิต ไล่เรียงให้ฟังถึงแต่ละกลยุทธ์ ที่ตั้งให้จำง่ายๆ ตามตัวอักษร BCPG

“B ตัวแรก คือ Big & Quick สไตล์การ ลงทุนของ BCPG จะทำในลักษณะ Portfolio Investment ทำแล้วต้องได้สเกลที่ใหญ่ และ ต้องทำได้เร็ว ไม่ใช่นักชอปปิ้งที่ซื้อทีละไม่กี่ เมกะวัตต์” คุณบัณฑิต เล่าถึงการเดินเกม ที่รุกและเร็ว จนทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้า ของ BCPG ก้าวกระโดดมาอยู่ที่เกือบ 1,000 เมกะวัตต์ หลังจากเข้าตลาดทรัพย์ฯ ไม่ถึงปี

ยุทธศาสตร์ต่อมา คือ C-Competitive Portfolio หมายถึง มีธุรกิจที่มีความโดดเด่น ด้วยความเป็นผู้ประกอบธุรกิจพลังงานสะอาด แบบ Pure Play ที่มีการใช้เทคโนโลยีการผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนหลากหลายรูปแบบ ผสมผสานกันอย่างลงตัว และมีผลตอบแทน การลงทุนเป็นที่น่าพอใจของผู้ถือหุ้น ต่อด้วย P-Partnership การทำธุรกิจในโลกทุกวันนี้ พันธมิตรคือสิ่งสำคัญ และสุดท้ายที่ขาด ไม่ได้ คือ G-Good Governance การมี ธรรมาภิบาล เพื่อทำให้ธุรกิจเกิดความยั่งยืน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นดีเอ็นเอที่อยู่ในสายเลือดของ คนบางจากอยู่แล้ว

การออกไปตะลุยลงทุนซื้อกิจการหลายแห่ง ในต่างประเทศ จนเติบโตอย่างก้าวกระโดด แน่นอนว่าผู้นำองค์กรคือส่วน สำคัญที่ต้องมีวิสัยทัศน์ที่เฉียบคม ฉับไว กล้าตัดสินใจ โดยคุณบัณฑิต ถ่ายทอดว่า ทั้งหมดนี้ มาจากการยึดหลักในการบริหาร งานที่ถอดออกมาเป็นหลัก 3 C ได้แก่ Can Do, Commitment และ Communication

“สิ่งแรกที่สุด เราต้องประเมินให้ออก อ่านเกมให้ขาดว่าทำแล้วสำเร็จ ต้องมองให้ ทะลุ ถ้าคิดว่าใช่ปั๊บ ถ้ามัน Can Do ปุ๊บ ต้องตามมาด้วย Commitment ทันที ถ้าคิด ว่าใช่ต้องทำให้สำเร็จ ดังนั้น การประเมินอะไร ด้วยความรอบคอบและรอบรู้ จึงเป็นเรื่อง สำคัญ และสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำงานเป็นทีม คือ Communication การสื่อสาร ที่ต้องเป๊ะ ถ้าลูกน้องไม่รู้เรื่องว่าผมคิดอะไร มันก็ไปต่อไม่ได้

 

Bootstrap Image Preview
 

 

นี่จึงเป็นความแตกต่างระหว่างคำว่า หัวหน้า กับ ผู้นำ“คนที่เป็นผู้นำหรือ Leader คือ คนที่ต้องทำเป็นแบบอย่างให้ทีมได้เห็น ไม่ใช่แค่สั่งอย่างเดียว แต่ต้องลงมือทำให้ดู ด้วย” คุณบัณฑิต เจ้านายที่น้องๆ ในบริษัท เรียกกันติดปากว่า “พี่เอก” บอกเช่นนั้น

ด้วยนิสัยส่วนตัวที่เป็นคน Easygoing สบายๆ อารมณ์ดี ทำให้คุณบัณฑิตมีความ ใกล้ชิดกับพนักงานในองค์กรเหมือนพี่เหมือน น้อง เป็นผู้บริหารที่ Work Hard...Play Harder สำหรับคุณบัณฑิต งานกับการใช้ชีวิต เป็นสองสิ่งที่ต้องมาคู่กัน สะท้อนผ่าน บรรยากาศภายในห้องทำงานบนชั้น 12 อาคาร เอ็มทาวเวอร์ ที่ตกแต่งได้อย่างสะท้อนตัวตน รสนิยม และ Passion ในความเป็น Art Collector นักสะสมผลงานศิลปะตัวยงของ คุณบัณฑิต

คุณบัณฑิต เล่าว่า “ในความเป็นคน ธรรมดาคนหนึ่ง การทำงานหนักเป็นเรื่องที่ ผมต้องยึดไว้ก่อน เมื่อทำงานหนัก เงินที่ได้มา ก็ต้องหาวิธีการบริหารจัดการ Wealth ไม่ให้ มันสูญหายไป”

ชีวิตส่วนตัวของผม ส่วนใหญ่จะเดินทาง เยอะ ไม่ค่อยได้อยู่บ้าน วันทeงานช่วงตกเย็น ก็ต้องไปดินเนอร์กว่าจะกลับบ้าน 4-5 ทุ่มทุกวัน แต่โชคดีที่ผมมีภรรยาและครอบครัวที่เข้าใจ การมีหลังบ้านที่ดีทeให้ผมทeงานได้อย่างสบายใจ ช่วงเวลาวันหยุดผมจะพยายามใช้เวลาอยู่กับ ครอบครัวให้มากที่สุด ไปฮอลิเดย์กันอย่างน้อย ปีละครั้ง”

ก่อนจบบทสนทนาในวันนั้น เราตั้งคำถาม กับคุณบัณฑิต ถึงนิยามความสุขและเป้าหมาย ในชีวิต นอกเหนือไปจากเป้าหมายตัวเลขทาง ธุรกิจ คำตอบสั้นๆ แต่มีความหมาย คือ Enjoy Life

“ผมคิดว่า ทุกสิ่งที่เราทำ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องงาน เรื่องส่วนตัว ถ้าเรารักและมีความสุข กับมัน เราจะทำมันได้ดี ผมจะถามทีมงาน อยู่ตลอดเวลาว่า ยังโอเคอยู่นะ ยังแฮปปี้ ยังสนุกอยู่ใช่ไหม ที่บ้านก็เหมือนกัน ถ้าภรรยา คนในครอบครัวยังยิ้มได้ แสดงว่าเรายังบริหาร ความสุขได้ดี

นิยามความสุขของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน สำหรับผม ถ้าเราทำอะไรแล้วยังสนุกอยู่ กับสิ่งที่ทำก็ไมมี่อะไรทีต่ อ้ งคดิ มาก เป้าหมาย ชีวิตของผมคือทำงานให้บริษัท ดูแล ครอบครัว และที่สำคัญคือ ทำอะไรต้อง อย่าลืมนึกถึงการตอบแทนให้กับสังคม และประเทศชาติด้วย นับเป็นความโชคดีที่ Business Model ของธุรกิจที่เราทำอยู่ ก็ถือ ได้ว่าช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมทางหนึ่ง ทำแล้ว สามารถตอบแทนสังคมได้ไปในตัว เป็นเรื่อง ที่ผมทำแล้วรู้สึกอิ่มเอมใจ”/p>

นี่คือหลักการบริหารชีวิต บริหารธุรกิจ และบริหารความสุขที่เดินไปคู่กันได้อย่าง ลงตัวของผู้บริหารนักบุกเบิกที่ชื่อ “คุณบัณฑิต สะเพียรชัย”

 

Bootstrap Image Preview
 

ความรู้สึกที่มีต่อทิสโก้

“คุณบัณฑิต สะเพียรชัย” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่ง ในผู้บริหารวิสัยทัศน์กว้างไกลที่ให้ความไว้วางใจธนาคารทิสโก้ร่วมเป็นที่ปรึกษาทาง การเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นของ BPCG และยังได้ รับรางวัลการันตีความสำเร็จร่วมกันในระดับสากลอย่างรางวัล “Best IPO Award” จากงานประกาศรางวัล The Asset Triple A Country Awards 2016 ที่ฮ่องกง และ รางวัลล่าสุด “Renewable Energy Deal of the Year, Thailand” จากงาน The Asset Triple A Asia Infrastructure Awards 2017

คุณบัณฑิต บอกกับเราว่า ความสำเร็จในการเข้าระดมทุนตลาดหลักทรัพย์ฯ ของ BPCG ต้องเครดิตให้กับทีมงานทิสโก้ที่เข้ามาช่วยตั้งแต่การปรับโครงสร้างธุรกิจ การแยก ธุรกิจไฟฟ้าออกมาตั้งบริษัทใหม่ จนกระทั่งเข้าเสนอขายหุ้น IPO เป็นทั้งที่ปรึกษาการเงิน ดูแลการโรดโชว์ และดูแลหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ

“ผมอยู่ในวงการนี้มานาน แต่คนที่ทำแล้วรักดีลแบบทีมงานทิสโก้มีไม่เยอะ ทิสโก้ยังเป็นบริษัท ที่ปรึกษาทางการเงินที่มีอินโนเวชั่น และครีเอทีฟไอเดีย ในการออกแบบสตรัคเจอร์เงินกู้ ที่เหมาะสมกับธุรกิจของบริษัท นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ BPCG เลือก “ทิสโก้” มาโดยตลอด ในทุกก้าวย่างการเติบโตที่สำคัญทางธุรกิจ” คุณบัณฑิต กล่าว