มีประกัน COVID-19 ก็เพียงพอแล้วในยุคนี้?

file

ในช่วงที่ COVID - 19 แพร่ระบาดระลอกใหม่ ตัวเลขความต้องการซื้อประกัน COVID-19 ทั้งแบบ เจอ จ่าย จบ หรือ แบบมีค่ารักษาพยาบาล เพิ่มสูงขึ้นถึง 13.8 ล้านฉบับ (ข้อมูล ณ วันที่ 22 เม.ย. 64) หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ

สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจถึงคุณประโยชน์ของการมีประกันของคนไทย ที่ซื้อ ‘ประกัน’ เพื่อโอนความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับ ‘ชีวิต’ และ ‘ทรัพย์สิน’ ของเรา ไปให้กับบริษัทผู้รับประกัน เพื่อที่จะปกป้องทรัพย์สินและความมั่งคั่งไม่ให้ลดลงกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน

แต่...แค่มีประกัน COVID -19 นั้น เพียงพอต่อการคุ้มครองความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของเราหรือยัง ?

ก่อนอื่นต้องยอมรับว่า แม้เราจะรักษาไวรัส COVID-19 ให้หายไปจากร่างกาย แต่ความเสียหายของปอดและทางเดินหายใจอาจจะยังมีอยู่ หากในอนาคตเรากลับมาเจ็บป่วยในโรคที่เกี่ยวกับปอดและทางเดินหายใจ แต่ยังไม่เคยมีประกันสุขภาพ แล้วจะขอทำประกันสุขภาพอีกครั้งเพื่อถ่ายโอนความเสี่ยงให้บริษัทประกัน คงต้องบอกว่าบริษัทประกันอาจจะรับทำประกัน แต่อาจพิจารณาไม่คุ้มครองโรคที่เกี่ยวเนื่องกับปอดและระบบทางเดินหายใจอีกแล้ว…นั่นหมายถึงคุณต้องรับภาระค่าใช้จ่ายไปเต็มๆ หากป่วยในโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

นอกจากประกันสุขภาพแล้วมิหนำซ้ำอาจไม่ได้ความคุ้มครองตามที่ต้องการจากประกันโรคร้ายแรงอีก เพราะบริษัทประกันใช้หลักการพิจารณาแบบเดียวกัน โดยหากเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ทำลายปอดไปแล้ว ก็มีความเสี่ยงที่บริษัทประกันจะไม่รับประกันเกี่ยวกับอวัยวะในระบบทางเดินหายใจได้อีกเช่นกัน

และประเด็นที่อยากจะเน้นย้ำคือ ‘อายุ’ และ ‘สุขภาพของผู้เอาประกัน’ โดยประกันสุขภาพทั่วไปจะมีข้อจำกัดด้านอายุสูงสุดของผู้เอาประกันต้องไม่เกิน 65-70 ปี ซึ่งขึ้นอยู่กับประกันสุขภาพแต่ละแบบและการทำประกันขณะที่อายุมากนั้น ค่าเบี้ยประกันก็จะสูงตามไปด้วย

ส่วนอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากที่สุดที่มีผลต่อการรับประกันอย่างมากคือสุขภาพของผู้เอาประกัน หากคนที่สุขภาพไม่แข็งแรงหรือมีโรคประจำตัว อาจต้องจ่ายเบี้ยประกันที่สูงขึ้นหรือมีข้อจำกัดต่างๆ จนไปถึงไม่สามารถทำประกันได้เลย ถึงแม้หากมีการรับประกันเกิดขึ้น แต่อาจโดนบริษัทประกันยกเว้นไม่รับประกันบางอวัยวะ นั่นหมายความว่าผู้ทำประกันต้องรับความเสี่ยงไว้เอง ซึ่งอาจส่งผลต่อทรัพย์สินและความมั่งคั่งได้ หากเกิดการเจ็บป่วยในส่วนที่ไม่ได้รับประกัน ดังนั้น การทำประกันสุขภาพขณะที่ยังแข็งแรงและอายุน้อยจะดีที่สุด เพราะประกันจะสามารถคุ้มครองได้ครอบคลุมทั้งหมด

ดังนั้น การทำประกันสุขภาพและประกันคุ้มครองโรคร้ายแรงตั้งแต่แรกจึงเป็นวิธีการบริหารความเสี่ยงที่ตอบโจทย์ที่สุดในระยะยาว นอกจากนี้ ต้องอย่าลืมว่าประกัน COVID-19 แบบ เจอ จ่าย จบ เป็นประกันที่คุ้มครองระยะสั้นครั้งเดียวเท่านั้น นั่นหมายถึงคุณไม่สามารถทำได้อีกหากติดเชื้อ COVID-19 แล้ว อย่างไรก็ตามในความเป็นจริง นอกจากโรค COVID-19 ยังมีโรคร้ายแรงอีกหลายชนิดที่เป็นสาเหตุในการคร่าชีวิตประชากรไทยและส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงมากกว่าโรค COVID-19 ทั้งนั้น

ท้ายที่สุดท่านผู้อ่านคงได้คำตอบแล้วว่า การมีแค่ประกัน COVID-19 นั้นไม่เพียงพอ มากไปกว่านั้นเราไม่มีทางรู้ว่าเราจะป่วยหรือไม่ หรือจะป่วยเมื่อไร ดังนั้น การวางแผนประกันให้พร้อมรับมือความเสี่ยง จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากโดยยึดคำที่ว่า ‘ซื้อเร็วไป 1 ปี ดีกว่าซื้อช้าไป  1 วัน’ จะช่วยให้ผ่านพ้นจากความเสี่ยงต่างๆ ไปได้

ทั้งนี้ หากต้องการคำปรึกษาด้านการทำประกันที่เหมาะสมกับตัวเอง รวมถึงเลือกซื้อประกันตัวท็อปแบบไม่จำกัดค่าย สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา หรือ โทร 02-633-6060  

====================================

บทความโดย นรุตม์ สีแสงสุวรรณชัย CFP® ธนาคารทิสโก้

 

บทความล่าสุด

หุ้นกลุ่ม Healthcare ทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีหุ้นโลก

โพสต์เมื่อ 20 เมษายน 2567

ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่ม Healthcare กลับมาสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น จากแนวโน้มการเติบโตที่คาดว่าจะสูงกว่าตลาดโดยรวมในปีนี้ ในขณะที่ยังซื้อขายในระดับราคาที่ไม่แพงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มเทคโนโลยีที่เติบโตในระดับใกล้เคียงกัน ทำให้ปีนี้มีโอกาสสูงที่กลุ่ม Healthcare จะกลับมาทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีตลาดหุ้นโลก

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตสร้างกำไร ขายหุ้นสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น เบนเข็มลงทุน “หุ้น Asia ex Japan”

โพสต์เมื่อ 20 เมษายน 2567

ในปี 2024 เศรษฐกิจโลกภาพรวมเติบโตดีกว่าคาด โดยภูมิภาคที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดคือ ภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่จะเติบโตได้ดีในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว และยังเป็นปีแห่งโอกาส

อ่านต่อ >>

จับจังหวะทำกำไร กับขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้น Asia

โพสต์เมื่อ 20 เมษายน 2567

ตลาดหุ้นเอเชีย (Asia ex Japan) ถือเป็นตลาดหุ้นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงไม่แพ้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) โดยเฉพาะในฝั่งของภาคการผลิตที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรมการผลิตของโลก

อ่านต่อ >>