ก้าวสำคัญกับการแพทย์จีโนมิกส์ของไทย
หนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทยอันเป็นภารกิจหลักของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) คือ อุตสาหกรรมการแพทย์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศไทยให้มีโอกาสเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่ทันสมัยด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ระดับโลก ซึ่งรัฐบาลไทยมีการวางรากฐานด้วยการสร้างแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย พ.ศ. 2563 - 2567 ขึ้น เพื่อจะก้าวสู้การเป็นผู้นำการแพทย์แบบจีโนมิกส์ระดับอาเซียนภายในอีก 5 ปีข้างหน้า
Health Innovation โดดเด่นระยะยาว พร้อมการระดมทุนวิจัยจากทั่วโลก
ภาพรวมการลงทุนในช่วงที่ผ่านมาของปีนี้มีความผันผวนสูง และอาจทำให้ผู้ลงทุนถอดใจหรือชะลอการลงทุน แต่หากพิจารณาให้ดีจะพบว่า นี่เป็นโอกาสสำคัญในการลงทุน หากเลือกกลุ่มลงทุนที่มีความแข็งแกร่งสามารถข้ามผ่านความผันผวนนระยะสั้นและมีแนวโน้มเติบโตสูงในระยะยาว ดังเช่น กลุ่มเฮลธ์แคร์
เจาะดีลสูงสุดในรอบ 6 ปี ของ Pfizer กับนวัตกรรมรักษาไมเกรน
เมื่อวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา บริษัท Pfizer ประกาศควบรวมกิจการ Biohaven Pharmaceuticals คิดเป็นมูลค่าราว 1.16 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นมูลค่าควบรวมสูงที่สุดในรอบ 6 ปีของ Pfizer และเทียบเท่าสถิติมูลค่าการควบรวมสูงสุดในปี 2021 อีกด้วย โดย Biohaven เป็นบริษัทผู้ผลิตยาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคทางระบบประสาท โดยบริษัทมีความชำนาญในการพัฒนายาที่ช่วยยับยั้งสาร CGRP อันเป็นสาเหตุของอาการไมเกรนที่มีผู้ป่วยกว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วโลก หรือราว 15% ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก ซึ่งการควบรวมนี้ Pfizer จะมีสิทธิ์ทำการตลาดยากลุ่ม CGRP เท่านั้น โดยคาดว่าจะสร้างยอดขายเพิ่มจากการควบรวมได้สูงสุดถึง 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเพิ่มยอดขายอีก 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2030 หรือคิดเป็นรายได้ทั้งไตรมาส 1 ของปี 2022
ตรวจโควิดด้วยลมหายใจ นวัตกรรมใหม่ที่น่าจับตา
กว่า 2 ปีที่ทั่วโลกเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 วงการแพทย์และนักวิทยาศาสร์ระดมกำลังวิจัยพัฒนาวัคซีนและยาต่างๆ เพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสนี้ รวมถึงอีกเครื่องมือสำคัญในการต่อสู้กับการแพร่ระบาด คือ การคัดกรองผู้ติดเชื้อ โดยล่าสุด ได้มีนวัตกรรมการคัดกรองผู้ติดเชื้อ COVID-19 แบบใหม่ เป็นการตรวจหาเชื้อผ่านลมหายใจ ที่เพิ่งผ่านการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐอเมริกามาสดๆ ร้อนๆ เมื่อวันที่ 14 เมษายน ที่ผ่านมา
ยับยั้งเชื้อ COVID-19 อย่างง่ายดาย ด้วยสเปรย์พ่น NONS
ปัจจุบันนี้ทั่วโลกกำลังปรับตัวอยู่ร่วมกับเชื้อ COVID-19 ด้วยการส่งเสริมให้ใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติมากที่สุด เพื่อประคองเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวได้ เห็นได้ชัดจากนโยบายการควบคุมโรคระบาดแต่ละประเทศที่มีทิศทางที่ผ่อนคลายในภาพรวม ซึ่งจากข้อมูล COVID-19 Stringency Index หรือดัชนีความเข้มงวดในการควบคุมเชื้อ COVID-19 ที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัย Oxford ล่าสุด ณ วันที่ 21 มีนาคม 2022 พบว่า ใน 1 ปีที่ผ่านมา จากการเก็บข้อมูล 185 ประเทศ มีถึง 136 ประเทศ ที่มีความเข้มงวดลดลง แม้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในปี 2022 เพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่ COVID-19 ระบาดมากว่า 2 ปี เนื่องจากสายพันธุ์ Omicron ที่ติดง่าย แพร่กระจายเร็วกว่าทุกสายพันธุ์ก่อนหน้า
เจาะลึกเหตุผล Molnupiravir ถูกวางเป็น Game Changer
เมื่อไม่นานนี้บริษัท Merck และ Ridgeback Biotherapeutics ได้ประกาศผลเบื้องต้นสำหรับการทดลองยา Molnupiravir เพื่อรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ในระยะที่ 3 ซึ่งกระแสของโลกตอบรับว่า เป็นข่าวดีของมนุษยชาติ และยาตัวนี้อาจเป็นจุดเปลี่ยนของสถานการณ์การโรคระบาดที่ทุกอย่างจะกลับมาสู่สถานการณ์ปกติ หลังจากที่โลกเผชิญโรคระบาดนี้มาเกือบ 2 ปี หรือเป็น Game Changer เลยก็ว่าได้
เทคโนโลยีทางการแพทย์ กับการต่อสู้ "โรคมะเร็ง"
โรคมะเร็งยังคงครองตำแหน่งสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก รองจากโรคหัวใจ โดยในปี 2020 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งถึง 10 ล้านราย เช่นเดียวกับประเทศไทยที่โรคมะเร็งนับเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยในอันดับต้นๆ และพบผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจึงพยายามคิดค้นวิจัยเพื่อหาวิธีต่อสู้กับโรคมะเร็งแต่ละชนิด โดยให้ส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายผู้ป่วยให้น้อยที่สุด ซึ่งนับเป็นงานที่ท้าทายเป็นอย่างมาก
วัคซีน 2 โดสไม่พอ ต้องเพิ่มเข็มกระตุ้นสู้ Omicron
เปิดปีใหม่มาด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ Coronavirus สายพันธุ์ Omicron แม้จะยังไม่ชัดเจนว่า สายพันธุ์ Omicron นี้ จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อร่างกายมากน้อยเพียงใด แต่สิ่งที่ชัดเจนคือ เชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและครอบคลุมไปยังหลากหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 กลับมาเร่งตัวขึ้นอีกครั้ง ในช่วงที่ยังไม่มีวัคซีนรุ่นใหม่ที่สามารถต่อสู้กับ Omicron ได้โดยตรง การฉีดวัคซีนกระตุ้นจึงเป็นทางออกในช่วงนี้
ความหวังรักษา ‘ธาลัสซีเมีย’ แค่ ‘ฉีด’ ก็หายได้ ด้วยนวัตกรรม Gene Editing
‘โรคธารัสซีเมีย’ นับเป็นโรคพันธุกรรมที่พบมากที่สุดในโลก และพบมากที่สุดในประเทศไทย โดยในไทยมีคนที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียถึง 30 – 40% ของประชากร ในแต่ละปีมีเด็กเกิดใหม่ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมีย ประมาณ 12,125 ราย ผู้ป่วยในไทยประมาณ 6 แสนคน เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงปานกลาง ซึ่งต้องได้รับการรักษาแบบประคับประคองโดยการรับเลือดและยาขับเหล็กเป็นประจำทุกเดือนไปตลอดชีวิต