เกษียณอย่างสบายใจ...ถ้ามีประกันสุขภาพ
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ คือ มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือมีคนในวัยเกษียณ มากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด โดยค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับคนวัยเกษียณไม่ใช่เพียงแค่ค่าอาหาร และที่อยู่อาศัย แต่ยังมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ซึ่งนับเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่และมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นตามอายุอีกด้วย จะดีกว่าไหม หากหลังเกษียณ เราไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านนี้คนเดียว
อุบัติเหตุในผู้สูงอายุ ป้องกันและบรรเทาได้
ปัจจุบัน สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) คือมีประชากรสูงอายุร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ และมีคาดการณ์ว่าในปี 2035 หรืออีกประมาณ 14 ปีต่อจากนี้ ประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) ซึ่งจะมีประชากรสูงอายุถึงร้อยละ 30 ของประเทศ โดยผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็มักเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมา ต้องอาศัยการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังตามมาด้วยค่าใช้จ่ายอีกมากมาย
คัดสรรประกันสุขภาพอย่างไร ให้อุ่นใจหลังวัยเกษียณ
ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ผ่านมา ยอดขายประกันโควิด เดือน ก.พ. - เม.ย. 2020 ที่ถล่มทลายกว่า 8 ล้านกรมธรรม์นั้น ได้สะท้อนให้เห็นว่า แท้จริงแล้วคนส่วนใหญ่ตระหนักถึงความสำคัญของประกันสุขภาพเป็นอย่างดี เพียงแต่เราอาจจะต้องการมันเฉพาะในช่วงเวลาที่เรารู้สึกว่ากำลังมีความเสี่ยงสูงสุด แต่หากวันหนึ่ง เมื่อสถานการณ์ทุกอย่างกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้วและคนรู้สึกถึงความเสี่ยงที่ลดน้อยลง ก็มีโอกาสที่จะเห็นยอดการต่ออายุประกันชนิดนี้ลดลงเช่นเดียวกัน แต่นั่นหมายความว่า การวางแผนประกันสุขภาพมีความสำคัญที่ลดลงหรือไม่ ?
ประกันบำนาญ อาวุธลับวางแผนภาษี เสริมความมั่งคั่งยามเกษียณ
หากพูดถึงการวางแผนทางการเงินนั้นจะประกอบไปด้วยการวางแผนประกันภัย การวางแผนภาษี การวางแผนลงทุน การวางแผนเกษียณ และการวางแผนมรดก ซึ่งจะขาดแผนใดแผนหนึ่งไปไม่ได้ เพราะทุกแผนล้วนมีความสำคัญและต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่แตกต่างกัน เพื่อให้ตรงตามเป้าหมายของแผนนั้นให้มากที่สุด
จะ Lifestyle ไหน ก็เลือกได้ด้วยประกันบำนาญ
“เกษียณ อย่างเกษม” วลีเด็ดที่ทุกคนเคยได้ยินและใฝ่ฝันถึงมัน แต่มีคนเพียงแค่หยิบมือที่ได้สัมผัสถึงการเกษียณที่มีความสุขในแบบที่ต้องการจริงๆ แล้วอะไรคืออุปสรรคที่ทำให้คนจำนวนมากไม่สามารถไปถึงเป้าหมายที่ต้องการได้ สาเหตุที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นการขาดการวางแผนทางการเงินเพื่อการเกษียณที่รอบคอบเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของรายได้และรายจ่ายทั้งในช่วงก่อนและหลังเกษียณ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญ หรือจะเป็นเงินที่จะมีไว้เพื่อการใช้จ่ายหลังเกษียณอายุ ซึ่งอาจมาจากเงินเก็บจากการออมการลงทุน เงินได้จากบุตร หรือเงินได้จากการลงทุนประเภทต่างๆ รวมถึงรายจ่ายประจำในการดำเนินชีวิต ค่าใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยว และค่ารักษาพยาบาลก็เป็นปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กัน
เปลี่ยนชีวิตหลังเกษียณให้มั่นคง ด้วยประกันบำนาญ
หากเราตั้งคำถามกับคนทั่วไปว่า เป้าหมายทางการเงินขั้นพื้นฐานในช่วง “วัยหลังเกษียณ” ของคุณคืออะไร ? คำตอบหนึ่งที่เราได้พบเจอบ่อยที่สุด มักจะเป็นในลักษณะที่ว่า พวกเขาต้องการมีรายได้ที่เข้ามาอย่างสม่ำเสมอทุกๆ เดือนอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะเสียชีวิต เพื่อนำเงินเหล่านั้นมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เปรียบเสมือนการได้รับเงินเดือนทุกเดือน แม้ในช่วงที่ตัวเองไม่ได้ทำงานประจำแล้วก็ตาม
อุบัติเหตุกับผู้สูงอายุ ยุคสังคมเมือง
แนวโน้มการขยายตัวของสังคมเมือง และผู้สูงอายุเริ่มเห็นได้ชัดเจนขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จากเดิมในอดีตขนาดของครอบครัวมีสมาชิกประมาณ 4-6 คน แต่ปัจจุบันขนาดของครอบครัวกลับเหลือเพียง 1-3 คน เป็นผลมาจากความเจริญที่กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ด้วยขนาดครอบครัวที่เล็กลงจากประชากรวัยแรงงานที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามายังเมือง หรือความสะดวกในการเดินทางของวัยแรงงานที่นิยมอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมติดระบบขนส่งมวลชน ทำให้ผู้สูงอายุต้องพึ่งพาตนเองมากขึ้น จึงเกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เข้ามาช่วยดูแลผู้สูงอายุ เช่น ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุครบวงจร เช่น บ้านพัก หรือคอนโดมิเนียมที่มีบริการทางการแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง
หมดปัญหาเรื่องเงินในวันเกษียณ เลือกอย่างไรในวัย 30
นักจิตวิทยาสมัยใหม่จากมหาวิทยาลัย Harvard “วิลเลียม เจมส์” กล่าวว่า “โดยส่วนใหญ่แล้ว เมื่อเราอายุ 30 ปี Character ของเราจะถูกหล่อหลอมจนแข็งแกร่ง และจะไม่กลับไปอ่อนยวบลงอีกเลย” สำหรับในด้านการงานและการเงินก็มักได้ลองผิดลองถูกมาพอสมควรในช่วงก่อนหน้านี้ อาจได้เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสายอาชีพ หรือได้รับการปรับตำแหน่งในช่วงที่ผ่านมา จนเมื่อถึงตอนนี้การเปลี่ยนแปลงต่างๆ มักจะน้อยลง และอาจได้เจอกับเส้นทางอาชีพที่จะเดินต่อไปจนเกษียณอายุ หรือเริ่มมองหาความมั่นคงเพื่อให้สอดคล้องกับ Lifestyle ที่เริ่มให้ความสำคัญกับการมีครอบครัว ตลอดจนเริ่มมีเงินเก็บบางส่วนและสามารถนำมาต่อยอดเพื่อสร้างความมั่งคั่งในช่วงชีวิตวัยเกษียณต่อไป
ปิดจุดอ่อน เสริมความแกร่ง ให้แผนเกษียณ
ปัจจุบันแหล่งข้อมูลหรือแนวทางการวางแผนการเงินมีแพร่หลายตามสื่อออนไลน์ต่างๆ มากมาย และหลากหลายเรื่องราว ทั้งเทคนิคการเก็บออม การสร้างความเข้าใจในเรื่องภาระหนี้สินและดอกเบี้ย การเลือกผลิตภัณฑ์ลดหย่อนภาษี ไปจนกระทั่งวิธีการเริ่มต้นการวางแผนเกษียณ เป็นต้น อย่างไรก็ดี เรื่องการเงินส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วนและมีลักษณะความเหมาะสมที่เป็นปัจเจกไปในแต่ละบุคคลโดยเฉพาะการวางแผนเกษียณ
5 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อประกันบำนาญ
ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้วในปีนี้ โดยสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมินว่า ในปี 2040 หรืออีกประมาณ 19 ปีข้างหน้า ประชากรสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 31% ของประชากรทั้งประเทศ และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงอายุขัยเฉลี่ยของผู้หญิงและผู้ชาย โดยปี 2040 จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 83.2 ปี และ 76.8 ปี ตามลำดับ (จากปี 2020 ที่ 80.4 ปี และ 73.2 ปี ตามลำดับ)