Long Covid ภัยร้ายที่หลายคนมองข้าม

file

ในปัจจุบัน แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะยังคงรุนแรงและแพร่กระจายเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและสามารถครอบคลุมจำนวนประชากรได้มากขึ้น ทำให้หลายประเทศเลือกใช้นโยบาย Living with COVID-19 หรือการใช้ชีวิตร่วมกับโรคโควิด 19 โดยมองว่า โรคดังกล่าวจะเป็นเหมือนโรคประจำถิ่น ทำให้ผู้คนในสังคมส่วนใหญ่เลิกตระหนักถึงความอันตรายจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดใหม่เกิดขึ้นมาในลักษณะที่ว่า โควิด 19 ก็เหมือนโรคไข้หวัดทั่วไป เป็นได้ ก็สามารถหายได้ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีน

อย่างไรก็ตาม แม้การติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ส่วนใหญ่ ผู้ป่วยจะมีอาการไม่รุนแรง แต่สิ่งสำคัญข้อหนึ่งที่หลายคนไม่ได้คำนึงถึง ก็คือผลกระทบในระยะยาวจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 หรือที่เรียกว่าภาวะ Long Covid

ภาวะ Long Covid หรือ Long-Term Effect of Coronavirus คืออาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด 19 ในระยะยาว กล่าวคือ ภาวะที่ร่างกายยังคงมีอาการของโรคบางอย่างหลงเหลืออยู่ แม้จะหายจากโรคโควิด 19 แล้วก็ตาม โดยภาวะ Long COVID ถูกแบ่งเป็นทั้งหมด 3 ประเภท ซึ่งแบ่งแยกตามลักษณะอาการ ดังนี้

1.ภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการใหม่หรืออาการเดิมไม่หายไป (New or Ongoing Symptoms) คือ การที่ผู้ป่วยโรคโควิด 19 นั้นมีอาการยาวนานต่อเนื่องไปเป็นระยะเวลานานหลายเดือนหลังจากติดเชื้อไวรัสโควิด 19 เป็นครั้งแรก โดยคนไข้อาจมีอาการรุนแรงตั้งแต่ต้น และทวีคูณความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เมื่อออกกำลังกายหรือใช้สมาธิจดจ่อมากๆ โดยมีอาการ เช่น เป็นไข้ ปวดหัว หายใจเหนื่อย แน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย ท้องเสีย ปวดหูหรือมีเสียงในหู ใจสั่น ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ มีอาการชา ปวดกล้ามเนื้อและข้อ ไม่ได้กลิ่นหรือรับรสได้ไม่ดี ผื่นขึ้นตามตัว

2.ภาวะที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติในหลายอวัยวะ (Multiorgan Effects) คือ การที่ผู้ป่วยนั้นมีอาการผิดปกติเกี่ยวเนื่องกับอวัยวะหลายส่วนในร่างกาย โดยมีสาเหตุจากปฏิกิริยาทางสรีรวิทยาที่รุนแรง ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยโควิด 19 ไม่สามารถควบคุมการหลั่งสารในระบบภูมิคุ้มกันได้ ส่งผลให้เนื้อเยื่อของอวัยวะหลายส่วนถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของตัวผู้ป่วยเอง มักพบมากที่บริเวณเนื้อเยื่อหัวใจ ปอด ไต สมอง และผิวหนัง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อหลายอวัยวะ (Multiorgan Effects) ในระยะยาวได้

3.ผลกระทบระยะยาวจากการนอนโรงพยาบาลและจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 มักเกิดในกลุ่มผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีการนอนโรงพยาบาล โดยเฉพาะห้อง ICU ที่ส่งผลกระทบด้านจิตใจ อาจทำให้แขนขาไม่ค่อยมีแรงและยังคงรู้สึกเหนื่อยล้าอยู่ แม้จะไม่มีเชื้อแล้ว ในบางกรณีอาจมีผลต่อเรื่องการคิดและคำพูด นำไปสู่ภาวะที่มีอาการผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบเหตุการณ์รุนแรง (Post-traumatic Stress Disorder; PTSD) เช่น การได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ หรือถูกปั๊มหัวใจในการช่วยชีวิต ส่งผลให้เกิดความเครียดฉับพลันและอาจสะสมมาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับข้อมูลจากการศึกษากลุ่มตัวอย่างในต่างประเทศ พบว่า การฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วนสามารถช่วยลดโอกาสที่บุคคลจะเผชิญกับภาวะ Long Covid ได้เพียง 6% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้รับวัคซีนเลย อย่างไรก็ตาม ในกรณีของผู้ที่ติดเชื้อขั้นรุนแรง จะพบว่า การฉีดวัคซีนนั้นไม่สามารถป้องกันสภาวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะ Long Covid ได้เลย

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าการติดเชื้อไวรัสโควิค 19 อาจนำมาซึ่งการเกิดภาวะ Long Covid ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับปัญหาสุขภาพในระยะยาว ซึ่งจะทำให้โอกาสที่ผู้ที่ติดเชื้อจะทำประกันสุขภาพนั้นยุ่งยากกว่าเดิมทั้งขั้นตอนที่มากขึ้นหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณา โดยบริษัทประกันอาจระบุอาการที่สืบเนื่องจากภาวะ Long Covid เป็นข้อยกเว้นในการรับประกัน เช่น โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของปอด หรือหากมีผลการวิจัยเพิ่มเติมที่สามารถระบุได้ว่า เชื้อไวรัสโควิด 19 มีผลทำให้อวัยวะส่วนอื่นๆ ทำงานผิดปกติไปจากเดิมก็มีความเป็นไปได้ว่า บริษัทประกันจะเพิ่มเงื่อนไขเหล่านั้นเป็นข้อยกเว้นในการรับทำประกัน

ดังนั้น ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่เราควรจะทำประกันสุขภาพก็คือ ทำในตอนที่เรายังมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์และไม่มีประวัติสุขภาพ เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่า หากวันใดเราเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา บริษัทประกันจะสามารถคุ้มครองภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมดอย่างไม่มีเงื่อนไข

ทั้งนี้ หากต้องการคำปรึกษาด้านการทำประกันที่เหมาะสมกับตัวเอง รวมถึงเลือกซื้อประกันตัวท็อปแบบไม่จำกัดค่าย สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา หรือ โทร 02-633-6060 หรือหากท่านใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตนเอง สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ prtisco@tisco.co.th  ครับ

 

====================================================

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Invest in Health ใน Wealthy Thai

 

บทความล่าสุด

จับจังหวะทำกำไร กับขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้น Asia

โพสต์เมื่อ 28 มีนาคม 2567

ตลาดหุ้นเอเชีย (Asia ex Japan) ถือเป็นตลาดหุ้นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงไม่แพ้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) โดยเฉพาะในฝั่งของภาคการผลิตที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรมการผลิตของโลก

อ่านต่อ >>

Asia ex Japan หุ้นไม่แพง โตแรงแซงเศรษฐกิจโลก

โพสต์เมื่อ 28 มีนาคม 2567

ท่ามกลางตลาดหุ้นหลักของโลก เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้น New High ต่อเนื่องจนมูลค่าเริ่มตึงตัว แต่หุ้นกลุ่มประเทศเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น ยังมีมูลค่าการซื้อขายยังอยู่ในระดับต่ำ และสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

อ่านต่อ >>

ปีทองตลาดหุ้นเวียดนาม Country winner ปี 2024

โพสต์เมื่อ 28 มีนาคม 2567

เข้าสู่โค้งสุดท้ายของไตรมาส 1 ปี 2024 ตลาดหุ้นหลายแห่งทั้งสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น อินเดีย ยังเดินหน้าทำ New high อย่างต่อเนื่อง ทำให้การเข้าลงทุนในระดับราคาปัจจุบันเริ่มมีความเสี่ยง (Downside risk) ที่สูงขึ้นจาก Valuation ที่เริ่มตึงตัว

อ่านต่อ >>