รู้จักภาวะ Long Covid เจ็บ... แต่ไม่จบ หลังติดเชื้อ

file


เรื่องจริงเกี่ยวกับCOVID - 19 อีกประเด็นหนึ่ง ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนเลยก็คือ ความน่ากลัวของโรคนี้ไม่ใช่แค่ตอนที่ร่างกายต้องต่อสู้กับเชื้อไวรัสในช่วงที่เป็นเท่านั้น แต่เจ้า COVID-19 ยังทิ้งร่องรอยไว้ในร่างกายของเราแม้จะรักษาหายแล้วก็ตาม

ภาวะ Long Covid หรือ ชื่อเต็มว่า Long-Term Effect of Coronavirus เป็นอาการของผู้ที่หายป่วยจาก COVID-19 หรือตรวจไม่พบเชื้อ COVID-19 แล้ว แต่ร่างกายยังมีภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่น ความอ่อนเพลีย หายใจขัด แน่นหน้าอก ใจสั่น ปวดกล้ามเนื้อ และมีปัญหาในการจดจำ ไปจนถึงภาวะสมองล้า ซึ่งภาวะเหล่านี้อาจคงอยู่ถึง 12 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น และไม่จำเป็นว่าภาวะ Long Covid จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเท่านั้น แต่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการเลยในช่วงที่มีเชื้อ COVID-19

จากการเก็บข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติในสหราชอาณาจักร (Office for National Statistics: ONS) พบว่า ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีคนที่มีอาการ Long Covid กว่า 1 ล้านคนในสหราชอาณาจักร และจากการศึกษายังพบว่า คนที่มีอายุระหว่าง 35-49 ปี มีอาการนี้มากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 50-69 ปี โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย Leicester ยังพบว่า 7 ใน 10 ของผู้ป่วย COVID-19 ใช้เวลาถึง 5 เดือน ในการฟื้นตัวหลังออกจากโรงพยาบาล และยังคงมีผลอย่างต่อเนื่องทั้งต่อร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ยิ่งไปกว่านั้น พบว่า ประมาณ 20% ของผู้ป่วยกลายเป็นบุคคลไร้ความสามารถ

ในบางประเทศเริ่มมีการจัดตั้งคลินิกเพื่อดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะ Long Covid โดยเฉพาะ อย่างสหราชอาณาจักร ที่เริ่มมีการศึกษาถึงภาวะนี้อย่างจริงจัง ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอที่จะระบุว่าผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัส COVID-19 แต่ละรายจะมีภาวะ Long Covid มากน้อยต่างกันเพียงใด และอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้แต่ละคนมีอาการที่แตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่แน่ชัดคือ เชื้อไวรัส COVID-19 นี้ ไม่ได้ทำร้ายร่างกายแค่ในช่วงที่ยังมีเชื้ออยู่ แต่ยังทำให้การทำงานของอวัยวะในร่างกายผิดเพี้ยนไปจากเดิม แม้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาจนไม่พบเชื้อไวรัสนี้แล้วก็ตาม

นอกจากนี้ มีความเป็นไปได้สูงว่าเจ้าเชื้อไวรัส COVID-19 นี้ จะยังคงอยู่กับเราไปอีกนานหรืออาจจะตลอดไปเหมือนไข้หวัดทั่วไป ต่างกันตรงที่ความรุนแรงและภาวะของร่างกายหลังจากหายจากโรค และเมื่อ COVID-19 มีโอกาสทำให้อวัยวะในร่างกายทำงานผิดเพี้ยนไปจากเดิม ก็มีโอกาสที่คนที่เคยมีประวัติเจ็บป่วยจากการติดเชื้อ COVID-19 อาจจะทำประกันสุขภาพได้ยากกว่าเดิม โดยบริษัทประกันบางแห่งอาจระบุอาการที่สืบเนื่องจากการเป็น COVID-19 เป็นข้อยกเว้นในการรับประกัน เช่น โรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ หรือโรคที่เกี่ยวข้องการทำงานของปอด และหากมีการศึกษาเพิ่มเติมจนสามารถระบุได้ว่าเชื้อไวรัส COVID-19 นี้ยังสามารถทำให้อวัยวะอื่น เช่น สมอง กล้ามเนื้อ ทำงานผิดปกติไปจากเดิม ก็มีความเป็นไปได้ว่า บริษัทประกันอาจจะเพิ่มลงในข้อยกเว้นสำหรับการรับทำประกันของผู้ที่มีประวัติติดเชื้อ COVID-19 มาก่อน

ดังนั้น การทำประกันสุขภาพในวันที่ยังไม่ติดเชื้อ COVID-19 มีความสำคัญมาก และควรทำประกันกับบริษัทประกันที่รับรองการต่ออายุ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า แม้ในอนาคตเราจะได้รับเชื้อไวรัสนี้ เรายังมีประกันสุขภาพคุ้มครองในยามเจ็บป่วยได้

=======================================

บทความโดย ณัฐพร ธรวงศ์ธวัช AFPT™ 

Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

บทความล่าสุด

หุ้นกลุ่ม Healthcare ทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีหุ้นโลก

โพสต์เมื่อ 26 เมษายน 2567

ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่ม Healthcare กลับมาสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น จากแนวโน้มการเติบโตที่คาดว่าจะสูงกว่าตลาดโดยรวมในปีนี้ ในขณะที่ยังซื้อขายในระดับราคาที่ไม่แพงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มเทคโนโลยีที่เติบโตในระดับใกล้เคียงกัน ทำให้ปีนี้มีโอกาสสูงที่กลุ่ม Healthcare จะกลับมาทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีตลาดหุ้นโลก

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตสร้างกำไร ขายหุ้นสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น เบนเข็มลงทุน “หุ้น Asia ex Japan”

โพสต์เมื่อ 26 เมษายน 2567

ในปี 2024 เศรษฐกิจโลกภาพรวมเติบโตดีกว่าคาด โดยภูมิภาคที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดคือ ภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่จะเติบโตได้ดีในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว และยังเป็นปีแห่งโอกาส

อ่านต่อ >>

จับจังหวะทำกำไร กับขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้น Asia

โพสต์เมื่อ 26 เมษายน 2567

ตลาดหุ้นเอเชีย (Asia ex Japan) ถือเป็นตลาดหุ้นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงไม่แพ้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) โดยเฉพาะในฝั่งของภาคการผลิตที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรมการผลิตของโลก

อ่านต่อ >>