มะเร็งตับตัวร้ายอันดับ 1 ของชายไทย

file

 

โรคมะเร็งเป็นปัญหาสุขภาพของโลกมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก ทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยองค์การอนามัยโลกรายงานว่า ในปี พ.ศ. 2555 มีจํานวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ทั่วโลก 14 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 8.2 ล้านราย ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 18 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 9.5 ล้านราย และคาดว่าปี พ.ศ. 2566 จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งทั่วโลกสูงถึง 43.8 ล้านราย ซึ่งประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วยมะเร็งที่เกิดขึ้นในประเทศกําลังพัฒนา  

ประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่กว่า 120,000 รายต่อปี และโรคมะเร็งยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประชากรไทย โดยโรคมะเร็งตับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในผู้ชาย และเป็นอันดับสามในผู้หญิง รองจากมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม

มะเร็งตับเกิดจากอะไร ?

มะเร็งตับ เกิดได้จากหลากหลายปัจจัย คือ 1) การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซึ่งในอดีตส่วนใหญ่เกิดจากการถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก ส่วนปัจจุบันมักเกิดจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งตับมากกว่าคนปกติถึง 200 เท่า ส่วนการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับมากกว่าคนปกติ 50 เท่า 2) โรคตับแข็ง ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็งมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับร้อยละ 80 - 90 3) สารอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxins) สารพิษจากเชื้อราที่ปนเปื้อนในถั่วลิสง กระเทียม พริกแห้ง ข้าวโพด โดยเชื่อว่าไวรัสตับอักเสบบี เป็นปัจจัยนําของการเกิดมะเร็งตับ และอะฟลาท็อกซินเป็นปัจจัยเสริม นอกจากนั้นแอลกอฮอล์ บุหรี่ โรคไขมันในตับ และสารพิษอื่นๆ ที่สะสมในร่างกาย เช่น การใช้ยาคุมกําเนิดเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ก็ยังเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับด้วย 

มะเร็งตับในระยะแรกจะดำเนินไปอย่างช้าๆ และมักไม่แสดงอาการ ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ตรวจพบในระยะที่เริ่มแสดงอาการแล้ว ซึ่งเป็นระยะที่เชื้อมะเร็งแบ่งตัวเติบโตอย่างรวดเร็ว และลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ โดยอาการที่พบ ได้แก่ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน อึดอัดแน่นท้อง ปวดท้องซีกขวาด้านบน คลําพบก้อนเนื้อบริเวณท้องซีกขวาด้านบน น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม อ่อนเพลีย และเหนื่อยง่าย แต่หากพบมะเร็งตับในระยะแรก มีอัตราการรอดที่ประมาณ 5 ปี ในขณะที่หากตรวจพบในระยะกลางและระยะท้ายจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงครึ่งหนึ่ง

ค่ารักษามะเร็งตับเท่าไร ?

การรักษามะเร็งตับขึ้นอยู่กับขนาด จํานวน และตําแหน่งของเนื้องอก รวมถึงภาวะต่างๆ ของผู้ป่วย แนวทางการรักษามีตั้งแต่ การผ่าตัด การฉายรังสี การให้เคมีบำบัดผ่านทางหลอดเลือดแดง (Transarterial Chemoembolization: TACE) ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคมะเร็งทั่วไป รวมถึงมะเร็งตับนับว่าสูงมาก และต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง 

ยกตัวอย่างเช่น การรักษาโรคมะเร็งตับระยะลุกลามโดยการใช้ยารักษาแบบที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเป้าหมาย (Targeted Therapy) จะมีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยประมาณ 200,000 บาทต่อเดือน และจะต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 เดือนขึ้นไป นั่นหมายความว่าค่าใช้จ่ายเฉพาะ Targeted Therapy อย่างน้อยคือ 600,000 บาท ยังไม่นับรวมการรักษาด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย รวมถึงภาวะแทรกซ้อนระหว่างการรับการรักษา ค่าใช้จ่ายในการพักฟื้น และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งหากนับรวมโดยประมาณ ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคมะเร็งคิดเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท

มะเร็งตับ ป้องกันได้

การป้องกันโรคมะเร็งตับ ทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเชื้อราปนเปื้อน อย่างไรก็ตาม แม้จะปฏิบัติตัวดังที่กล่าวแล้ว ก็ยังมีโอกาสเกิดโรคนี้ขึ้นได้ ซึ่งนอกจากผู้ป่วยต้องต่อสู้กับอาการของโรคและผลข้างเคียงจากการรักษาแล้ว ยังต้องต่อสู้กับค่ารักษาอีกพุ่งขึ้นตามอาการและระยะเวลาในการรักษาอีก ผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วยหลายรายแทบจะสูญเสียทรัพย์สินหรือ Wealth ที่สะสมมาตลอดช่วงชีวิตไปกับการรักษาตัวจากโรคมะเร็ง และหลายครั้งที่ผู้ป่วยหมดกำลังใจเข้ารับการรักษาต่อเพื่อเก็บ Wealth ไว้ให้ครอบครัวต่อไป 

ดังนั้น เพื่อเป็นการปกป้อง Wealth และเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ การทำประกันสุขภาพ เช่นประกันมะเร็ง จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงทางการเงินซึ่งคุ้มค่าที่สุด เนื่องจากเบี้ยประกันต่อปีเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายมหาศาลที่ต้องใช้รักษาตัวนับว่าคุ้มมาก โดยควรเลือกประกันมะเร็งที่เบี้ยประกันภัยคงที่ ไม่ปรับขึ้นตามช่วงอายุ  มีการจ่ายเงินก้อนเมื่อตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง และจ่ายค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่องในวงเงินที่เหมาะสมเพียงพอ

 

====================================================

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Health is Wealth ใน กรุงเทพธุรกิจ

 

บทความล่าสุด

จับตาการกลับมาของหุ้นจีน

โพสต์เมื่อ 20 พฤษภาคม 2567

หุ้นจีนถูกจับตามองอีกครั้งหลังฟื้นตัวขึ้นมาอย่างโดดเด่นในปีนี้ ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่เริ่มฟื้นตัว ในขณะที่มูลค่าหุ้นจีนยังอยู่ในระดับที่ถูกมาก ซึ่งหากเศรษฐกิจจีนยังฟื้นตัวต่อเนื่องนับจากนี้ มีโอกาสที่จีนประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ จะเรียกคืนความเชื่อมั่นกลับมายืนได้อีกครั้งบนเวทีการลงทุนโลก

อ่านต่อ >>

กิจกรรม M&A กำลังจะกลับมา กลุ่ม Biotechnology ได้ประโยชน์สูงสุด

โพสต์เมื่อ 20 พฤษภาคม 2567

นอกจากนวัตกรรมการค้นคว้ายาชนิดใหม่รวมถึงการนำเทคโนโลยีอย่าง AI เข้ามาช่วยในการวิจัยยารักษาโรคหายาก กิจกรรมการควบรวมกิจการ หรือ M&A ก็นับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญต่อราคาหุ้นของกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)

อ่านต่อ >>

FDA อนุมัติยาสูงสุดในรอบ 5 ปี โอกาสทองลงทุน Biotech

โพสต์เมื่อ 20 พฤษภาคม 2567

FDA สหรัฐฯ กลับมาอนุมัติยาสูงสุดในรอบ 5 ปี ( FDA คือ องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ) โดยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนยาที่ได้รับอนุมัติจาก FDA เพิ่มขึ้นถึง 100% โดยเฉพาะปี 2023 ที่ FDA มีการอนุมัติยาสูงสุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่ 55 รายการ

อ่านต่อ >>