เมื่อติดเชื้อ Covid-19 แล้ว จะยังสามารถทำประกันสุขภาพได้หรือไม่ ?

file

 

ในระยะหลังมานี้ เรามักจะได้ยินคำว่า “ภาวะ Long Covid” อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งภาวะ Long Covid  หรือชื่อเต็มๆ ว่า Long-Term Effect of Coronavirus เป็นอาการของผู้ที่หายป่วยจากการติดเชื้อ Covid-19 แล้ว แต่ร่างกายยังมีภาวะผิดปกติบางอย่าง เช่น หายใจขัด แน่นหน้าอก ไอเรื้อรัง อ่อนเพลีย ใจสั่น ปวดกล้ามเนื้อ มีปัญหาในการจดจำ ไปจนถึงภาวะสมองล้า ซึ่งภาวะ Long Covid มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อ COVID-19 ทุกคน ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรง หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการเลยในช่วงที่ีร่างกายได้รับเชื้อ COVID-19 โดยปัญหาสุขภาพดังกล่าวนำมาซึ่งความกังวลจนเกิดเป็นคำถามที่หลายคนสงสัยว่า หากเราเคยติดเชื้อไวรัส COVID-19 แล้ว จะยังสามารถทำประกันสุขภาพได้หรือไม่ ?

ในเบื้องต้น เนื่องจาก COVID-19 เป็นโรคที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ ทำให้ในปัจจุบันมีข้อมูลเกี่ยวกับผลการวิจัยของโรคนี้ไม่มากพอ ประกอบกับเชื้อไวรัสดังกล่าวยังเกิดการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้น แนวทางในการพิจารณารับประกันของบริษัทประกันที่มีต่อผู้ป่วยที่หายจาก COVID-19 จึงมีโอกาสปรับเปลี่ยนไปตามข้อมูลหรือผลการวิจัยที่มีมากขึ้น

หากอ้างอิงจากข้อมูลในปัจจุบัน แนวทางปฏิบัติในการรับประกันของบริษัทประกันแต่ละแห่งนั้นมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการเจ็บป่วยในขณะที่ร่างกายได้รับเชื้อ COVID-19 โดยส่วนใหญ่ทางบริษัทประกันมักจะแบ่งระดับการเจ็บป่วยเป็น 3 ระดับ ได้แก่

1. ไม่มีอาการเจ็บป่วยหรือเชื้อไม่ลงปอด ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะสามารถเข้าสู่กระบวนการพิจารณารับประกันได้ หลังจากรักษาหายจากการเจ็บป่วย COVID-19 เป็นเวลา 30 วัน (บางแห่ง 90 วัน) นับจากวันที่ออกจากโรงพยาบาล Hospitel หรือโรงพยาบาลสนาม ทั้งในการพิจารณาด้านประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรง

2. เชื้อลงปอด และ/หรือกินยาต้านไวรัส Favipiravir ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะสามารถเข้าสู่กระบวนการพิจารณารับประกันได้ หลังจากรักษาหายจากการเจ็บป่วย COVID-19 เป็นเวลา 90 วัน (บางแห่ง 120 วัน) นับจากวันที่ออกจากโรงพยาบาล Hospitel หรือโรงพยาบาลสนาม ทั้งในการพิจารณาด้านประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรง

3. เชื้อลงปอด และ/หรือกินยาต้านไวรัส Favipiravir และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือเข้าพักรักษาตัวในห้องผู้ป่วยหนัก (ICU) ในกรณีนี้ส่วนมากบริษัทประกันมักจะปฏิเสธการรับประกันภัยทันที หรือในกรณีที่บริษัทรับทำประกัน ผู้ป่วยอาจจะต้องรอให้หายจากการเจ็บป่วย COVID-19 เป็นเวลากว่า 180 วัน จึงจะสามารถเข้าสู่กระบวนการพิจารณารับประกันได้ โดยจะต้องแนบเอกสารทางการแพทย์เพื่อประกอบการพิจารณาทั้งในช่วงที่ป่วยรุนแรง และเอกสารทางการแพทย์ที่นัดติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทั้งหมด เช่น ผลเอกซเรย์ปอด ผลเลือดต่างๆ ด้วย

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะสังเกตุได้ว่า หากเรามีประวัติเจ็บป่วยจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 จะทำให้โอกาสในการทำประกันสุขภาพนั้นยากกว่าเดิม ทั้งขั้นตอนที่มากขึ้นหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณา โดยบริษัทประกันอาจระบุอาการที่สืบเนื่องจากการเป็น COVID-19 เป็นข้อยกเว้นในการรับประกัน เช่น โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของปอด

และในอนาคต หากมีผลการวิจัยเพิ่มเติมที่สามารถระบุได้ว่า เชื้อไวรัส COVID-19 มีผลทำให้อวัยวะส่วนอื่นๆ ทำงานผิดปกติไปจากเดิมก็มีความเป็นไปได้ว่า บริษัทประกันจะเพิ่มเงื่อนไขเหล่านั้นเป็นข้อยกเว้นในการรับทำประกัน ดังนั้นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่เราควรจะทำประกันสุขภาพก็คือ ในตอนที่เรายังมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์และไม่มีประวัติสุขภาพ เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่า หากวันใดเราเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา บริษัทประกันจะสามารถคุ้มครองภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมดอย่างไม่มีเงื่อนไข

                

 

====================================================

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Invest in Health ใน Wealthy Thai

 

บทความล่าสุด

จับตาการกลับมาของหุ้นจีน

โพสต์เมื่อ 17 พฤษภาคม 2567

หุ้นจีนถูกจับตามองอีกครั้งหลังฟื้นตัวขึ้นมาอย่างโดดเด่นในปีนี้ ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่เริ่มฟื้นตัว ในขณะที่มูลค่าหุ้นจีนยังอยู่ในระดับที่ถูกมาก ซึ่งหากเศรษฐกิจจีนยังฟื้นตัวต่อเนื่องนับจากนี้ มีโอกาสที่จีนประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ จะเรียกคืนความเชื่อมั่นกลับมายืนได้อีกครั้งบนเวทีการลงทุนโลก

อ่านต่อ >>

กิจกรรม M&A กำลังจะกลับมา กลุ่ม Biotechnology ได้ประโยชน์สูงสุด

โพสต์เมื่อ 17 พฤษภาคม 2567

นอกจากนวัตกรรมการค้นคว้ายาชนิดใหม่รวมถึงการนำเทคโนโลยีอย่าง AI เข้ามาช่วยในการวิจัยยารักษาโรคหายาก กิจกรรมการควบรวมกิจการ หรือ M&A ก็นับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญต่อราคาหุ้นของกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)

อ่านต่อ >>

FDA อนุมัติยาสูงสุดในรอบ 5 ปี โอกาสทองลงทุน Biotech

โพสต์เมื่อ 17 พฤษภาคม 2567

FDA สหรัฐฯ กลับมาอนุมัติยาสูงสุดในรอบ 5 ปี ( FDA คือ องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ) โดยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนยาที่ได้รับอนุมัติจาก FDA เพิ่มขึ้นถึง 100% โดยเฉพาะปี 2023 ที่ FDA มีการอนุมัติยาสูงสุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่ 55 รายการ

อ่านต่อ >>