จัดการภาษีด้วย “พีระมิดทางการเงิน” โค้งสุดท้ายก่อนจบปี 2565

file

เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2565 กันแล้ว ซึ่งในเดือนธันวาคมนี้ก็จะเป็นเดือนสุดท้ายของการหาตัวช่วยเพื่อประหยัดภาษี โดยมีทางเลือกที่หลากหลายทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่าย และค่าหย่อนในรายการต่างๆที่ช่วยประหยัดภาษี โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือทางการเงิน นอกจากจะเปิดโอกาสในการช่วยบริหารจัดการภาษีให้ต่ำลง อีกทั้งเรายังจะได้เงินก้อนนั้นกลับมาในอนาคตอีกด้วย เช่นการลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีอย่างกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ก็ล้วนเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพื่อเปิดโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงในระยะยาว รวมถึงกลุ่มของผลิตภัณฑ์ประเภทประกันชีวิตและประกันสุขภาพนอกจากจะได้ประโยชน์ด้านภาษีแล้ว ยังได้รับความคุ้มคลองจากการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตอีกด้วย 

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราควรซื้ออะไร เท่าไหร่ และควรซื้ออะไร ก่อน - หลัง ให้เหมาะสมกับตัวเอง แน่นอนว่าเป็นคำถามที่มีความเป็นปัจเจกในแต่ละตัวบุคคล แต่ก็จะมีหลักการที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย นั่นคือ “พีระมิดทางการเงิน” หรือ Financial Pyramid ซึ่งบ่งชี้ถึงลำดับความสำคัญในเรื่องการบริหารการเงินตั้งแต่ ความจำเป็นพื้นฐานและการจัดการความเสี่ยง (Basic Needs และ Risk Management), การเก็บสะสม (Accumulation) และ การลงทุน (Investment) โดยหากเราสามารถบริหารจัดการเงินในหมวดต่างๆได้ดี จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินและมีสุขภาพทางการเงินทีดีจนกระทั่งเราจากโลกนี้ไป

เริ่มจากความจำเป็นพื้นฐานและการจัดการความเสี่ยง ซึ่งเป็นประเด็นของความ  “แน่นอน” ในขั้นตอนนี้นอกจากที่เราจะมีเงินสำรองฉุกเฉินราว 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือนแล้ว เรายังต้องมีความคุ้มครองจากผลิตภัณฑ์ประเภทประกัน ทั้งในด้านชีวิตและสุขภาพ ที่ให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาล หรือหากเราเสียชีวิต คนที่อยู่ข้างหลังก็ยังจะได้รับเงินก้อนเพื่อใช้ชีวิตต่อไป ซึ่งการซื้อประกันสุขภาพสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อนำมารวมกับเบี้ยประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000  บาท

หลังจากที่เรามีฐานของพีระมิดเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นการเก็บออมเงินเพื่อเป้าหมายต่างๆ (Accumulation) รวมถึงการลงทุนเพื่อให้เงินได้งอกเงย (Investment) โดยเราอาจแบ่งเป้าหมายต่างๆตามกรอบระยะเวลา เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการและเราสามารถจับคู่ทางเลือกทางการลงทุนให้เหมาะสมกับเป้าหมายต่างๆได้ โดยพิจารณาจากความเสี่ยงและผลตอบแทน และหากเรามีกรอบระยะเวลาที่นานเพียงพอ อาทิ 10 ปีขึ้นไปการเลือกกองทุนลดหย่อนภาษีอย่างกองทุน SSF และ/หรือ RMF จะมีประประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากทั้ง SSF และ RMF มีนโยบายการลงทุนที่เปิดกว้างและหลากหลาย ทำให้เราสามารถเลือกลงทุนได้ตามที่ต้องการ

แต่อย่างไรก็ดี ทั้งการซื้อ SSF และ RMF เพื่อลดหย่อนภาษี จะมีข้อจำกัดในเรื่องของวงเงินที่เราสามารถซื้อได้ โดยเราสามารถซื้อ SSF เพื่อลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมินแต่ไม่เกิน 200,000 บาท ในขณะที่ RMF เราสามารถลดหย่อนได้สูงสุดถึง 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวม SSF,กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข., กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันบำนาญแล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาทเช่นเดียวกัน

จะเห็นได้ว่าเรามีทางเลือกที่หลากหลายในการช่วยบริหารภาษีให้ลดลง ซึ่งการใช้พีระมิดทางการเงินมาประยุกต์จะช่วยให้เราสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของเราได้ แต่อย่างไรก็ดีในแต่ละทางเลือกจะมีข้อบังคับ หรือกฎเกณฑ์ และรายละเอียดที่แตกต่างกัน เราจึงต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนการตัดสินใจ เพื่อที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดทั้งในมุมของภาษีที่ประหยัดได้และประโยชน์จากผลิตภัณฑ์นั้นๆ

บทความล่าสุด

กิจกรรม M&A กำลังจะกลับมา กลุ่ม Biotechnology ได้ประโยชน์สูงสุด

โพสต์เมื่อ 8 พฤษภาคม 2567

นอกจากนวัตกรรมการค้นคว้ายาชนิดใหม่รวมถึงการนำเทคโนโลยีอย่าง AI เข้ามาช่วยในการวิจัยยารักษาโรคหายาก กิจกรรมการควบรวมกิจการ หรือ M&A ก็นับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญต่อราคาหุ้นของกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)

อ่านต่อ >>

FDA อนุมัติยาสูงสุดในรอบ 5 ปี โอกาสทองลงทุน Biotech

โพสต์เมื่อ 8 พฤษภาคม 2567

FDA สหรัฐฯ กลับมาอนุมัติยาสูงสุดในรอบ 5 ปี ( FDA คือ องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ) โดยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนยาที่ได้รับอนุมัติจาก FDA เพิ่มขึ้นถึง 100% โดยเฉพาะปี 2023 ที่ FDA มีการอนุมัติยาสูงสุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่ 55 รายการ

อ่านต่อ >>

Biotech หุ้นนวัตกรรมยายุคใหม่ ที่ต้องมีไว้ในพอร์ต

โพสต์เมื่อ 8 พฤษภาคม 2567

หากนึกถึงหุ้นกลุ่ม Healthcare นักลงทุนส่วนใหญ่มักนึกถึงบริษัทยาขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคงแต่มีการเติบโตที่ช้า ทำให้นักลงทุนมักเหมารวมหุ้นกลุ่ม Healthcare เป็นหุ้นกลุ่ม Defensive ที่ไม่ได้คาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงและเป็นเพียงแค่หลุมหลบภัยในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวนเท่านั้น

อ่านต่อ >>